การนอนหลับ

นอนไม่เป็นเวลา! อาจส่งผลต่อสุขภาพร่างกายมากกว่าที่คิด!

ผู้หญิงตื่นขึ้นมาจากที่นอน

     ความผิดปกติของจังหวะการนอนและตื่นนอน วัฏจักรของนาฬิกาในร่างกายของมนุษย์นั้นมีประมาณ 25 ชั่วโมง ซึ่งมากกว่าเวลาในชีวิตเราที่มีเวลาอยู่ประมาณ 24 ชั่วโมง (มากกว่ากัน 1 ชั่วโมง)

     ความผิดปกติของการนอนหลับที่เกิดจากการรบกวนในจังหวะการนอนและตื่นนอน มาจากการนอนที่ไม่เป็นเวลา มีความคลาดเคลื่อนไปจากเวลาปกติ เรียกว่า ความผิดปกติของนาฬิกาชีวภาพ (circadian rhythm sleep disorder) มีทั้ง อาการเจ็ทแล็ก (Jet Lag) ความผิดปกติของการนอนจากการทำงานเป็นกะ การนอนดึกตื่นสาย การนอนเร็วตื่นเช้า  ไม่หลับไม่นอน 24 ชั่วโมง และเวลาการนอนไม่สม่ำเสมอ เหล่านี้เป็นความผิดปกติของจังหวะการนอนทั้งสิ้น 

แนะนำผู้เขียน

Hiromi Kurihara
Senior sleep health instructor

อาจารย์อาวุโสด้านสุขภาพและการนอนหลับ จบจากสถาบัน Japan Sleep Education System ประเทศญี่ปุ่น โดยมีแนวคิดที่ว่า “การนอนหลับเป็นจุดเริ่มต้นของชีวิต” ปัจจุบันดำรงตำแหน่งกรรมการบริหาร Kenko Shop มุ่งเน้นให้คนไทยตระหนักถึงความสำคัญของการนอนและค้นหาเครื่องนอนสุขภาพจากญี่ปุ่นส่งถึงมือชาวไทย

ยาวไป อยากเลือกอ่าน

จังหวะการตื่นและการนอนของมนุษย์

ภาพในถ้ำ

     แม้จะอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่มีผู้คนอาศัยอยู่ เช่น ในถ้ำ ที่ทำให้ไม่รู้เวลาด้านนอก แต่มนุษย์สามารถนอนหลับและตื่นตัว ในจังหวะเกือบปกติประมาณหนึ่งวัน ซึ่งชัดเจนว่า จังหวะการนอน และตื่นนอนของมนุษย์ ถูกควบคุมโดยนาฬิกาชีวิตในสมอง 

     นอกจากจังหวะการนอนหลับ และการตื่นแล้ว “ระบบประสาทอัตโนมัติ” “ระบบฮอร์โมนต่อมไร้ท่อ” และ “ภูมิคุ้มกันและระบบเผาผลาญ” เช่น อุณหภูมิของร่างกายจะถูกปรับให้เข้ากับจังหวะในแต่ละวันด้วยนาฬิการ่างกาย เรียกว่า นาฬิกาชีวิต (circadian rhythm) 

ช่วงเวลของนาฬิกาชีวิต

    หากคุณใช้ชีวิตอย่างอิสระโดยไม่คำนึงถึงเวลาในสภาพแวดล้อมแล้วหล่ะก็ เวลาเข้านอนและตื่นนอนก็จะมีความล่าช้าไปประมาณ 1 ชั่วโมงในแต่ละวัน อย่างไรก็ตาม เวลาปกติของเวลาของโลกเรานั้น คือ 24 ชั่วโมง ซึ่งมีความแตกต่างจากนาฬิกาชีวิตประมาณ 1 ชั่วโมง

    ในชีวิตประจำวันของเรา เมื่อเราได้รับสิ่งเร้าต่าง ๆ นาฬิการ่างกายของเราจะประสานรวมกับวัฏจักรของโลกภายนอก และแก้ไขความคลาดเคลื่อนประมาณ 1 ชั่วโมง สิ่งเร้านี้เรียกว่าปัจจัย ซิงโครไนซ์ และเป็นที่ทราบกันดีว่าปัจจัยการซิงโครไนซ์ที่มีผลมากที่สุด คือ แสง

     นอกจากนี้ ปัจจัยทางสังคม เช่น อาหาร การออกกำลังกาย การทำงาน และการเรียน ก็ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยในมนุษย์ แสงในตอนเช้าทำให้นาฬิกาชีวภาพเร็วขึ้น และแสงในตอนเย็นทำให้นาฬิกาช้าลง ดังนั้นการสัมผัสกับแสงในตอนเช้า กินข้าว ไปโรงเรียนหรือไปทำงาน เหล่านี้เป็นการเร่งวัฏจักรของนาฬิกาชีวิตขึ้น

