ทำไมมือเย็น มือชาตลอด? เป็นสัญญาณเตือนสุขภาพที่ไม่ควรมองข้าม
ในชีวิตประจำวันของเรา การที่มือเย็นเมื่ออากาศเย็นเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าคุณรู้สึกว่ามือเย็นเกินไปหรือเย็นตลอดเวลา นั่นอาจเป็นสัญญาณที่ไม่ควรมองข้ามเพราะอาการมือเย็นผิดปกติสามารถบอกถึงปัญหาสุขภาพหลายอย่างได้
เราจะพาคุณไปสำรวจสาเหตุที่แท้จริงของอาการมือเย็นและทำไมถึงควรกังวลเกี่ยวกับอาการนี้ ลักษณะอาการมือเย็น พร้อมทั้งแนะนำวิธีการป้องกันและการดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสมกัน!
แนะนำผู้เขียน
Hiromi Kurihara
Senior sleep health instructor
อาจารย์อาวุโสด้านสุขภาพและการนอนหลับ จบจากสถาบัน Japan Sleep Education System ประเทศญี่ปุ่น โดยมีแนวคิดที่ว่า “การนอนหลับเป็นจุดเริ่มต้นของชีวิต” ปัจจุบันดำรงตำแหน่งกรรมการบริหาร Kenko Shop มุ่งเน้นให้คนไทยตระหนักถึงความสำคัญของการนอนและค้นหาเครื่องนอนสุขภาพจากญี่ปุ่นส่งถึงมือชาวไทย
Table of Contents
มือเย็น (Cold hands) คืออะไร?
มือเย็น (Cold hands) คือ การรู้สึกเย็นที่ปลายนิ้วและมือ โดยมักรู้สึกได้เมื่อสัมผัสกับส่วนอื่นของร่างกายที่อุ่นกว่า หากอยู่ในที่เย็นจัด อาจทำให้มือชาหรือแข็ง ขยับนิ้วได้ยาก ผิวหนังบริเวณมือดูซีดหรือเปลี่ยนเป็นสีม่วง
สาเหตุอีกอย่างหนึ่งที่มือเย็นก็สามารถเกิดจากโรคหรือปัญหาสุขภาพต่างๆได้ และอาจมีอาการอื่น ๆ เช่น ปวดมือ นิ้วบวม มือชา ผิวหนัง เล็บเปลี่ยนสี ผิวหนังตึงหรือด้าน ถ้าเกิดอาการบ่อยครั้ง หรือรุนแรงจนส่งผลต่อชีวิตประจำวันมากยิ่งขึ้น
สาเหตุที่แท้จริงของอาการมือเย็น มีอะไรบ้าง?
เป็นอาการที่พบได้บ่อยในผู้คนหลายๆ กลุ่ม โดยสาเหตุที่มือเย็นนั้นสามารถเกิดจากหลายปัจจัยได้ เช่น ระบบการไหลเวียนโลหิตที่ไม่ดี การตอบสนองต่อความเครียด โดยสาเหตุที่แท้จริงของอาการมือเย็นแบ่งออกเป็น 5 ประการ ดังต่อไปนี้
1. การไหลเวียนโลหิตไม่ดี (Poor Circulation)
2. ความเครียดและความวิตกกังวล (Stress and Anxiety)
ความเครียด และความวิตกกังวลสามารถทำให้หลอดเลือดหดตัว ลดการไหลเวียนของเลือดไปยังมือ ทำให้รู้สึกเย็น หลังจากปล่อยให้เย็นไปเรื่อย ๆ ทำให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนไปยังปลายนิ้วมือได้ดี
3. ภาวะโลหิตจาง (Anemia)
การขาดธาตุเหล็กหรือวิตามินบี 12 ทำให้ร่างกายขาดเม็ดเลือดแดงที่จำเป็นในการนำออกซิเจนไปยังส่วน ต่างๆ ของร่างกาย ทำให้เกิดอาการมือเย็น
4. เบาหวาน (Diabetes)
เบาหวานสามารถทำให้หลอดเลือดและเส้นประสาทเสียหาย ลดการไหลเวียนเลือดไปยังมือและเท้า
5. การสูบบุหรี่ (Smoking)
นิโคตินในบุหรี่ทำให้หลอดเลือดหดตัว ลดการไหลเวียนของเลือดไปยังมือ
ลักษณะอาการมือเย็น
การสังเกตลักษณะของคนที่มีมือเย็นสามารถทำได้จากหลายปัจจัย ซึ่งบ่งบอกถึงสภาพร่างกายและสุขภาพของบุคคลนั้น ๆ ปัจจัยเหล่านี้สามารถเป็นเครื่องชี้ให้เห็นถึงปัญหาหรือสภาวะสุขภาพที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษ ลักษณะที่สามารถสังเกตได้ มี 3 ประการ ดังต่อไปนี้
1. มือเย็นบ่อย
มีอาการมือเย็นจัด และไม่ว่าจะอยู่ในสภาพอากาศหนาวเย็นหรืออุ่น มือจะรู้สึกเย็นเมื่อสัมผัสสิ่งของ รวมทั้งเป็นเหน็บชาบ่อย ๆ
2. มีอาการปวดเมื่อย
ทำงานจากการใช้งานมือมากเกินไป เช่น พิมพ์คอมพิวเตอร์ ส่งผลให้กล้ามเนื้อมือตึง และระบบไหลเวียนเลือดไม่ดี
3. สีของผิวมือเปลี่ยน
มือเปลี่ยนเป็นสีซีด หรือปลายนิ้วเป็นสีฟ้าอมม่วง เล็บเปราะ ฉีกง่าย ผิวมือแห้ง
4 ผลเสียของคนมือเย็น มีอะไรบ้าง?
ในชีวิตประจำวัน หลายคนอาจพบว่ามีอาการมือเย็นอยู่บ่อยครั้ง แต่ทราบหรือไม่ว่าอาการมือเย็นอาจมีผลเสียที่ต้องระวังอยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะในเรื่องของสุขภาพ อาการมือเย็นสามารถส่งผลเสีย 4 ประการ ได้แก่
- ความเย็นที่มือทำให้รู้สึกไม่สบาย อาจมีอาการชาและเจ็บปวดตามมา
2. ทำให้การทำงานที่ต้องใช้มือมีประสิทธิภาพลดลง เช่น การเขียน พิมพ์งาน ลำบากมากขึ้น
3. ความกังวลเกี่ยวกับอาการมือเย็นอาจทำให้เกิดความเครียดและกังวลในชีวิตประจำวัน
4. เป็นสัญญาณของปัญหาการไหลเวียนของเลือด ซึ่งอาจส่งผลต่อสุขภาพของระบบไหลเวียนโลหิตในระยะยาว
3 ท่าง่าย ๆ นวดกดจุดมือ
การนวดกดจุดบนมือจะกระตุ้นการไหลเวียนโลหิตและสารอาหาร ลดความตึงเครียดในกล้ามเนื้อบางส่วน ช่วยให้มือรู้สึกอุ่นขึ้น รวมทั้งนำออกซิเจนและสารอาหารไปยังทุกส่วน พร้อมกำจัดของเสียและสารพิษ ซึ่งสำคัญในการรักษาสุขภาพโดยรวมได้อีกด้วย
ในวันนี้เราจะพามาทำความรู้จักกับท่านวดกดจุดบนมือ 3 ท่าง่าย ๆ สามารถทำตามได้ที่บ้าน ดังต่อไปนี้
ท่าที่ 1 ท่านวดจุดบนฝ่ามือ
- ใช้ปลายนิ้วโป้งคลึงลง และกดค้างบริเวณง่ามนิ้วโป้งไว้
- นวดเบา ๆ และหมุนเป็นวงกลมประมาณ 10-30 วินาที สลับไปทำอีกข้าง
- หากกดถูกจุดจะรู้สึกเจ็บจี๊ดๆ ขึ้นมาบนฝ่ามือ
คำเตือน คนท้องห้ามกดนวดท่านี้โดยเด็ดขาดส่งผลกระทบต่อมดลูกโดยตรง
ท่าที่ 2 ท่านวดจุดบนกลางฝ่ามือ
- ใช้นิ้วโป้งนวดกดจุดกลางฝ่ามือทั้งสองข้าง
- นวดคลึง และใช้แรงกดนวดปานกลางถึงหนัก
- นวดข้างละประมาณ 20-30 วินาที สลับไปทำอีกข้าง
- หากกดถูกจุดจะรู้สึกเจ็บจี๊ดๆ ขึ้นมากลางมือ
ท่าที่ 3 ท่ายืดกล้ามเนื้อแขน
- ยืนตัวตรง ยืนแขนออกไปข้างหน้า
หงายฝ่ามือออกให้อยู่ในแนวคว่ำ
ค้างไว้ข้างละประมาณ 10-20 วินาที สลับไปทำอีกข้าง
- หากทำท่าถูกต้องจะรู้สึกตึงที่แขนและฝ่ามือ
แนะนำเพิ่มเติม การใช้ออยในการนวดกดจุดช่วยให้การนวดคล่องตัวขึ้น ไม่ระคายเคืองผิว ช่วยลดอาการมือเย็น แต่หากต้องการนวดเน้นจุดต่างๆ แนะนำว่าไม่ต้องใช้ออย เพื่อให้ใช้แรงกดจุดได้ดี ควรนวดกดจุด 1-2 ครั้งต่อวัน อย่างน้อย 2-3 สัปดาห์ เพื่อผลลัพธ์ที่ดี ควรทำอย่างสม่ำเสมอเพื่อกระตุ้นการไหลเวียนเลือด
บทสรุป
เมื่อเราเริ่มสังเกตเห็นว่ามือของเรามีอาการเย็นผิดปกติ อาจถึงเวลาแล้วที่เราควรให้ความสำคัญกับสุขภาพของเรา เพราะอาการนี้อาจเป็นสัญญาณเตือนที่บ่งบอกถึงปัญหาที่ใหญ่กว่าที่เราคิด อย่ามองข้ามสัญญาณเหล่านี้เด็ดขาดเลย!
แต่หากคุณมีปัญหาเหล่านี้ช่วยลดอาการปวดเมื่อย และปรับระบบการไหลเวียนเลือดให้ดีขึ้น เราก็มีไอเทมเด็ดที่ช่วยแก้ปัญหาได้โดยเฉพาะอย่างตรงจุด!
ลดอาการปวด เมื่อยล้า ช่วยให้มือและแขนของคุณรู้สึกเบาขึ้น
ด้วยหมอนรองแขนจากญี่ปุ่นช่วยลดอาการปวดแขนและข้อมือได้อย่างดีเยี่ยม