สุขภาพ

การเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนในผู้หญิง มีผลต่อการนอนหลับจริงหรือไม่?

ผู้หญิงนั่งเครียด

แนะนำผู้เขียน

Hiromi Kurihara
Senior sleep health instructor

อาจารย์อาวุโสด้านสุขภาพและการนอนหลับ จบจากสถาบัน Japan Sleep Education System ประเทศญี่ปุ่น โดยมีแนวคิดที่ว่า “การนอนหลับเป็นจุดเริ่มต้นของชีวิต” ปัจจุบันดำรงตำแหน่งกรรมการบริหาร Kenko Shop มุ่งเน้นให้คนไทยตระหนักถึงความสำคัญของการนอนและค้นหาเครื่องนอนสุขภาพจากญี่ปุ่นส่งถึงมือชาวไทย

ยาวไป อยากเลือกอ่าน

       ผู้หญิงนั้นต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ในช่วงมีรอบเดือน ช่วงตั้งครรภ์ หรือแม้แต่ช่วงคลอดลูก และช่วงวัยทองซึ่งส่งผลทำให้การนอนในผู้หญิงเปลี่ยนไป เช่น มีความรู้สึกง่วงนอนตอนเที่ยง นอนไม่หลับ หรือในช่วงเวลาก่อนจะเป็นประจำเดือน ก็จะรู้สึกง่วงนอนตอนกลางวัน และนอนไม่หลับระหว่างที่ตั้งครรภ์ ภาวะอดนอนหลังคลอดบุตร และมีอาการนอนไม่หลับในช่วงวัยทอง ดังนั้นมาทำความเข้าใจช่วงชีวิตแต่ละช่วงกัน

ผู้หญิงนั่งปวดท้องประจำเดือน

อาการง่วงนอนมากตอนก่อนมีประจำเดือน

      ภาวะ PMS ซึ่งจะแสดงความรู้สึกไม่สบายทางร่างกาย และจิตใจก่อนมีประจำเดือน ผู้หญิงส่วนใหญ่จะมีประสบการณ์ในระดับที่แตกต่างกันไป การเปลี่ยนแปลงของการนอนหลับนั้นเป็นปัญหาทั่ว ๆ ไป เนื่องจากฮอร์โมนเพศหญิงมีความผันผวนมากซึ่งสัมพันธ์กับการมีรอบเดือน 

      เมื่อเริ่มมีประจำเดือนในระยะ follicular ฮอร์โมนเอสโตรเจนจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้น และหลังจากเกิดการตกไข่ที่เกิดจากฮอร์โมน LH (luteinizing hormone) เพิ่มขึ้น ระยะ luteal จะเกิดขึ้น ในช่วง luteal phase (สองสัปดาห์ก่อนมีประจำเดือน) 
ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนจะเพิ่มขึ้น และอุณหภูมิของร่างกายจะเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับระยะ follicular

    และจากผลการวัดอุณหภูมิร่างกายพบว่า ในช่วง luteal phase จะเกิดความไม่คงที่ของจังหวะอุณหภูมิของร่างกายในหนึ่งวัน ดังนั้นจึงสามารถสันนิษฐานได้ว่าก่อนมีประจำเดือน ผู้หญิงจะหลับไม่ลึก และมีความรู้สึกง่วงนอนอย่างหนักในตอนกลางวัน

จดบันทึกลงในสมุด

     เริ่มต้นด้วยการจดบันทึกการนอนหลับสักสองสามเดือนและทำเครื่องหมายรอบเดือนของคุณเพื่อสังเกตลักษณะของวัฏจักรของรอบเดือน และการนอนหลับที่เปลี่ยนไป เพราะฉะนั้นก่อนมีประจำเดือน 

     ให้อาบแดดระหว่างวัน สร้างความสมดุลระหว่างกลางคืนกับกลางวัน และพยายามเปลี่ยนอารมณ์ด้วยการทำสิ่งที่ชอบ สิ่งสำคัญ คือต้องคำนึงถึงตารางการทำงาน และวันหยุดของคุณตามสภาพร่างกาย หากมีอาการนอนไม่หลับ การทานยานอนหลับในปริมาณน้อย ๆ หรือ หากมีอาการซึมเศร้าร่วมด้วยนั้น การทานยาแก้ซึมเศร้าร่วมกับยานอนหลับที่มีฤทธิ์อ่อนก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือก

คนท้องกำลังนอน

ภาวะง่วงนอนระหว่างตั้งครรภ์

     ช่วงแรกระหว่างการตั้งครรภ์นั้นจะมีความง่วงนอนระหว่างวันเพิ่มมากขึ้น เป็นเพราะฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ที่ค่อนข้างคงที่ในระยะกลาง แต่มีการกระตุ้นเกิดขึ้นในช่วงท้าย อาจเป็นผลของการขยายตัวของมดลูก การหดตัว การเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ การปัสสาวะบ่อย อาการปวดหลัง เป็นต้น

    การตั้งครรภ์อาจทำให้เกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ หรือกลุ่มอาการขากระตุก ดังนั้นหากอาการรุนแรง การวินิจฉัยโรคอย่างถูกต้องเป็นสิ่งที่สำคัญ

   ระหว่างที่ตั้งครรภ์นั้น พยายามอย่าทำอะไรที่หนักเกินไป ถ้าก่อนเวลา 15.00 นั้นสามารถที่จะงีบได้ การที่มีวิถีชีวิตรวมถึงการออกกำลังกายที่สมดุลนั้นจะช่วยให้คุณนอนหลับได้ดีขึ้น

   หากพบกลุ่มอาการหยุดหายใจขณะหลับ มีความกังวลเกี่ยวกับความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ และความผิดปกติของพัฒนาการของทารกในครรภ์ ก็ขอแนะนำให้ใช้การบำบัดด้วย CPAP สำหรับภาวะอาการขากระตุก การที่เริ่มต้นด้วยการรักษาโรคโลหิตจางและรักษาจากการนวดเป็นสิ่งที่ดี

ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด

     หลังคลอดไม่ได้เป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วที่สุดในการทำงานของต่อมไร้ท่อของผู้หญิง แต่ยังจะต้องเผชิญกับความเครียดอย่างมากในการเลี้ยงลูกอีกด้วย การให้นมลูกในเวลากลางคืนเป็นการรบกวนการนอนหลับ นำไปสู่การอดนอน และเพิ่มความง่วงนอนในตอนกลางวัน เพราะฉะนั้นคุณก็ควรนอนกลางวันพร้อมกันกับลูก และอย่าได้พยายามทำอะไร ๆ ด้วยตัวคนเดียวรับความช่วยเหลือจากคนรอบข้างให้มากขึ้น 

    ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด (Mama blues) มักจะเกิดขึ้นประมาณ 3-5 วันหลังคลอด ตัวอย่างอาการหลัก ๆ คือ น้ำตาไหล ซึมเศร้า และนอนไม่หลับ แต่มักจะดีขึ้นเองภายในสองสามวัน แต่ถ้าหากยังมีอาการอยู่ก็ควรพบแพทย์โดยเร็ว

ผู้หญิงมีอายุที่กำลังยืนนิ้ม

วัยหมดประจำเดือนทำให้นอนหลับน้อยลง

      ประมาณครึ่งหนึ่งของผู้หญิงที่หมดประจำเดือนนั้นจะมีอาการนอนไม่หลับ ระยะเวลาการนอนหลับจะสั้นลงตามอายุ มีอาการร้อนวูบวาบ เหงื่อออก และหัวใจเต้นเร็วมักทำให้นอนหลับลึกไม่ได้ สิ่งนี้อาจนำไปสู่ความหมกมุ่นอยู่กับการนอนหลับ หรือกลัวนอนไม่หลับ และกลายเป็นอาการเรื้อรังได้ ในช่วงวัยหมดประจำเดือน ไม่เพียงแต่ฮอร์โมนเพศหญิงจะลดลงอย่างรวดเร็ว แต่ผู้หญิงต้องเผชิญกับความเครียดมากมาย เช่น เครียดเมื่อห่างจากลูก ความแก่ตัวลงของร่างกาย และอาการวัยหมดประจำเดือนต่าง ๆ           ก็ปรากฏขึ้น

       นอกจากนี้ หลังหมดประจำเดือนมีอัตราความเสี่ยงของภาวะหยุดหายใจขณะหลับที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นควรไปตรวจร่างกายเพื่อหาสาเหตุของโรคได้อย่างถูกต้อง 

ขั้นตอนการรักษา

     ในการรักษา โดยทั่วไปเราใช้ยานอนหลับตามประเภทของอาการ หากคุณมีความวิตกกังวล หรือซึมเศร้า ให้ใช้ยาลดความวิตกกังวลหรือยากล่อมประสาท และถึงแม้ว่าคุณมีภาระทางสังคมที่หนักหน่วงก็ควรขอความช่วยเหลือจากคนอื่น ๆ รอบตัวและพักผ่อนให้เพียงพอ ให้สนุกกับงานอดิเรก กีฬา หรือสิ่งอื่น ๆ ของคุณ 

     เป็นที่พิสูจน์แล้วว่าการบำบัดด้วยฮอร์โมนทดแทนนั้นมีประสิทธิภาพกับการรักษาอาการ Vasomotor ของผู้หญิงในวัยทอง ทั้งนี้ก็ควรปรึกษาสูตินรีแพทย์เพื่อขอใบสั่งยาและรับทราบการจัดการที่เหมาะสม 

บทสรุป

      การนอนหลับเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของร่างกาย ทั้งภายนอกและภายใน และฮอร์โมนก็เป็นส่วนที่มีความสำคัญ เพราะหากฮอร์โมนในร่างกายของคนเรามีการเปลี่ยนแปลง ร่างกายของเราก็จะมีการเปลี่ยนแปลง และส่งผลกระทบต่อการนอนหลับโดยตรง

     เพราะฉะนั้น ฮอร์โมนในเพศหญิงจะส่งผลต่อการนอนหลับเป็นอย่างมาก เราหวังว่าความนี้จะช่วยให้คุณรู้ถึงสาเหตุ และวิธีการจัดการกับการเปลี่ยนแปลงที่จะขึ้นขึ้นในช่วงเวาลาเหล่านั้น

แนะนำ! หมอนเพื่อสุขภาพ ช่วยให้การนอนหลับดีขึ้น

Mini pipe pillow

฿4,060.00฿6,380.00
Mini Pipe ด้วยขนาดที่เล็กละเอียดเป็นพิเศษ จึงมีจุดเด่นเรื่องการเคลื่อนตัวเปลี่ยนรูปทรงตามสรีระได้ดีมาก เติมเต็มช่องว่างต้นคอ บ่า ไหล่ ได้เป็นอย่างดีช่วยบรรเทาอาการปวดต้นคอได้ ไส้หมอนมีลักษณะคล้ายหลอด คืนตัวได้ดี ไม่ยุบตัว ระบายอากาศได้ดี ไม่อับชื้น Made in Japan ราคากิโลกรัมละ 2,900 บาท
เลือกรูปแบบ This product has multiple variants. The options may be chosen on the product page

King Katakara Pillow

฿5,500.00
ไม่เพียงแค่รองรับศีรษะเท่านั้น แต่ยังซัพพอร์ตไปจนถึงบ่าและสะบัก ให้คุณได้พัก คอและไหล่ที่ปวดเมื่อยมาทั้งวันด้วย ! หมอนบีดส์นุ่มฟู โอบอุ้มสรีระตั้งแต่ศีรษะ คอ บ่าไหล่ ออกแบบให้ด้านข้างของหมอนมีความสูงกว่าส่วนกลางเล็กน้อยเพื่อรองรับบ่าเวลานอนตะแคงด้วย วัสดุภายในเป็นบีดส์นุ่มฟูขนาดละเอียดพิเศษ ที่เปลี่ยนทรงไปตามสรีระของผู้นอน พร้อมสัมผัสเนียนนุ่ม และปลอกหมอนพิเศษอ่อนโยนต่อผิวหน้า อ่านต่อ วัสดุภาย: Microbeads (95%) ขนาดเล็ก 0.5mm ผสมเส้นใย Polyester (5%) ปรับเปลี่ยนรูปทรงได้ตามสรีระของร่างกาย สัมผัสนุ่ม เบา ทนทาน กระจายแรงกดทับได้ดี ยุบตัวยาก คืนทรงได้ดี ขนาด: ประมาณ กว้าง 65 x ยาว 37 x สูง 10 ซม. น้ำหนัก: ประมาณ 800 กรัม (เฉพาะตัวหมอน) Made in Japan

Super king pillow

฿5,100.00฿5,200.00
หมอนเพื่อสุขภาพ Super king pillow ออกแบบให้โค้งรับกับเเนวไหล่ได้พอดี ไม่เกิดช่องว่าง รองรับสรีระทั้งการนอนหงายและนอนตะเเคงข้าง วัสดุภายในมีขนาดเล็กละเอียด เปลี่ยนรูปทรงตามท่านอน อ่านต่อ มีให้เลือก 2 ขนาด
  • Standard Type (เหมาะสำหรับผู้ชาย) ขนาด: กว้าง 62 x ลึก 40 (ตรงกลาง34) x ส่วนต้นคอสูง 8cm x ส่วนด้านข้างทั้ง 2 ข้างสูง 12 ซม.
  • Low Type (เหมาะสำหรับผู้หญิง) ขนาด: กว้าง 62 x ลึก 40 (ตรงกลาง34) x ส่วนต้นคอสูง 7cm x ส่วนด้านข้างทั้ง 2 ข้างสูง 10 ซม.
(หมอน 1 ใบ พร้อมปลอกหมอน 1 ชิ้น) Made in Japan
เลือกรูปแบบ This product has multiple variants. The options may be chosen on the product page

Super fit 4 zone pillow

฿6,200.00฿6,500.00
แบ่งเป็น 4 ส่วน เพื่อรองรับสรีระต้นคอ บ่า และไหล่ได้อย่างพอดีทั้งการนอนหงายและนอนตะเเคง สามารถเลือกวัสดุภายในได้ตามต้องการ รวมถึงสามารถปรับความสูงของหมอนทั้งใบ หรือเลือกปรับความสูงแต่ละส่วนให้พอดีกับตัวคุณได้ ให้ท่านอนถูกต้องตามหลักสรีระศาสตร์ ลดอาการปวดต้นคอ บ่า ไหล่ ได้อย่างดีเยี่ยม หลับสนิทตลอดคืนและตื่นมาอย่างสดชื่น ขนาด: กว้าง 33 x ยาว 65 cm สูงประมาณ 12 cm. มีแผ่นเสริมด้านใน 2 แผ่น สูง 3.5 และ 4.5 cm. (สามารถถอดออก-ใส่เพิ่มได้) Made in Japan รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก
เลือกรูปแบบ This product has multiple variants. The options may be chosen on the product page

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *