สุขภาพ

ความผิดปกติของการนอนหลับ

ผู้หญิงกำลังกลุ้มใจกับปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับ
ผู้หญิงกำลังกลุ้มใจกับปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับ

ทุกวันนี้ แค่นอนไม่หลับจริงหรือ? จะอธิบายเกี่ยวกับเรื่องของความผิดปกติของการนอนต่าง ๆ ให้ทราบกันค่ะ

เมื่อได้ยินเรื่องความผิดปกติของการนอนหลับ ส่วนใหญ่แล้วคิดว่าต้องเชื่อมโยงกับอาการนอนไม่หลับ

แต่ความจริงแล้วความผิดปกติของการนอนนั้นมีหลายรูปแบบมาก การแก้ไขปัญหาแต่ละแบบก็จะต่างกันออกไปด้วยเช่นเดียวกัน

ในครั้งนี้ จะมานำเสนอเกี่ยวกับเรื่องของสาเหตุและการรับมือกับอาการผิดปกติของการนอนให้รู้กันค่ะ

แนะนำผู้เขียน

Hiromi Kurihara

Hiromi Kurihara
Senior sleep health instructor

อาจารย์อาวุโสด้านสุขภาพและการนอนหลับ จบจากสถาบัน Japan Sleep Education System ประเทศญี่ปุ่น โดยมีแนวคิดที่ว่า “การนอนหลับเป็นจุดเริ่มต้นของชีวิต” ปัจจุบันดำรงตำแหน่งกรรมการบริหาร Kenko Shop มุ่งเน้นให้คนไทยตระหนักถึงความสำคัญของการนอนและค้นหาเครื่องนอนสุขภาพจากญี่ปุ่นส่งถึงมือชาวไทย

ยาวไป อยากเลือกอ่าน

อาการนอนไม่หลับ / โรคนอนไม่หลับ

ผู้หญิงเอเชียกำลังนั่งอยู่บนเตรียมอาการนอนไม่หลับ

อันดับแรก เริ่มกันที่เรื่องของอาการนอนไม่หลับ

อาการนอนไม่หลับ เป็นหนึ่งในอาการผิดปกติของการนอนหลับที่หลายคนเผชิญเยอะมาก
อาการส่วนใหญ่พบได้ จะมีดังนี้ค่ะ

  • นอนหลับยาก

  • นอนหลับไม่สนิท

  • ตื่นขึ้นกลางดึก

  • ตื่นเช้าตรู่เกินไป 

หากคุณมีอาการดังกล่าวทั้ง 4 ข้อ ติดต่อกันมากกว่า 1 เดือน นั่นแสดงว่าคุณเข้าสู่ภาวะนอนไม่หลับแล้ว

สาเหตุหลักของอาการนอนไม่หลับเกิดจาก

  • สั่งสมความเครียดตลอดวัน

  • ผลกระทบที่เกิดจากโรคประจำตัว เช่น โรคภูมิแพ้และโรคเบาหวาน

  • ความยุ่งเหยิงในชีวิตประจำวัน 

  • เสียงและแสง , สภาพแวดล้อมและสภาวะของอุณหภูมิในห้อง

สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยหลัก ๆ ที่ทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับ

ในการรับมือกับอาการนอนไม่หลับ เพื่อผลลัพธ์ที่ดีขึ้นควรปรึกษาแพทย์และทำควบคู่ไปกับ…

  • การออกกำลังกายที่เหมาะสม

  • การรับแสงแดดอุ่น ๆในตอนเช้าอย่างสม่ำเสมอ

และนี่ก็เป็นเพียงวิธีการง่ายๆ ที่ทุกคนสามารถทำได้ด้วยตัวเอง

ด้วยการผสมผสานการออกกำลังกายระดับปานกลางเข้ากับชีวิตประจำวันของคุณ คุณจะรู้สึกสบายเมื่อยล้าและบรรเทาความเครียด ซึ่งจะช่วยปรับปรุงอาการนอนไม่หลับ

นอกจากนี้ การรับแสงแดด จะทำให้นาฬิกาชีวิตของพวกเราเคยชินและฟื้นฟูร่างกาย, การเคลื่อนไหวทำกิจกรรมในช่วงเช้าถึงเที่ยง จะช่วยส่งผลให้ฟื้นฟูประสิทธิภาพการนอนของคุณในตอนกลางคืน

สำหรับผู้ที่ดื่มแอลกอฮอลล์เพื่อช่วยทำให้นอนหลับจากอาการนอนไม่หลับในตอนกลางคืน 

เมื่อฤทธิ์ของแอลกอฮอล์หมดไปจะทำให้คุณตื่นมากลางดึกได้ ดังนั้นไม่แนะนำให้ดื่มเป็นตัวช่วยในการนอนหลับ แก้ปัญหากับอาการนอนไม่หลับโดยการไม่พึ่งแอลกอฮอล์ให้มากที่สุด

Narcolepsy ภาวะลมหลับ (ง่วงนอนระหว่างวัน)

ผู้หญิงเอเชียผมยาวกำลังง่วงนอนระหว่างทำงาน

ที่จริงแล้วยังมีความผิดปกติของการนอนหลับที่เรียกว่า “โรคง่วงนอนมากเกินผิดปกติ (Hypersomnia)” ซึ่งเป็นปัญหาที่ทำให้คุณง่วงนอนมากเกินผิดปกติ

โรคง่วงนอนมากเกินผิดปกติ มีอาการที่ทำให้รู้สึกง่วงนอนมาก รบกวนการใช้ชีวิตประจำวันในระหว่างวัน ระหว่างทำงาน หากมีอาการรุนแรงมาก แม้ขณะที่คุณเดินอยู่ก็ง่วงได้เช่นเดียวกัน

Narcolepsy โรคลมหลับคือหนึ่งในกลุ่มของโรคง่วงนอนมากเกินผิดปกติ

Narcolepsy โรคลมหลับ เป็นโรคที่พบได้น้อยซึ่งจะพบคนที่มีอาการนี้ 1 คนในอัตราส่วน 1,000-2,000 คน ในระหว่างวันเป็นเรื่องยากลำบากที่จะอดทนเพื่อไม่ให้เกิดความรู้สึกง่วงนอน

เมื่อหัวเราะหรือโมโหจะยิ่งเป็นตัวกระตุ้นให้สูญเสียพลังงานทันทีแล้วก็จะเผลอหลับไป หรือมีอาการที่ไม่สามารถขยับแขนขาขณะหลับ และอีกหนึ่งจุดเด่นของโรคนี้คือเข้าสู่ห้วงความฝันอย่างชัดเจนโดยแยกแยะออกจากความจริงไม่ได้หรือเรียกง่ายๆ ว่าเห็นภาพหลอนนั่นเอง

Narcolepsy โรคลมหลับเป็นอาการผิดปกติของการนอนหลับที่ยังไม่มียารักษา

สำหรับการรักษาเบื้องต้นสามารถทำได้ ดังนี้

  • จัดตารางการนอนหลับให้เพียงพอในแต่ละวัน
  • เพิ่มการงีบหลับอย่างน้อยวันละ 30 นาที
  • พบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

หากทำตามดังที่กล่าวมาข้างต้น จะสามารถบรรเทาอาการลงได้ สำหรับผู้ที่ไม่มีอาการรุนแรงก็สามารถใช้ชีวิตประจำวันตามปกติได้โดยไม่มีปัญหาใด ๆ

 

 

โรคหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep Apnea Syndrome; SAS)

ตื่นนอนมาแล้วปวดหัว

อาการนอนกรน หรือ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

อาการผิดของการนอนหลับแบบถัดไปคือ โรคหยุดหายใจขณะหลับ หรือเรียกง่ายๆ ว่าการนอนกรน

โรคหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep Apnea Syndrome; SAS) เป็นอาการของการกรนโดยส่วนใหญ่จะเกิดในระหว่างนอนหลับ โดยจะทำให้หยุดหายใจในระหว่างนั้นและจะกลับมาหายใจต่อหลังจากผ่านไปหลายวินาที

เราอาจไม่ได้ใส่ใจและคิดว่าคงไม่ส่งผลต่อการนอนเพราะเราก็ได้นอนหลับไปแล้วในระหว่างนั้น แต่ในความเป็นจริงโรคหยุดหายใจขณะหลับหรือการนอนกรนจะส่งผลให้เกิดอาการดังต่อไปนี้ได้

  • หลับไม่สนิท
  • ตื่นสาย

  • ง่วงนอนในช่วงกลางวัน

  • สมาธิและความอดทนต่ำลง
  • ออกซิเจนในเลือดไม่เพียงพอทำให้หัวใจและไตทำงานหนักขึ้น

และอาการหรือโรคดังต่อไปนี้ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคหยุดหายใจขณะหลับได้ เช่น

  • ความดันโลหิตสูง
  • ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ

  • ภาวะเจ็บแน่นหน้าอก

  • โรคหลอดเลือดสมองอุดตัน

โดยส่วนใหญ่โรคหยุดหายใจขณะหลับหรือการนอนกรนจะพบมากในผู้ชายวัยกลางคนหรือผู้ใหญ่ที่เป็นโรคอ้วน

นอกจากโรคอ้วนแล้ว ยังรวมไปถึง

  • ผู้ที่มีคางเล็ก
  • ผู้ที่ขากรรไกรล่างหด

  • ผู้ที่มีต่อมทอลซิลใหญ่

ลักษณะเหล่านี้จะทำให้อาการแสดงออกมาด้วยเช่นกัน

สามารถรับมือแก้ปัญหาโรคหยุดหายใจขณะหลับหรือการนอนกรน ได้ดังนี้

  • จัดเวลาออกกำลังกายแบบที่เหมาะสมกับตนเอง

  • ไม่ทานอาหารในปริมาณที่มากเกินไป
  • ปรับเปลี่ยนลักษณะท่าทางเมื่อเข้านอน
  • งดดื่มแอลกอฮอล์ก่อนนอน

เป็นต้น

ดังที่กล่าวไปข้างต้น โรคหยุดหายใจขณะหลับหรือการนอนกรน เป็นโรคที่จะพบได้มากในผู้ที่เป็นโรคอ้วน ดังนั้น หากจัดเวลาออกกำลังกายแบบที่เหมาะสมกับตัวเองสม่ำเสมอและควบคุมปริมาณอาหารที่รับประทานไม่ให้มากเกินไป จะช่วยให้อาการของโรคนี้ค่อยๆ หายไปและดีขึ้น

และจะส่งผลที่ดีมากขึ้นอีก หากปรับเปลี่ยนลักษณะท่าทางนอน เช่น เวลาเรานอนหงาย ลิ้นจะตกและเข้าไปในลำคอได้ง่าย ทำให้ทางเดินหายใจแคบลงและส่งผลให้มีแนวโน้มที่จะหยุดหายใจขณะหลับได้

เพื่อผลลัพธ์ที่ดี ให้พยายามนอนในลักษณะท่านอนหันข้าง

อีกสิ่งสำคัญนอกเหนือจากนี้ คือ งดดื่มแอลกอฮอล์ก่อนนอนหลับด้วย

หากดื่มแอลกอฮอล์ก่อนนอน กล้ามเนื้อส่วนขากรรไกรจะหย่อนลง ทำให้หายใจได้ยากและส่งผลให้เกิดอาการหยุดหายใจขณะหลับได้นั่นเอง

โรคหยุดหายใจขณะหลับหรือการนอนกรนเป็นโรคเกี่ยวกับความผิดปกติของการนอนหลับที่มีวิธีหลายอย่างที่เราสามารถดูแลตัวเองได้ หากคุณไม่สามารถทำได้ด้วยตัวเอง ทางที่ดีควรไปโรงพยาบาลเพื่อปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและตั้งใจเข้ารับการรักษา

 

Parasomnia ภาวะการนอนผิดปกติที่มีการเคลื่อนไหวร่างกาย ก้าวร้าวในขณะหลับระยะ REM Sleep (REM sleep behavior disorder; RBD)

ผู้หญิงกำลังกลุ้มใจกับปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับ

ภาวะการนอนผิดปกติที่มีการเคลื่อนไหวร่างกายหรือก้าวร้าวในขณะหลับระยะ REM Sleep หรือที่ใช้ชื่อเรียกว่า Parasomnia อาจเป็นความผิดปกติของการนอนหลับที่เราอาจไม่คุ้นหูกันสักเท่าไหร่ ดังนั้น จะอธิบายให้ทราบกันอย่างง่าย โดยอาการผิดปกติที่มักพบ คือ การส่งเสียงร้อง ละเมอ เตะต่อยแขนขา ลุกเดิน เป็นต้น

เฉลี่ยประมาณ 40% ของสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ Parasomnia คือ การบาดเจ็บบริเวณศีรษะและผลจากการดื่มแอลกอฮอล์ ส่วนอีก 60% สาเหตุหลักมาจากอาการป่วยจากโรคอื่นๆ 

แต่อย่างไรก็ตาม หากเกิดอาการดังต่อไปนี้

  • เกิดพฤติกรรมผิดปกติ ซึ่งทำให้ผู้อื่นได้รับบาดเจ็บ

  • การนอนหลับถูกรบกวน

เมื่อเกิดอาการดังที่กล่าวไป ให้เข้ารับการรักษาทันที

โดยทั่วไปจะเป็นการรักษาด้วยการทานยา หากดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และมีความเครียดจะทำให้อาการยิ่งแย่ลง ดังนั้น จึงจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญรวมถึงการปรับรูปแบบการใช้ชีวิต

 

Delayed Phase Sleep disorder

อาการหนึ่งของโรคเกี่ยวกับการนอนหลับ

อาการผิดปกติของการนอนหลับถัดไป คือ Delayed phase sleep disorder

อาการ Delayed phase sleep disorder กล่าวง่ายๆ คือ การทำกิจกรรมช่วงดึกที่นานหรือนอนดึกและส่งผลให้ตื่นสายในตอนเช้านั่นเอง

อันที่จริงเราอาจมีนาฬิกาชีวิตไม่ได้เท่ากับ 24 ชั่วโมงเป๊ะเหมือนกันทุกคน บางคนอาจมี 25 ชั่วโมง ซึ่งจุดที่แตกต่างกันนี้จะได้รับการแก้ไขเมื่อคุณตื่นรับแสงแดดในตอนเช้า แต่ถ้าคุณยังคงใช้เวลาในตอนกลางคืนที่ยาวนานจะทำให้นอนตื่นสายเลยไปถึงเที่ยงได้

หากคุณทำอย่างที่กล่าวไปติดต่อกันเป็นเวลานาน นาฬิกาชีวิตจะถูกปรับเปลี่ยนไป ทำให้คุณไม่สามารถตื่นเช้าได้อีก

แนวทางการรักษา คือ ทานยาตามที่แพทย์สั่งและเข้ารับการบำบัดด้วยแสงที่มีความเข้มข้นสูง

นอกจากนี้ การบำบัดด้วยการปรับเวลานอนเวลาให้เร็วขึ้นจะค่อยๆ ปรับนาฬิกาชีวิตให้เป็นปกติ 

นอกจากนี้ ยังมีวิธีการรักษาที่คุณสามารถทำเองได้ คือ ไม่เล่นโน้ตบุ๊กหรือโทรศัพท์ก่อนเข้านอน มาลองทำกันดูนะ!

 

Kleine – Levin syndrome (KLS)

งีบระหว่างวันเนื่องจากความผิดปกติของการนอนหลับ

อาการผิดปกติของการนอนหลับอันสุดท้ายที่จะนำเสนอ คือ Kleine–Levin syndrome (KLS)

Kleine – Levin syndrome (KLS) จัดอยู่ในกลุ่มของ Hypersomnia เป็นความผิดปกติของการนอนหลับโดยมีอาการ Hypersomnia เป็นระยะๆ ที่เกิดจากอาการง่วงนอนอย่างรุนแรง

ระยะเวลาของอาการ Hypersomnia กินเวลาหลายวันถึงหนึ่งสัปดาห์ และความถี่ของ Hypersomnia นั้นแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล บางคนอาจเป็นหลายครั้งต่อปี บางคนอาจเป็นหนึ่งครั้งในทุกๆ สิบปีหรือหลายปี

อาการง่วงนอนในช่วงระยะ Hypersomnia ค่อนข้างรุนแรงและเป็นข้อเสียที่รบกวนการเรียนและการทำงานเพราะอาจนอนหลับได้ทั้งวัน

ข้อเสียของอาการ Kleine–Levin syndrome (KLS) คือ ขณะนี้ยังไม่มีวิธีรักษาที่ชัดเจน

บทสรุป

ในครั้งนี้ ได้กล่าวถึงเรื่องความผิดปกติของการนอนหลับไปแล้ว

ความผิดปกติของการนอนหลับมีหลายประเภท เช่น โรคนอนไม่หลับที่ทำให้คุณนอนไม่หลับ หรืออาการนอนกรนที่ทำให้คุณง่วงระหว่างวัน แต่ในหลายกรณีมีสาเหตุมาจากความผิดปกติในการใช้ชีวิตของคุณ

ความผิดปกติของการนอนสามารถรบกวนด้านต่างๆ เช่น ในระหว่างเรียนและทำงาน เป็นต้น
เป็นสิ่งสำคัญที่เราจะดำเนินชีวิตตามปกติและป้องกันจากโรคเหล่านี้ ดังนั้น เรามาป้องกันและรักษาความผิดปกติของการนอนโดยอ้างอิงจากความรู้ที่นำเสนอในครั้งนี้

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *