เครื่องนอน

ที่นอน ดี ! มีวิธีเลือกอย่างไร? เผย 5 เทคนิคเลือกที่นอนด้วยตนเอง (แบบฉบับญี่ปุ่น)

เคยไหมเปลี่ยนที่นอนมาแล้วก็หลายหลัง นอนมาก็หลายที่ แต่ก็ยังไม่เจอที่นอนที่ถูกใจสักที วันนี้เรามีเทคนิคการเลือก “ที่นอน ดี” มาดูกันว่ามีวิธีเลือกอย่างไร?

แนะนำผู้เขียน

Hiromi Kurihara

Hiromi Kurihara
Senior sleep health instructor

อาจารย์อาวุโสด้านสุขภาพและการนอนหลับ จบจากสถาบัน Japan Sleep Education System ประเทศญี่ปุ่น โดยมีแนวคิดที่ว่า “การนอนหลับเป็นจุดเริ่มต้นของชีวิต” ปัจจุบันดำรงตำแหน่งกรรมการบริหาร Kenko Shop มุ่งเน้นให้คนไทยตระหนักถึงความสำคัญของการนอนและค้นหาเครื่องนอนสุขภาพจากญี่ปุ่นส่งถึงมือชาวไทย

ยาวไป อยากเลือกอ่าน

ไปทดลองนอนด้วยตนเอง

ข้อนี้ถือเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดเลยค่ะ เพราะที่นอนนั้น จะอยู่กับเราตั้งวันละ 8 ชั่วโมง หรือ 1/3 ของเวลาชีวิตเราเลย โฆษณาหรือคำเคลมที่ว่าที่นอน ดี ลดอาการปวดหลังนั้น อาจไม่เป็นจริงเสมอไป  อีกอย่างที่นอนที่คนอื่นว่าดี บางทีเราไปนอนเองอาจจะไม่พอดีกับเราก็ได้ อาจนิ่มไป หรือเเข็งไป สู้เราไปทดลองเองกับตัวเลยดีที่สุดค่ะ ลองดูสัก 15-30 นาที ไม่ต้องเขินนะคะ พนักงานเค้าเต็มใจบริการอยู่เเล้วค่ะ

กรณีไม่สะดวกไปทดลองที่นอนเองจริงๆ แนะนำอ่านรีวิวที่นอนจากผู้ใช้จริงก็จะช่วยได้ส่วนหนึ่งนะคะ แต่ก็ต้องเลือกและมั่นใจด้วยว่าเป็นรีวิวจากลูกค้าจริง ไม่จกตานะ!

หมอน Super king pillow ได้รับคำแนะนำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากญี่ปุ่น

"ท่านอน" ต้องเหมือน "ท่ายืน"

อาจารย์ Miho Mihashi ผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับชาวญี่ปุ่น กล่าวว่า “ท่านอนที่ดีควรเหมือนท่ายืน เพราะเป็นท่าที่ร่างกายสบายที่สุด หลังต้องตรง ไม่แอ่นหรือโค้งงอจนเกินไป เครื่องนอนที่ดีจึงควรซัพพอร์ตส่วนโค้งเว้าของร่างกายอย่างพอดี อย่างนี้จะไม่ปวดคอ ไม่ปวดหลัง”  ดังนั้นเวลาเราไปทดลองที่นอน ลองให้คนข้างๆช่วยสังเกตตัวเราจากมุมด้านข้างดูนะคะ ว่าตัวเราตรงเหมือนตอนยืนหรือเปล่า ถ้าตรงเป๊ะ ก็ยินดีด้วยค่ะ! คุณเจอที่นอนที่ใช่สำหรับคุณเเล้ว

ผู้หญิงนอนหงายบนเตียงในห้องตอนกลางวัน

พลิกตัวง่าย ไม่ต้องใช้เเรงเยอะ

ที่นอน ดี ควรจะมีความหนาแน่นที่พอดี เฟริมแต่ไม่นุ่มหรือเเข็งเกินไป เวลาพลิกตัวต้องทำได้ง่าย ไม่ต้องออกเเรงเยอะ หากที่นอนหลังไหนพลิกตัวยากอาจทำให้นอนหลับไม่สนิท จะตื่นระหว่างคืนจากการที่ร่างกายรู้สึกเกร็งและต้องออกแรงพลิกตัวค่ะ

วิธีการทดสอบการพลิกตัว: เพียงเอามือไขว้ที่หน้าอก ชันเข่าขึ้นเเล้วลองพลิกตัวไปมาค่ะ ถ้าไม่ต้องออกแรงมากเกินไป พลิกตัวง่าย ถือว่าที่นอนนี้ ซัพพอร์ตได้ดีเยี่ยมเลยค่ะ

นอนเเล้วตัวไม่จมลงไป

หลายคนคงดูซีรีส์เกาหลี แล้วเห็นห้องนอนพระเอกนางเอกที่ฟูกดู นุ่ม ฟู~ กระโดดเเล้วตัวจมลงไปเลย ดูน่านอนมากทีเดียว แต่รู้มั้ยคะว่า “ที่นอน” ที่นอนเเล้วตัวจมลงไปแบบนี้มีผลเสียต่อหลังส่วนล่างและสะโพกมากนะคะ เพราะส่วนสะโพกเป็นส่วนที่มีน้ำหนักมากที่สุดถึง 44% ของร่างกาย หากที่นอนไม่สามารถซัพพอร์ตได้ก็จะเกิดเเรงกดทับ และตื่นเช้ามาด้วยอาการปวดหลังค่ะ หากปล่อยไว้นานๆอาจทำให้เกิดหลังอักเสบเรื้อรังได้ด้วยนะคะ 

ที่นอนที่นิ่มเกินไป ตัวจะจมลงที่นอน หลังงอ ปวดหลัง อวัยวะภายในรับภาระหนัก

นอนแล้วตัวไม่ลอย

ที่นอนที่เเข็งเกินไป เวลานอนเเล้วจะรู้สึกตัวลอยๆ ไม่แนบกับที่นอน ที่นอนแบบนี้จะทำให้หลังแอ่น มีช่องว่างที่หลัง และเกิดเเรงกดทับบริเวณจุดที่สัมผัสกับที่นอนมากเกินไปค่ะ ตื่นมาจะรู้สึกเกร็งๆตัว เหมือนไม่ได้พักผ่อนเต็มที่

ที่นอนที่แข็งเกินไปทำให้หลังแอ่นเกิดช่องว่างบริเวณหลังและเข่า

ดังนั้น ที่นอนที่ดี จึงควรรองรับน้ำหนักของร่างกายได้อย่างพอดี
นอนแล้วอยู่ในท่าตรง เหมือน ท่ายืน และร่างกายแนบสนิทกับที่นอนค่ะ

เมื่อรู้วิธีการเลือกที่นอนแล้ว ก็ขอให้ทุกคนโชคดี เจอที่นอนที่เหมาะกับตนเองนะคะ ฝันดีค่ะ~

ที่นอนสุขภาพ kenko mattress หนาแน่นพอดี หลังไม่งอ นอนในท่าที่ถูกต้อง

แนะนำ! ที่นอนเพื่อสุขภาพจากญี่ปุ่น

Teiraku Mattress

ปวดหลังเรื้อรัง น้ำหนักตัวเยอะ

ด้วยโครงสร้างซัพพอร์ต 2 ชั้น จึงรองรับน้ำหนักและกระจายแรงกดทับได้ดีกว่า ให้สรีระและกระดูกสันหลังอยู่ในท่าทางที่ถูกต้อง จึงช่วยให้อาการปวดหลังเรื้อรังที่เป็นอยู่ให้ดีขึ้น

Kenko Mattress

ปวดเมื่อยแผ่นหลัง

มีความหนาแน่นพอเหมาะ ไม่นุ่มหรือแข็งจนเกินไป จึงสามารถรองรับน้ำหนักของร่างกายได้ หลังไม่งอ ตัวไม่จมลงมากเกินไป ให้กระดูกสันหลังอยู่ในท่าทางที่ถูกต้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *