สุขภาพ

เทคนิคที่จะช่วยคุณ! ลดอาการหลับ ๆ ตื่น ๆ ระหว่างคืน

ผู้หญิงกำลังนอนอยู่บนที่นอน

      การหลับ ๆ ตื่น ๆ ระหว่างคืน เป็นอาการที่หลายท่านพบเห็นในชีวิตประจำวัน ภาวะนี้มีสาเหตุมาจากหลายปัจจัยต่าง ๆ ทั้งจากสภาพแวดล้อม สภาพจิตใจ และพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในช่วงเวลากลางคืน ทำให้การหลับนั้นไม่ได้รับความสมบูรณ์แบบตามปกติ

     การหลับ ๆ ตื่น ๆ อาจมีผลกระทบที่ส่งผลต่อสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจ ซึ่งอาจทำให้รู้สึกเหนื่อยล้าและมีผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานและกิจวัตรประจำวันได้

ในบทความนี้เราจะสำรวจดูปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจทำให้เกิดการหลับ ๆ ตื่น ๆ ระหว่างคืน รวมถึงวิธีการดูแลและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่สามารถช่วยลดปัญหานี้ลง และเพิ่มคุณภาพการนอนให้ดีมากยิ่งขึ้น

แนะนำผู้เขียน

ปฎิมา-เกษร-นักกายภาพบำบัด-kenkoshop-j-clinic

กภ.ปฎิมา เกษร
นักกายภาพบำบัดจาก J-Clinic

ยาวไป อยากเลือกอ่าน

อาการนอนไม่หลับ หรือหลับน้อยในช่วงเวลากลางคืนอาจไม่ได้เกิดขึ้นจากปัญหาทางร่างกายเท่านั้น บางครั้งอาจส่งผลมาจากจิตใจ ซึ่งมีสาเหตุจากปัจจัยเหล่านี้ 

สาเหตุของอาการนอนไม่หลับที่ส่งผลมาจากจิตใจ

ผู้หญิงนั่งเศร้า
ผู้หญิงนั่งอยู่บนเตียงกำลังกอดหมอนแบบเหมือนกังวล

โรคซึมเศร้า (Depression): โรคซึมเศร้ามีอิทธิพลต่ออารมณ์ และการนอนหลับของบุคคลได้โดยตรง ผู้ที่มีภาวะซึมเศร้ามักจะมีปัญหาในการนอนหลับ หรือรู้สึกเหนื่อยล้าแม้จะนอนมากพอแล้ว

ผู้หญิงนั่งกุมศีรษะเหมือนคนกำลังคิดมาก

ภาวะวิตกกังวล (Anxiety Disorders): ปัญหาในด้านจิตใจ เช่น วิตกกังวลอาจทำให้คนมีความยุ่งเหยิงในใจ และทำให้รู้สึกยากที่จะนอนหลับ อารมณ์ที่ไม่สงบสุข, การวิตกกังวล, หรือคิดมากมักเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดอาการนอนไม่หลับ

นอนไม่หลับ

ความเครียด: การประสบกับสถานการณ์ท้าทายหรือความเครียดในชีวิตประจำวันอาจมีผลต่อการหลับนอนของหลาย ๆ คน การมีปัญหาในการจัดการกับความเครียดและปัญหาอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันก็สามารถส่งผลต่อการหลับ

สาเหตุของอาการนอนไม่หลับที่ส่งผลมาจากสภาพแวดล้อม

เสียงรบกวน: เสียงรบกวนจากสภาพแวดล้อมภายนอก เช่น เสียงดังของรถ, เสียงจากโทรทัสน์, วิทยุ, หรือเสียงจากผู้คน อาจทำให้นอนไม่หลับหรือตื่นขึ้นในกลางคืน การใช้ที่ปิดหูเพื่อให้เสียงเบาลง หรือใส่หูฟังเพื่อลดเสียงรบกวนอาจเป็นทางเลือก

แสงสว่าง: แสงสว่างจากหลอดไฟ, โทรทัศน์, หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ ทำให้สมองยังค้างคาและยากต่อการนอนหลับ การใช้หลอดไฟที่มีสีอ่อน หรือการลดการใช้เครื่องมือสื่อสารในช่วงเวลาก่อนนอนอาจช่วยลดผลกระทบนี้ได้

ผู้หญิงตื่นขึ้นมาจากที่นอน

เตียงนอนไม่สบาย: เตียงนอนที่ไม่มีความสบายสามารถทำให้คนรู้สึกไม่สบายและมีปัญหาในการนอนหลับ ควรใช้หมอน และที่นอนที่เหมาะสมกับสรีระและปัญหาการนอนหลับของตนเอง

สาเหตุของอาการนอนไม่หลับที่ส่งผลมาจากร่างกาย

ผู้หญิงกำลังจับคอเหมือนกำลังปวดบริเวณคอ
คน 2 คนกำลังตรวจโรค

ปัญหาสุขภาพทางร่างกาย: โรคที่มีผลกระทบต่อการนอนหลับ, เช่น โรคหัวใจ, โรคไต, หรือโรคเบาหวาน, มีส่วนทำให้ประสิทธิภาพของการนอนหลับแย่ลง อีกทั้งความรู้สึกไม่สบายจากอาการป่วย หรืออาการเจ็บป่วยที่เพิ่มขึ้นในช่วงกลางคืน สามารถเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการนอนหลับได้เช่นกัน

ผู้หญิงนอนบนโต๊ะ

การทำงานในกะกลางตืน : ภาวะเครียดในการทำงาน ในช่วงเวลาพักผ่อนเป็นสาเหตุที่ทำให้ประสิทธิภาพการนอนแย่ลง รวมถึงการนั่งทำงานเป็นเวลานาน อาจนำมาซึ่งอาการ ออฟฟิศซินโดรม การล้าของสมอง และดวงตา ซึ่งส่งผลกระทบต่อการใช้ขีวิตประจำวันอีกด้วย

ผู้หญิงหาวตอนกลางคืน เพราะนอนน้อย

การใช้สื่อต่าง ๆ ก่อนนอน  : การใช้สื่อเช่น โทรศัพท์มือถือ, คอมพิวเตอร์, หรือโทรทัศน์ในเวลาก่อนนอนอาจมีผลกระทบต่อการหลับได้ เช่น  ไมเกรน หรือการก้มเล่นโทรศัทพ์เป็นเวลานาน ทำให้มีอาการปวดคอ ปวดหัว อาการล้าของดวงตา และทำให้สมองเกิดอาการค้างคาทำให้นอนไม่หลับอีกด้วย

เทคนิคการลดอาการหลับ ๆ ตื่น ๆ ระหว่างคืน

ห้องนอนที่มีแสงสลัวๆ

สร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม:

  • ปรับแสงสว่างในห้องให้เหมาะสมในช่วงกลางคืน
  • ลดการเกิดเสียงรบกวน เช่น ใช้หน้าต่างกันเสียง หรือใส่ที่ปิดหู รวมถึงเลือกเครื่องนอนที่เหมาะกับร่างกายของตนเอง

จัดการกับสาเหตุทางจิตใจ:

  • พิจารณาการใช้เทคนิคผ่อนคลาย, การทำโยคะ, หรือการฝึกสติ
  • หากมีปัญหาทางจิตใจหรืออารมณ์, ควรพูดคุยกับผู้ให้บริการด้านสุขภาพจิต

การจัดการเวลานอน:

  • จัดตารางการนอน และตื่นให้เป็นประจำทุกวัน
  • หลีกเลี่ยงการนอนหลับตอนกลางวัน
ผู้ชายยกำลังเล่นมือถือก่อนนอน

ปรับพฤติกรรมการนอน:

  • ลดการใช้สื่อดิจิทัลก่อนนอน
  • ปรับพฤติกรรมการนอนให้มีตารางเวลาชัดเจน

การบริหารจัดการสถานการณ์และวิธีหลีกเลี่ยงความเครียด:

  • จัดการกับสถานการณ์ที่ทำให้เครียดและใช้เทคนิคการลดความเครียด
  • หลีกเลี่ยงตวามเครียด หรือสิ่งที่อาจก่อให้เกิดความเครียด

การเลือกอาหาร:

  • หลีกเลี่ยงการบริโภคสารกระตุ้นต่อการตื่นตัว เช่น กาแฟหรือชา ในช่วงเย็นหรือก่อนนอน
  • ควรรักษารูปแบบการรับประทานอาหารให้เหมาะสม
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ

เทคนิคง่าย ๆที่คุณทำเองที่บ้านได้ ที่จะช่วยลดอาการลดอาการหลับ ๆ ตื่น ๆ ระหว่างคืน

วันนี้เราจึงมาแชร์เทคนิคง่าย ๆ ใช้เวลาไม่นาน และสามารถทำที่บ้านได้ เป็นเทคนิคการผ่อนคลายกล้ามเนื้อบริเวณ Suboccipitalis muscle เป็นการลดอาการหลับ  ๆ ตื่น ๆ ระหว่างคืน ที่ไม่ยากเลยค่ะ

     Suboccipitalis muscle เป็นกล้ามเนื้อบริเวณหลังคอที่ส่งผลกระทบต่อระบบต่าง ๆ ในร่างกาย ซึ่งอาจส่งผลต่อการนอนหลับๆ ตื่น ๆ หากมีการอาการเกร็งบริเวณนี้ สาเหตุเกิดจากข้างต้นที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นเอง ซึ่งเป็นอาการที่มีผลกระทบมาจากการใช้ร่างกายของเรา

     และ Suboccipitalis muscle เป็นส่วนที่ส่งผลต่อระบบต่าง ๆ  อาทิเช่น การเคลื่อนไหวของดวงตา เส้นประสาทระบบต่าง ๆ ที่สามารถทำให้เกิดอาการปวดหัว มีเส้นเลือดไปเลี้ยงบริเวณศีรษะ และเกี่ยวข้องกับ autonomic nerve และทำหน้าที่ในการ support head และมี sensor เพื่อรักษา balance ของศีรษะ

     Suboccipitalis muscle มีอาการเกร็งมากทำให้เกิดอาการ เช่น ปวดหัว ตาล้า ปวดร้าวบริเวณต้นคอ และรบกวนการนอนของเรานั้นเอง

มาดูเทคนิค! การคลายกล้ามเนื้อ เพื่อลดอาการหลับ ๆ ตื่น ๆ ระหว่างคืน

ที่นอนและหมอนสุขภาพจากญี่ปุ่น

แนะนำ! สำหรับผู้ที่มองหาหมอนและที่นอนสุขภาพ แต่ก็ยังไม่เจอที่พอดีกับตนเองสักที แนะนำเลือกเครื่องนอนได้ที่ kenko เรามีเครื่องนอนที่ออกแบบโดยผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพและการนอนหลับ ที่จะช่วยให้คุณหลับสบายถึงเช้า ตื่นมาอย่างสดชื่นในทุกวัน

ร้าน Kenko shop สาขาดิ เอ็มโพเรียม ชั้น 4 โซน The Living

บทสรุป

     อาการนอนหลับ ๆ ตื่น ๆ หากเป็นเวลานานสุขภาพของเรามีแต่จะแย่ลง และส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำของเรามากขึ้น หากเราไม่ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อม และพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ส่งผลต่อการนอนหลับ ทางแก้ไขอาจจะยากและไม่ทันกาลอย่างแน่นอน 

เพราะฉะนั้นเราหวังว่าบทความนี้จะสามารถช่วยให้คุณ มีอาการนอนหลับที่ดีมากยิ่งขึ้น  เพื่อสุขภาพที่ดีในอนาคตของคุณ