ที่นอน ดี ! มีวิธีเลือกอย่างไร? เผย 5 เทคนิคเลือกที่นอนด้วยตนเอง (แบบฉบับญี่ปุ่น)
เคยไหมเปลี่ยนที่นอนมาแล้วก็หลายหลัง นอนมาก็หลายที่ แต่ก็ยังไม่เจอที่นอนที่ถูกใจสักที วันนี้เรามีเทคนิคการเลือก “ที่นอน ดี” มาดูกันว่ามีวิธีเลือกอย่างไร?
แนะนำผู้เขียน
Hiromi Kurihara
Senior sleep health instructor
อาจารย์อาวุโสด้านสุขภาพและการนอนหลับ จบจากสถาบัน Japan Sleep Education System ประเทศญี่ปุ่น โดยมีแนวคิดที่ว่า “การนอนหลับเป็นจุดเริ่มต้นของชีวิต” ปัจจุบันดำรงตำแหน่งกรรมการบริหาร Kenko Shop มุ่งเน้นให้คนไทยตระหนักถึงความสำคัญของการนอนและค้นหาเครื่องนอนสุขภาพจากญี่ปุ่นส่งถึงมือชาวไทย
ยาวไป อยากเลือกอ่าน
ไปทดลองนอนด้วยตนเอง
ข้อนี้ถือเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดเลยค่ะ เพราะที่นอนนั้น จะอยู่กับเราตั้งวันละ 8 ชั่วโมง หรือ 1/3 ของเวลาชีวิตเราเลย โฆษณาหรือคำเคลมที่ว่าที่นอน ดี ลดอาการปวดหลังนั้น อาจไม่เป็นจริงเสมอไป อีกอย่างที่นอนที่คนอื่นว่าดี บางทีเราไปนอนเองอาจจะไม่พอดีกับเราก็ได้ อาจนิ่มไป หรือเเข็งไป สู้เราไปทดลองเองกับตัวเลยดีที่สุดค่ะ ลองดูสัก 15-30 นาที ไม่ต้องเขินนะคะ พนักงานเค้าเต็มใจบริการอยู่เเล้วค่ะ
กรณีไม่สะดวกไปทดลองที่นอนเองจริงๆ แนะนำอ่านรีวิวที่นอนจากผู้ใช้จริงก็จะช่วยได้ส่วนหนึ่งนะคะ แต่ก็ต้องเลือกและมั่นใจด้วยว่าเป็นรีวิวจากลูกค้าจริง ไม่จกตานะ!
"ท่านอน" ต้องเหมือน "ท่ายืน"
อาจารย์ Miho Mihashi ผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับชาวญี่ปุ่น กล่าวว่า “ท่านอนที่ดีควรเหมือนท่ายืน เพราะเป็นท่าที่ร่างกายสบายที่สุด หลังต้องตรง ไม่แอ่นหรือโค้งงอจนเกินไป เครื่องนอนที่ดีจึงควรซัพพอร์ตส่วนโค้งเว้าของร่างกายอย่างพอดี อย่างนี้จะไม่ปวดคอ ไม่ปวดหลัง” ดังนั้นเวลาเราไปทดลองที่นอน ลองให้คนข้างๆช่วยสังเกตตัวเราจากมุมด้านข้างดูนะคะ ว่าตัวเราตรงเหมือนตอนยืนหรือเปล่า ถ้าตรงเป๊ะ ก็ยินดีด้วยค่ะ! คุณเจอที่นอนที่ใช่สำหรับคุณเเล้ว
พลิกตัวง่าย ไม่ต้องใช้เเรงเยอะ
ที่นอน ดี ควรจะมีความหนาแน่นที่พอดี เฟริมแต่ไม่นุ่มหรือเเข็งเกินไป เวลาพลิกตัวต้องทำได้ง่าย ไม่ต้องออกเเรงเยอะ หากที่นอนหลังไหนพลิกตัวยากอาจทำให้นอนหลับไม่สนิท จะตื่นระหว่างคืนจากการที่ร่างกายรู้สึกเกร็งและต้องออกแรงพลิกตัวค่ะ
วิธีการทดสอบการพลิกตัว: เพียงเอามือไขว้ที่หน้าอก ชันเข่าขึ้นเเล้วลองพลิกตัวไปมาค่ะ ถ้าไม่ต้องออกแรงมากเกินไป พลิกตัวง่าย ถือว่าที่นอนนี้ ซัพพอร์ตได้ดีเยี่ยมเลยค่ะ
นอนเเล้วตัวไม่จมลงไป
หลายคนคงดูซีรีส์เกาหลี แล้วเห็นห้องนอนพระเอกนางเอกที่ฟูกดู นุ่ม ฟู~ กระโดดเเล้วตัวจมลงไปเลย ดูน่านอนมากทีเดียว แต่รู้มั้ยคะว่า “ที่นอน” ที่นอนเเล้วตัวจมลงไปแบบนี้มีผลเสียต่อหลังส่วนล่างและสะโพกมากนะคะ เพราะส่วนสะโพกเป็นส่วนที่มีน้ำหนักมากที่สุดถึง 44% ของร่างกาย หากที่นอนไม่สามารถซัพพอร์ตได้ก็จะเกิดเเรงกดทับ และตื่นเช้ามาด้วยอาการปวดหลังค่ะ หากปล่อยไว้นานๆอาจทำให้เกิดหลังอักเสบเรื้อรังได้ด้วยนะคะ
นอนแล้วตัวไม่ลอย
ที่นอนที่เเข็งเกินไป เวลานอนเเล้วจะรู้สึกตัวลอยๆ ไม่แนบกับที่นอน ที่นอนแบบนี้จะทำให้หลังแอ่น มีช่องว่างที่หลัง และเกิดเเรงกดทับบริเวณจุดที่สัมผัสกับที่นอนมากเกินไปค่ะ ตื่นมาจะรู้สึกเกร็งๆตัว เหมือนไม่ได้พักผ่อนเต็มที่
ดังนั้น ที่นอนที่ดี จึงควรรองรับน้ำหนักของร่างกายได้อย่างพอดี
นอนแล้วอยู่ในท่าตรง เหมือน ท่ายืน และร่างกายแนบสนิทกับที่นอนค่ะ
เมื่อรู้วิธีการเลือกที่นอนแล้ว ก็ขอให้ทุกคนโชคดี เจอที่นอนที่เหมาะกับตนเองนะคะ ฝันดีค่ะ~
แนะนำ! ที่นอนเพื่อสุขภาพจากญี่ปุ่น
Teiraku Mattress
ปวดหลังเรื้อรัง น้ำหนักตัวเยอะ
ด้วยโครงสร้างซัพพอร์ต 2 ชั้น จึงรองรับน้ำหนักและกระจายแรงกดทับได้ดีกว่า ให้สรีระและกระดูกสันหลังอยู่ในท่าทางที่ถูกต้อง จึงช่วยให้อาการปวดหลังเรื้อรังที่เป็นอยู่ให้ดีขึ้น
฿18,000.-
Kenko Mattress
ปวดเมื่อยแผ่นหลัง
มีความหนาแน่นพอเหมาะ ไม่นุ่มหรือแข็งจนเกินไป จึงสามารถรองรับน้ำหนักของร่างกายได้ หลังไม่งอ ตัวไม่จมลงมากเกินไป ให้กระดูกสันหลังอยู่ในท่าทางที่ถูกต้อง
฿7,500.-