สุขภาพ

กำจัดหลังค่อม สร้างบุคลิกดีด้วยท่ากายภาพง่าย ๆ ที่คุณทำได้เองที่บ้าน

ในยุคออนไลน์ หลายคนใช้เวลากับหน้าจอโน้ตบุ๊ก โทรศัพท์มือถือ นั่งห่อไหล่ ห่อตัวเป็นเวลานาน แม้จะรู้ว่านั่งหลังตรงดีต่อสุขภาพ แต่การนั่งท่าเดิมนาน ๆ ก็เมื่อยล้า พฤติกรรมเหล่านี้ แม้จะไม่ใช่สาเหตุหลัก แต่ก็เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิด “โรคหลังค่อม”

ลักษณะของโรคหลังค่อม คือ กระดูกสันหลังส่วนบนจะโค้งงอมากกว่าปกติ ส่งผลเสียต่อบุคลิกภาพ ทำให้ปวดไหล่ ปวดหลังเรื้อรังอีกด้วย

แนะนำผู้เขียน

Hiromi Kurihara
Senior sleep health instructor

อาจารย์อาวุโสด้านสุขภาพและการนอนหลับ จบจากสถาบัน Japan Sleep Education System ประเทศญี่ปุ่น โดยมีแนวคิดที่ว่า “การนอนหลับเป็นจุดเริ่มต้นของชีวิต” ปัจจุบันดำรงตำแหน่งกรรมการบริหาร Kenko Shop มุ่งเน้นให้คนไทยตระหนักถึงความสำคัญของการนอนและค้นหาเครื่องนอนสุขภาพจากญี่ปุ่นส่งถึงมือชาวไทย

Table of Contents

     อาการหลังค่อม คือ ภาวะที่กระดูกสันหลังส่วนอกมีองศาการโค้งงอมากกว่าปกติ (เกินกว่า 40-50 องศา) ส่งผลให้เสียบุคลิกภาพ รูปร่างดูผิดสัดส่วน และอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพอื่น  ๆ ซึ่งมักพบได้บ่อยตั้งแต่ วัยเด็ก วัยรุ่น วัยทำงาน จนถึงผู้สูงอายุ เรียกได้ว่าพบได้ทุกเพศ และทุกวัย

สาเหตุของอาการหลังค่อมเกิดจากอะไร?

สาเหตุของการเกิดอาการหลังค่อมมีสาเหตุดังนี้

  • พฤติกรรม: การนั่งหลังค่อมเป็นเวลานาน ก้มหน้าเล่นมือถือนาน ๆ หรือการยกของหนักผิดท่า ล้วนส่งผลต่อกระดูกสันหลัง
  • โรคประจำตัว: โรคบางชนิด เช่น โรคกระดูกพรุน โรค Scheuermann โรคทางระบบประสาท ส่งผลต่อโครงสร้างของกระดูกสันหลัง
  • อายุ: เมื่ออายุมากขึ้น กระดูกสันหลังอาจเสื่อมสภาพ เกิดภาวะกระดูกพรุน ส่งผลให้กระดูกสันหลังโค้งงอ
  • กรรมพันธุ์: บางคนอาจมีโครงสร้างกระดูกสันหลังที่โค้งงอตั้งแต่กำเนิด

และมักจะมีอาการเหล่านี้ตามมา คือ

  • ปวดหลัง: กล้ามเนื้อหลังทำงานหนักเพื่อพยุงกระดูกสันหลังที่โค้งงอ ส่งผลให้ปวดหลังเรื้อรัง
  • ปวดคอ: กระดูกสันหลังส่วนคอต้องทำงานหนักเพื่อชดเชยส่วนที่โค้งงอ ส่งผลให้ปวดคอ
  • หายใจลำบาก: กระดูกสันหลังที่โค้งงออาจกดทับปอด ทำให้หายใจลำบาก
  • อวัยวะภายในทำงานผิดปกติ: กระดูกสันหลังที่โค้งงออาจกดทับอวัยวะภายใน ส่งผลต่อการทำงานของอวัยวะ
  • เสียบุคลิก: รูปร่างที่หลังค่อมดูไม่สวยงาม ส่งผลต่อบุคลิกภาพ

4 ท่าบริหาร ที่ให้คุณได้โบกมือลาอาการหลังค่อม

ข่าวดี! อาการหลังค่อมสามารถแก้ไขได้ด้วย “กายบริหาร”  วันนี้เราจะมาแนะนำท่ากายบริหารที่ทำได้ง่าย และคุณสามารถทำได้เองที่บ้าน 

4 ท่าบริหาร ที่ให้คุณได้โบกมือลาอาการเหล่านี้ และเสริมบุคลิกภาพของคุณให้ดูดีขึ้นอีกด้วย 

ยืดกล้ามเนื้อหน้าอก

  • ยืนหันข้างเข้ามุมกำแพง นำแขนข้างหนึ่งแนบกับกำแพง
  • โน้มตัวไปข้างหน้า งอศอก 90 องศา
  • ด้านล่างทำการไขว้ขาค้างไว้
  • รู้สึกตึงบริเวณหน้าอก ค้างไว้ 15 วินาที
  • ทำ 3 ครั้ง

บริหารกล้ามเนื้อหลัง

  • นอนคว่ำ ยืดขาตรง
  • ยกแขนขึ้นตรง แล้วยืดแขนไปทางด้านหลัง
  • รู้สึกตึงบริเวณหลัง ค้างไว้ 5 วินาที
  • ทำ 10 ครั้ง

ท่าแมว-วัว

  • คุกเข่า วางมือทั้งสองบนพื้น
  • หายใจเข้า โก่งหลัง คางชิดอก
  • หายใจออก แอ่นหลัง มองเพดาน
  • ทำ 10 ครั้ง

ท่าซูเปอร์แมน

  • นอนคว่ำ ยืดแขนขาตรง
  • ยกแขนและขาขึ้นพร้อมกัน ค้างไว้ 5 วินาที
  • ทำ 10 ครั้ง

      เราต้องค่อย ๆ ฝึก  ยืดก่อน – หลังออกกำลังกาย ทำสม่ำเสมอ เช้า-เย็น วันละ 30 นาที แต่ในปัจจุบันที่เวลามีค่ามากกว่าทอง และเป็นเรื่องปกติที่เราจะลืมออกกำลังทุกวัน หรือลืมบังคับให้ตัวเองนั่งหรือยืนให้หลังตรงตลอดเวลา เรามีตัวช่วยง่าย ๆ ที่ลดขั้นตอน และความยุ่งยากนี้ 

เสื้อกล้ามปรับบุคลิก Seitai Cami REI

แนะนำ! ออกแบบมาให้ใส่สบาย กระชับพอดีไม่รัดแน่นจนเกินไป ใส่ได้ทั้งวันรวมไปถึงใส่นอนได้ด้วย สวมใส่ง่ายและรวดเร็วมาพร้อมบราในตัว ซัพพอร์ตทุกการเคลื่อนไหว ทำให้บุคลิกสวยสมดุลทุกองศา

 3 คุณสมบัติเด่นของเสื้อกล้าม Seitai Cami REI

  • 10 วินาทีก็ใส่ได้แล้ว  – ออกแบบมาเพื่อความสะดวกสบาย ง่ายและรวดเร็วในทุกครั้งที่สวมใส่
  • ใส่เพียงชิ้นเดียวโดยที่ไม่ใส่บรา – เป็นเสื้อกล้ามชั้นในที่มีบราอยู่ภายในตัว
  • สวยทุกองศา  ซัพพอร์ตร่างกายส่วนบนในทุกการเคลื่อนไหว ทำให้ดูสวยในทุกองศา

บทสรุป

     การดูแลสุขภาพ ของกระดูกสันหลังเป็นสิ่งสำคัญ ควรปรับพฤติกรรม ออกกำลังกาย และดูแลสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันและแก้ไขอาการหลังค่อม

    เราหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์และแก้ปัญหาของคุณได้ไม่มากก็น้อย เพราะอาการหลังค่อมเป็นปัญหาที่ต้องใช้วินัยในการดูแล และปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อสุขภาพที่ดีในอนาคต