ความผิดปกติของนาฬิการ่างกาย

วิวเมืองตอนกลางคืน

     เมื่อไม่สามารถปรับความคลาดเคลื่อนระหว่างวัฏจักรนาฬิการ่างกายและเวลาปกติของโลกที่มี 24 ชั่วโมงให้เหมาะสมได้ จังหวะการนอนหลับ และตื่นนอนจะหยุดชะงัก หากคุณสามารถปรับการใช้ชีวิตให้เป็นไปตามวัฏจักรทั้งกลางวันและกลางคืน คุณจะสามารถแก้ไขความคลาดเคลื่อนของเวลาได้อย่างง่ายดาย แต่ในปัจจุบันนี้ โลกของเรามีร้านสะดวกซื้อและสถานที่ต่าง ๆ ที่เปิดตลอด 24 ชั่วโมง และเราใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ภายใต้แสงไฟในตอนกลางคืน ทำให้เป็นปัญหาที่ยากต่อการแก้ไข หากคุณยังคงแก้ไขส่วนคลาดเคลื่อนนี้ไม่ได้ คุณจะไม่สามารถหลับและตื่นในเวลาที่ต้องการได้

ผู้หญิงนั่งข้างเตียงเหมือนนอนไม่หลับ

     นอกจากนี้ ถึงแม้จะบังคับตัวเองให้ตื่นนอนตามเวลาปกติแล้ว คุณอาจจะยังประสบกับปัญหาทางร่างกาย เช่น ง่วงนอน ปวดหัว ไม่สบายตัว และเบื่ออาหาร
     เนื่องจากความคลาดเคลื่อนระหว่างเวลาในร่างกายกับเวลาปกติของโลก ซึ่งภาวะนอนไม่เป็นเวลา (Circadian Rhythm Sleep Disorder) เป็นความผิดปกติของการนอนหลับที่เกิดจากการที่นาฬิการ่างกายไม่สามารถซิงโครไนซ์กับเวลาปกติที่นับเป็น 24 ชั่วโมงได้อย่างเหมาะสม

     ความผิดปกติของการนอนหลับตามจังหวะชีวิตอย่างหนึ่งที่หลายคนอาจเคยเป็น คือ อาการเจ็ทแล็กหากคุณย้ายจากภูมิภาคหนึ่งไปยังอีกภูมิภาคหนึ่งอย่างรวดเร็ว และเดินทางไปยังสถานที่ที่โซนเวลาแตกต่างกัน จากกลางวันเป็นกลางคืน  คุณจะต้องนอนในเวลากลางวันของนาฬิกาชีวิต และตื่นขึ้นในเวลากลางคืนตามนาฬิกาชีวิตของคุณ ซึ่งอาจ ทำให้ง่วงนอนและปวดหัว ความผิดปกติทางกายภาพ เช่นความเหนื่อยล้า และเบื่ออาหารจะปรากฏขึ้น

ภาวะผิดปกติของการนอนไม่เป็นเวลา (Disorders of the sleep-wake cycle)

ผู้หญิงกำลังนอนในตอนกลางวัน

     ภาวะผิดปกติของการนอนไม่เป็นเวลา แบ่งออกเป็นสองประเภทกว้าง ๆ อย่างแรกคือ เมื่อต้องเปลี่ยนนาฬิกาชีวิตในช่วงเวลาสั้น ๆ ด้วยเหตุผลทางสังคม อย่างอาการเจ็ทแล็ก (Jet Lag) และการทำงานเป็นกะ เป็นความผิดปกติของการนอนหลับที่ได้พูดถึงก่อนหน้านี้

    และอีกอย่างหนึ่งคือ ความผิดปกติของการนอนหลับตามจังหวะชีวิตภายใน (endogenous circadian rhythm sleep disorder) ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อนาฬิการ่างกายมีปัญหาในการซิงโครไนซ์กับเวลาปกติของโลก นั้นรวมถึงกลุ่มอาการระยะการนอนดึก ซึ่งรูปแบบการนอนหลับถูกเปลี่ยน เช่น ไม่สามารถนอนหลับได้จนกว่าจะดึกมาก ๆ และไม่สามารถตื่นจนกว่าจะถึงเที่ยงวัน 

     ในทางกลับกัน กลุ่มอาการเข้านอนเร็ว ที่คุณจะเข้านอนเร็วและจะตื่นตั้งแต่เช้าตรู่ และกลุ่มอาการไม่หลับไม่นอน 24 ชั่วโมง จะมีอาการหลับและตื่นช้ากว่าปกติประมาณ 30 นาที ถึง 60 นาที ซึ่งรูปแบบการนอนแบบไม่สม่ำเสมอนี้จะทำให้รูปแบบการนอนและตื่นแบบปกติหายไป

แผนผังของกำหนดการนอนและตื่นนอน
สำหรับความผิดปกติของการนอนหลับตามจังหวะชีวิตภายในร่างกาย

บทสรุป

เวลานอนหลับกับร่างกายของเรานั้น มีความสัมพันธ์กันในหลาย ๆ ด้าน ซึ่งหากเราเลือกเวลานอนที่ถูกต้อง ร่างกายก็จะฟื้นฟูตัวเองได้ดี สุขภาพดี แข็งแรง และหากเรานอนในเวลาที่เหมาะสม ยังช่วยให้การใช้ชีวิตประจำวันของเราเป็นไปอย่างสดชื่น และราบลื่น มีความสุขในทุก ๆ วัน

เราหวังว่าบทความนี้จะช่วยให้ทุกท่านที่อ่าน สามารถเลือกเวลานอนที่เหมาะสม หรือใครที่กำลังมีพฤติกรรมที่นอนไม่เป็นเวลาอ่านบทความนี้แล้วรีบปรับเวลานอนเพื่อให้ร่างกายมีสุขภาพดี และแข็งแรงมากยิ่งขึ้นนะคะ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *