เปลี่ยนหมอนกี่ใบก็ไม่หายปวดคอ? ไขความลับเลือก “หมอนสุขภาพ” ที่ใช่!

เชื่อว่าหลายคนคงเคยประสบปัญหาซื้อหมอนมาเปลี่ยนไม่รู้กี่ใบ แต่ก็ยังตื่นมาพร้อมอาการปวดคอ ปวดไหล่ หรือแม้แต่ปวดหลังอยู่ดี เหตุผลหนึ่งอาจเป็นเพราะเราไม่ได้เลือก “หมอนสุขภาพ” ที่ออกแบบมาตอบโจทย์สรีระและพฤติกรรมการนอนของตัวเองอย่างแท้จริง บล็อกนี้จะพาคุณไปไขความลับการเลือกหมอนสุขภาพให้ตรงใจและตรงสรีระของคุณกัน
แนะนำผู้เขียน

คุณโบว์ วรัญญา
Senior pillow advisor
ผู้เชี่ยวชาญด้านหมอนและการนอนหลับ ผ่านหลักสูตรการอบรมขั้นสูงจากสถาบัน Sleepeace ประเทศญี่ปุ่น ดูแลโดยอาจารย์ Miho Mihashi ผู้มีประสบการณ์และความรู้ลึกซึ้งในเรื่องของการนอนหลับและการเลือกหมอนที่ถูกต้อง โดยการเรียนรู้ในหลักสูตรนี้มุ่งเน้นการศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับการนอนหลับที่มีคุณภาพและการเลือกหมอนที่เหมาะสมสำหรับแต่ละบุคคล เพื่อให้ทุกคนสามารถนอนหลับได้อย่างมีคุณภาพและสบายที่สุด นอกจากนี้ยังมีการฝึกอบรมเพิ่มเติมในการปรับหมอนให้เหมาะกับสรีระและลักษณะการนอนของแต่ละบุคคล เพื่อให้คำแนะนำที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพสูงสุด
Table of Contents
3 สาเหตุหลักที่ทำให้ปวดคอ แม้จะเปลี่ยนหมอนบ่อยครั้ง
หากตื่นมาแล้วพบว่าคอ บ่า ไหล่ของคุณปวด ตึง หรือเกร็ง แสดงว่ากล้ามเนื้อบริเวณนั้นต้องทำงานหนักตลอดคืนแทนที่จะได้พักผ่อน และหนึ่งในสาเหตุหลักก็คือ “หมอน” เพราะหมอนมีหน้าที่สำคัญในการรองรับคอ บ่า ไหล่ พร้อมปรับระดับความสูงของศีรษะและลำตัวให้เหมาะสม หากหมอนที่ใช้อยู่ไม่สอดรับกับสรีระหรือไม่ซัพพอร์ตต้นคอเพียงพอ ก็อาจทำให้นอนผิดท่าและตื่นมาพร้อมอาการปวดเกร็งทุกเช้าได้ง่าย ๆ นั่นเอง
สาเหตุที่ 1 ความสูงของหมอนไม่เหมาะกับสรีระผู้นอน
- หมอนสูงหรือต่ำเกินไป: หมอนที่สูงเกินไปจะทำให้คอพับงอมากเกินไป เกิดการเกร็งและอาจมีอาการเจ็บ บางคนอาจตื่นมาพร้อมอาการปวดหัวและปวดต้นคอ ในทางกลับกัน หมอนที่เตี้ยเกินไปจะไม่สามารถรองรับต้นคอได้อย่างเหมาะสม ส่งผลให้เกิดอาการปวดไหล่หรือปวดหลังช่วงบนได้


- การรองรับสรีระไม่เพียงพอ: หมอนที่เป็นทรงแบนหรือยวบเกินไป จะไม่สามารถพยุงกระดูกคอให้อยู่ในแนวที่ถูกต้องตามธรรมชาติ ทำให้เกิดอาการปวดคอเรื้อรังได้ การเลือกหมอนที่มีวัสดุที่สามารถปรับรูปทรงและกระชับเข้ากับต้นคอจึงมีความสำคัญมาก
สาเหตุที่ 2 หมอนไม่สามารถรองรับสรีระได้
- รูปทรงหมอน ไม่เหมาะกับรูปทรงศีรษะ: การที่หมอนไม่สามารถรองรับส่วนโค้งของกระดูกคอได้อย่างเหมาะสม จะทำให้กล้ามเนื้อบริเวณคอต้องทำงานหนักตลอดคืนเพื่อประคองศีรษะ ซึ่งนำไปสู่อาการปวดเมื่อยและเกร็งในที่สุด


- วัสดุที่ไม่ได้มาตรฐาน: หมอนที่ทำจากวัสดุที่ไม่ได้คุณภาพ หรือเสื่อมสภาพแล้ว เช่นยุบตัว หรืออัตราคืนตัวต่ำเกินไป อาจไม่สามารถให้การรองรับที่เหมาะสมได้ บางทีตื่นเช้ามาไส้หมอนอาจหนีหายไปอยู่ริมๆหมอนหมด จนเหมือนคุณไม่ได้หนุนหมอนอยู่
สาเหตุที่ 3 วัสดุของหมอนไม่ระบายอากาศได้
- หมอนอับชื้น: หากหมอนทำจากวัสดุที่ไม่ระบายอากาศ หรือมีการสะสมความชื้น อาจทำให้เกิดการเจริญเติบโตของเชื้อราและแบคทีเรีย ซึ่งอาจส่งผลต่อสุขภาพและคุณภาพการนอนหลับ


- นอนหลับไม่สนิท: แม้ว่าจะไม่ได้ทำให้เกิดอาการปวดคอโดยตรง แต่หมอนที่ไม่ระบายอากาศอาจทำให้นอนหลับไม่สนิท ตื่นมารู้สึกไม่สดชื่น และอาจส่งผลให้กล้ามเนื้อบริเวณคอและบ่าตึงได้ในระยะยาว
ทำไมหมอนสุขภาพที่คนอื่นว่าดี ไปลองนอนแล้วไม่เห็นดีแบบที่เค้าว่าเลย?
เพราะแต่ละคนมีโครงสร้างสรีระที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นขนาดช่วงคอ ความกว้างของไหล่ และท่าที่คุ้นเคยในการนอน หมอนที่ออกแบบมาให้เหมาะกับสรีระของคนหนึ่ง อาจไม่ตอบโจทย์หรือสบายสำหรับอีกคน แม้จะถูกยกย่องว่า “ดีมาก” ก็ตาม
ยิ่งไปกว่านั้น เรื่อง “กระดูกต้นคอและกระดูกสันหลัง” เป็นปัจจัยสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม หากหมอนสูงหรือต่ำเกินไป กระดูกต้นคอจะถูกบิดให้อยู่ในมุมที่ผิด ทำให้เกิดอาการปวดคอ บ่า ไหล่เรื้อรังได้ง่าย ดังนั้น การเลือกหมอนสุขภาพจึงต้องคำนึงถึงการรักษาแนวกระดูกต้นคอและสันหลังให้อยู่ในท่าที่เป็นธรรมชาติมากที่สุด

การเลือกหมอนตามท่านอน
อาจมีบางท่านที่ติดนอนบางท่า เช่นชอบนอนตะแคง ถ้านอนหงายนอนไม่หลับ หรือชอบนอนคว่ำอย่างเดียว ให้ใช้เทคนิคนี้ในการเลือกหมอนสุขภาพ

- นอนตะแคง: เลือกหมอนที่มีความสูงเพียงพอให้คออยู่แนวเดียวกับกระดูกสันหลัง เพื่อไม่ให้คอเอียงขณะนอนตะแคงข้าง
วิธีสังเกต: ลองให้คนใกล้ตัวช่วยสังเกตมุมของคอขณะนอน หากหมอนสูงเกินไป คอจะเชิดขึ้น แต่ถ้าหมอนเตี้ยไป คอจะก้มลง สำหรับการนอนตะแคง หมอนที่พอเหมาะจะทำให้กระดูกคอและกระดูกสันหลังอยู่ในแนวตรงเดียวกัน

- นอนหงาย: เลือกหมอนที่มีส่วนโค้งเว้ารองรับต้นคอและท้ายทอย โดยไม่ให้ศีรษะเงยหรือก้มจนเกินไป
วิธีสังเกต: ลองให้คนใกล้ตัวช่วยดูมุมของคอและใบหน้าเมื่อนอน หากหมอนสูงเกินไป คุณจะก้มหน้ามากกว่าในท่ายืนปกติ แต่ถ้าเตี้ยเกินไป ใบหน้าจะเงยขึ้นมากผิดธรรมชาติ ควรเลือกความสูงที่ทำให้คอและศีรษะอยู่ในมุมใกล้เคียงกับท่ายืนที่สุด

- นอนคว่ำ: ควรใช้หมอนที่บาง เพื่อไม่ให้ศรีษะแหงนสูงขึ้นมากนัก ควรเลือกวัสดุมีความนุ่มเพราะต้องแนบกับใบหน้าโดยตรง และเลือกวัสดุที่ระบายอากาศได้ดีมากๆ เพื่อ ให้หายใจได้สะดวกขณะนอนคว่ำ
วิธีสังเกต: ลองให้คนใกล้ตัวช่วยสังเกตมุมของคอขณะนอน หากหมอนสูงไปตัวคุณจะแอ่นขึ้น และหากหมอนต่ำไปคอและศีรษะจะโค้งลงต่ำกว่าระดับช่วงบ่า ควรเลือกหมอนที่เมื่อนอนแล้วลำตัว ต้นคอและศีรษะขนาดกันเป็นแนวตรง
อย่างไรก็ตาม การเลือกหมอนตามท่านอนเพียงอย่างเดียวอาจไม่ตอบโจทย์ทั้งหมด เพราะร่างกายเรามีการพลิกตัวอัตโนมัติระหว่างการหลับเพื่อกระจายแรงกดทับของร่างกาย ดังนั้น เลือกหมอนที่ “เหมาะกับสรีระ” โดยรวมจะดีกว่าการเลือกเฉพาะตามท่านอนเป็นหลัก
วิธีเลือกหมอนสุขภาพให้หายปวดคอจริง ๆ สักที
แทนที่จะเลือกหมอนจากท่านอนเพียงอย่างเดียว ควรคำนึงถึงหลักการรองรับสรีระเป็นสำคัญ ให้หมอนรองรับได้ทั้งการนอนหงายและตะแคงข้างเมื่อคุณพลิกตัวไปมาระหว่างคืน แบบนี้ถึงจะเรียกว่าหมอนสุขภาพจริง ๆ

1. รองรับกระดูกต้นคอและกระดูกสันหลังในแนวที่ถูกต้อง
- เมื่อเอนตัวลงนอน ศีรษะถึงคอควรตั้งตรงได้ระดับพอดี เหมือนการเลือกหมอนด้วยวิธีการนอนหงายบวกกับวิธีการนอนตะแคงข้าง
วิธีสังเกต: ขณะนอนไม่ควรรู้สึกว่าศีรษะก้มลงหรือหน้าแหงนขึ้นจนอึดอัดและหายใจสะดวกขณะนอน

2. รองรับการพลิกตัว
- หมอนควรมีโครงสร้างที่ยืดหยุ่นพอที่จะปรับเข้ากับท่านอนที่เปลี่ยนไป โดยยังคงรักษาคอให้ไม่บิดหรืองอผิดรูป

3. วัดขนาดคอหรือวัดระยะระหว่างไหล่กับคอ
- ลองวัดความกว้างจากฐานคอถึงไหล่ หรือดูความสูงขณะนอนตะแคง เพื่อช่วยประเมินว่าหมอนที่เหมาะสมควรสูงประมาณไหน
- หากหมอนสูงเกิน ทำให้คอเอียงลงมาตลอดคืน หรือถ้าหมอนแบนเกินไป ก็ทำให้คอแอ่นมากเกินความจำเป็น
ในข้อนี้แนะนำให้คุณพึ่งพาผู้เชี่ยวชาญ หรือ pillow advisor ที่ผ่านการอบรมจากญี่ปุ่นดีกว่า เพราะการวัดขนาดสรีระจำเป็นต้องใช้เครื่องมือและความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เพื่อให้คุณสามารถหาความสูงของหมอนที่เหมาะกับสรีระที่สุด
เลือกวัสดุที่ใช้ทำหมอน
วัสดุต่าง ๆ มีจุดเด่นและคุณสมบัติไม่เหมือนกัน การเลือกให้เหมาะสมกับสรีระและความชอบส่วนตัวจะช่วยให้การนอนสบายยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ควรพิจารณาด้านการระบายอากาศ ความทนทาน และการดูแลรักษาร่วมด้วย เพื่อให้หมอนสุขภาพของคุณมีอายุการใช้งานยาวนานและคุ้มค่า

1. เมมโมรีโฟม (Memory Foam)
ยืดหยุ่นตามรูปศีรษะและคอ ช่วยกระจายแรงกดทับได้ดี แต่ก็มีข้อเสียคือ ระบายอากาศไม่ค่อยดี จึงอาจกักเก็บความร้อน นอกจากนี้ยังไวต่ออุณหภูมิแวดล้อม ทำให้อากาศเย็นจะทำให้หมอนแข็งแน่น ส่วนเมื่ออากาศร้อน หมอนจะนิ่มยวบมากกว่าปกติ ไม่สามารถซักได้

2. ยางพารา (Latex)
มีความแน่นและยืดหยุ่นสูง จึงเหมาะกับผู้ที่ชอบสัมผัสค่อนข้างกระชับ แต่เนื่องจากน้ำยางมีลักษณะแน่น ทำให้ระบายอากาศได้ไม่ค่อยดี จึงต้องเจาะรูในหมอนเพื่อช่วยถ่ายเทอากาศ อีกทั้งยังอาจไม่เหมาะกับผู้ที่ไวต่อกลิ่น เพราะยางพารามีกลิ่นเฉพาะตัวตามธรรมชาติ ไม่สามารถซักได้

3. โฟมเจลเย็น (Gel-infused Foam)
เป็นโฟมที่ผสานเจลเพื่อช่วยกระจายความร้อน จึงไม่ค่อยรู้สึกร้อนอบอ้าวเวลานอน อย่างไรก็ตาม วัสดุเจลมักเสื่อมสภาพได้ไว ทำให้อายุการใช้งานสั้นและต้องดูแลอย่างระมัดระวัง เพราะขึ้นราได้ง่าย อีกทั้งยังไม่สามารถซักหรือตากแดดได้

4. ใยสังเคราะห์หรือไมโครไฟเบอร์
เนื้อสัมผัสนุ่ม แต่ค่อนข้างยวบ รองรับได้น้อยกว่าวัสดุอื่น ๆ อาจไม่เหมาะกับผู้ที่มีอาการปวดคอเรื้อรัง อายุการใช้งานสั้น แฟบแบนได้ง่าย แต่ระบายอากาศได้ดีและซักได้

5. ไปป์ (Pipe)
เป็นวัสดุไส้หมอนจากญี่ปุ่นที่เน้นความยืดหยุ่นและการซัพพอร์ต มีหลากหลายรูปทรง เช่น ทรงท่อคล้ายหลอด ทรงกลม หรือทรงสปริง เนื้อวัสดุเบาและมีขนาดเล็กจึงขยับตัวเข้าเติมช่องว่างต้นคอได้ดี ระบายอากาศสูงไม่อับชื้น ไม่ยุบตัว สามารถล้างน้ำได้ ไม่กักไรฝุ่นและไม่ดึงดูดมด แมลง

6. ไม้สนฮิโนกิ (Hinoki wood)
โดยการนำไม้มาตัดเป็นสี่เหลี่ยมลูกเต๋าขนาดเล็ก แล้วกรอขอบทุกด้านให้โค้งมน (ไม่ใช่ขี้เลื่อยอัด) หมอนจะเคลื่อนตัวตามสรีระขณะพลิกตัว จึงช่วยนวดศีรษะ และล็อกต้นคอได้ดี มีกลิ่นหอมตามธรรมชาติ ให้รู้สึกผ่อนคลาย ลดความเครียด รักษาอุณหภูมิคงที่ 23 องศา ให้ศีรษะเย็น ล้างน้ำทำความสะอาดได้ และไม่มีมด แมลง (ปลวกไม่กิน)
สรุป
การจะเลือกหมอนสุขภาพให้ช่วยลดอาการปวดคอได้จริง ไม่ได้ขึ้นกับชื่อเสียงหรือคำบอกต่อเพียงอย่างเดียว แต่ควรคำนึงถึงสรีระ โครงสร้างกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง และวัสดุที่เหมาะสม การวัดและทดสอบด้วยตัวเองก่อนตัดสินใจซื้อ จะช่วยให้คุณเจอหมอนที่ตอบโจทย์อย่างแท้จริง และในที่สุดก็จะได้ตื่นมาพร้อมกับความสบาย หายปวดคอ บ่า ไหล่ได้สักที!