การนอนหลับ พฤติกรรมนอนดึกของเด็ก อาจทำให้เกิดสาเหตุของโรคเหล่านี้! Posted by Hiromi On 27 กุมภาพันธ์ 2023 0 comments ในปัจจุบันพฤติกรรมการนอนของเด็กมีอัตราเวลาในการนอนลดลง ซึ่งจะนำไปสู่การเจริญเติบโตที่ช้าลง ความสนใจและสมาธิก็สั้นลง นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่นที่กำลังเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูง อย่าง “โรคอ้วน” ที่มีส่วนขัดขวางการนอนหลับของเด็ก ทำให้เกิดอาการง่วงนอน เหนื่อยง่าย รวมถึงภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ผู้ปกครองจึงควรศึกษาเกี่ยวกับนิสัยการนอนและการดูแลสุขภาพของเด็กอย่างเหมาะสม แนะนำผู้เขียน Hiromi KuriharaSenior sleep health instructor อาจารย์อาวุโสด้านสุขภาพและการนอนหลับ จบจากสถาบัน Japan Sleep Education System ประเทศญี่ปุ่น โดยมีแนวคิดที่ว่า “การนอนหลับเป็นจุดเริ่มต้นของชีวิต” ปัจจุบันดำรงตำแหน่งกรรมการบริหาร Kenko Shop มุ่งเน้นให้คนไทยตระหนักถึงความสำคัญของการนอนและค้นหาเครื่องนอนสุขภาพจากญี่ปุ่นส่งถึงมือชาวไทย อ่านบทความทั้งหมดจากผู้เขียน ยาวไป อยากเลือกอ่าน วิถีชีวิตของเด็กในปัจจุบันกลายเป็นคนนอนดึก เมื่อสังคมยุคสมัยใหม่ดูเหมือนจะมีเวลามากกว่า 24 ชั่วโมง ผู้คนมักจะใช้เวลาในการนอนหลับน้อยลง ซึ่งสภาพแวดล้อมทางสังคมที่เปลี่ยนเเปลงก็ส่งผลต่อการใช้ชีวิตของเด็กในยุคนี้อีกด้วย จากการสำรวจที่จัดทำโดยสมาคมสุขภาพเด็กแห่งประเทศญี่ปุ่น พบว่า มากกว่าครึ่งของเด็กอายุ 1 ปี 6 เดือน 2 ปี และ 3 ปี พบว่า เด็กเหล่านี้มักจะเข้านอนหลังเวลา 22:00 น. หลังจากการสำรวจ และจำแนกอายุอย่างชัดเจนจะเห็นได้ว่าจำนวนของเด็กที่นอนดึก เพิ่มขึ้นจาก 10 หรือ 20 ปีที่แล้ว นอกจากนั้นก็แสดงให้เห็นด้วยว่า เด็กที่เลื่อนขั้นจากชั้นระดับประถมศึกษา ถึงมัธยมต้น และมัธยมปลาย เวลาเข้านอนยิ่งช้า และเวลานอนก็ลดลง และเปอร์เซ็นต์ของ “เด็กที่รู้สึกนอนไม่พอ” เพิ่มมากขึ้น การสำรวจระยะยาวของทารกแรกเกิดในช่วงศตวรรษที่ 21 โดยกระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการ มีคำถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการนอนของเด็กอายุ 2 ปี 6 เดือน จากข้อมูลนี้พบว่าเด็กที่อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่มักจะเข้านอนดึกและตื่นสายกว่าเด็กที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชนบท การนอนหลับไม่เพียงพอทำให้การเจริญเติบโตช้าลง เบื่ออาหาร สมาธิสั้น มีอาการง่วงนอน และเมื่อยล้า และเด็กเหล่านี้มักถูกมองว่าเป็นคนขี้หงุดหงิด สมาธิสั้น มีพฤติกรรมหุนหันพลันแล่น ฯลฯ การอดนอน เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโรคอ้วนในอนาคต จึงจำเป็นต้องจัดให้มีนิสัยการนอนที่เหมาะสม และควรให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพแก่เด็ก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาในโรงเรียน หรือมีกิจกรรมเพื่อให้ทราบโดยทั่วกัน ภาวะหยุดหายใจขณะหลับในเด็ก ความผิดปกติของการนอนหลับที่พบบ่อยในเด็ก คือ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ สาเหตุหลักของภาวะหยุดหายใจขณะหลับในเด็ก คือ ภาวะเนื้องอกในจมูก และต่อมทอนซิลโตมากเกิน พบได้บ่อยในเด็กอายุ 3-6 ปี และมักพบในเด็กที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มากกว่าในเด็กอ้วน ซึ่งจะมีอาการต่าง ๆ ที่พบได้บ่อย ได้แก่ กรนตอนกลางคืน ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ และความหงุดหงิดเมื่อตื่นนอน มีภาวะสมาธิสั้น พฤติกรรมหุนหันพลันแล่น และความบกพร่องในการเรียนรู้ " โรคอ้วน " ที่ผู้ปกครองไม่ควรวางใจ “โรคอ้วน” ในเด็กเพิ่มขึ้นมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา และกลุ่มอาการหยุดหายใจขณะหลับที่เกี่ยวข้องกับโรคอ้วนมักพบในเด็กตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น จนถึงชั้นมัธยมต้น โรคอ้วนในเด็กมักมีโรคอื่น ๆ ที่อาจเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดผิดปกติ ผู้ปกครองจึงต้องปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารให้ทานอาหารที่มีประโยชน์ ครบ 5 หมู่ และควรให้เด็กทานอาหารอย่างพอดี อาการที่มักเกิดขึ้นขณะนอนหลับในเด็ก ความผิดปกติของการนอนหลับอื่น ๆ ที่พบได้บ่อยในเด็ก ได้แก่ อาการง่วงนอน และปัสสาวะรดที่นอน (nocturnal enuresis) – อาการสะลึมสะลือ เป็นหนึ่งในอาการผิดปกติขณะหลับ – อาการเดินละเมอ ซึ่งอาการการเดินละเมอมีตั้งแต่การลุกขึ้นนั่งบนเตียง ไปจนถึงการเดินออกจากประตูไป– อาการผวา อาการขวัญผวานั้นมีลักษณะเฉพาะด้วยการกรีดร้อง ดวงตาเบิกกว้าง ใบหน้าตื่นตระหนก เหงื่อออกมาก และหายใจหนัก ในกรณีของเด็กคิดว่ามีปัจจัยต่าง ๆ เช่น อิทธิพลทางพันธุกรรม และความเครียดทางจิตใจ การปลอบประโลมพวกเขามักจะทำให้พวกเขากระวนกระวายใจ ดังนั้นเราจึงตอบสนองด้วยการเฝ้าดูพวกเขาเพื่อไม่ให้ตกอยู่ในอันตราย โดยอาการเหล่านี้ส่วนใหญ่จะหายไปในช่วงวัยรุ่นตอนต้น การปัสสาวะรดที่นอนมากกว่าสองครั้งต่อสัปดาห์หลังจากอายุ 5 ขวบ เรียกว่า ภาวะปัสสาวะรดที่นอนที่เกิดขึ้นซ้ำ โดยก่อนหน้านี้ภาวะปัสสาวะรดที่นอนนั้นถือว่าไม่ได้เป็นโรค แต่อาจมีสาเหตุมาจากความเครียด ผู้ปกครองช่วยได้โดยไม่ใจร้อนและไม่โกรธเด็ก แต่ทำความเข้าไม่ให้เด็กมีอาการเครียดจนเกินไป บทสรุป ผู้ปกครองควรสังเกตพฤติกรรมลูกน้อยของคุณให้มากยิ่งขึ้น ใส่ใจและสร้างวินัยในการนอนหลับ หรือการสร้างสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการนอนหลับให้สบายมากยิ่งขึ้น ซึ่งการนอนเป็นเรื่องสำคัญของการเจริญเติบโต และพัฒนาการทั้งทางด้านสมอง และร่างกายของลูกน้อยของคุณและอาการผิดปกติจากการนอนหลับอื่น ๆ ตามที่เราได้กล่าวมาอาจเป็นสัญญาณเตือนให้คุณได้รู้ทัน เพื่อปรับแก้พฤติกรรม หรือวิธีการรักษาได้อย่างรวดเร็ว ขอบคุณข้อมูลแปลจาก: กระทรวงสาธารณสุข แรงงานและสวัสดิการ ประเทศญี่ปุ่น แนะนำ! หมอนเด็ก King Baby Pillow ดูแลสุขภาพการนอนหลับตั้งแต่ยังเด็ก เพื่อเติบโตอย่างสดใส แข็งแรงกับหมอนสำหรับเด็กทารกที่มีให้เลือก 2 ขนาด คือแรกเกิด – 6 เดือนขนาด กว้าง 22 x ยาว 31 ซม. สูง 2.5-6.5 ซม.7 เดือน – 24 เดือนขนาด กว้าง 26 x ยาว 37 ซม. สูง 4.5-8.5 ซม.สามารถปรับระดับความสูงของหมอนให้เหมาะสมกับสรีระของลูกน้อยได้ปลอกหมอนภายนอกมีสัมผัสนุ่ม ลดการระคายเคืองผิว สามารถถอดซักทำความสะอาดได้ส่วนปลอกหมอนภายในใช้ผ้า 3D ที่ระบายอากาศได้ดีจึงไม่ทำให้อับหรือร้อนอบอ้าว*ความสูงของหมอนปรับได้โดยการถอดคอตตอนด้านในออก ดูรายละเอียด