การนอนหลับ

นอนไม่เป็นเวลา! อาจส่งผลต่อสุขภาพร่างกายมากกว่าที่คิด!

ผู้หญิงตื่นขึ้นมาจากที่นอน

     ความผิดปกติของจังหวะการนอนและตื่นนอน วัฏจักรของนาฬิกาในร่างกายของมนุษย์นั้นมีประมาณ 25 ชั่วโมง ซึ่งมากกว่าเวลาในชีวิตเราที่มีเวลาอยู่ประมาณ 24 ชั่วโมง (มากกว่ากัน 1 ชั่วโมง)

     ความผิดปกติของการนอนหลับที่เกิดจากการรบกวนในจังหวะการนอนและตื่นนอน มาจากการนอนที่ไม่เป็นเวลา มีความคลาดเคลื่อนไปจากเวลาปกติ เรียกว่า ความผิดปกติของนาฬิกาชีวภาพ (circadian rhythm sleep disorder) มีทั้ง อาการเจ็ทแล็ก (Jet Lag) ความผิดปกติของการนอนจากการทำงานเป็นกะ การนอนดึกตื่นสาย การนอนเร็วตื่นเช้า  ไม่หลับไม่นอน 24 ชั่วโมง และเวลาการนอนไม่สม่ำเสมอ เหล่านี้เป็นความผิดปกติของจังหวะการนอนทั้งสิ้น 

แนะนำผู้เขียน

Hiromi-Kurihara

Hiromi Kurihara
Senior sleep health instructor

อาจารย์อาวุโสด้านสุขภาพและการนอนหลับ จบจากสถาบัน Japan Sleep Education System ประเทศญี่ปุ่น โดยมีแนวคิดที่ว่า “การนอนหลับเป็นจุดเริ่มต้นของชีวิต” ปัจจุบันดำรงตำแหน่งกรรมการบริหาร Kenko Shop มุ่งเน้นให้คนไทยตระหนักถึงความสำคัญของการนอนและค้นหาเครื่องนอนสุขภาพจากญี่ปุ่นส่งถึงมือชาวไทย

ยาวไป อยากเลือกอ่าน

จังหวะการตื่นและการนอนของมนุษย์

ภาพในถ้ำ

     แม้จะอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่มีผู้คนอาศัยอยู่ เช่น ในถ้ำ ที่ทำให้ไม่รู้เวลาด้านนอก แต่มนุษย์สามารถนอนหลับและตื่นตัว ในจังหวะเกือบปกติประมาณหนึ่งวัน ซึ่งชัดเจนว่า จังหวะการนอน และตื่นนอนของมนุษย์ ถูกควบคุมโดยนาฬิกาชีวิตในสมอง 

     นอกจากจังหวะการนอนหลับ และการตื่นแล้ว “ระบบประสาทอัตโนมัติ” “ระบบฮอร์โมนต่อมไร้ท่อ” และ “ภูมิคุ้มกันและระบบเผาผลาญ” เช่น อุณหภูมิของร่างกายจะถูกปรับให้เข้ากับจังหวะในแต่ละวันด้วยนาฬิการ่างกาย เรียกว่า นาฬิกาชีวิต (circadian rhythm) 

ช่วงเวลของนาฬิกาชีวิต

    หากคุณใช้ชีวิตอย่างอิสระโดยไม่คำนึงถึงเวลาในสภาพแวดล้อมแล้วหล่ะก็ เวลาเข้านอนและตื่นนอนก็จะมีความล่าช้าไปประมาณ 1 ชั่วโมงในแต่ละวัน อย่างไรก็ตาม เวลาปกติของเวลาของโลกเรานั้น คือ 24 ชั่วโมง ซึ่งมีความแตกต่างจากนาฬิกาชีวิตประมาณ 1 ชั่วโมง

    ในชีวิตประจำวันของเรา เมื่อเราได้รับสิ่งเร้าต่าง ๆ นาฬิการ่างกายของเราจะประสานรวมกับวัฏจักรของโลกภายนอก และแก้ไขความคลาดเคลื่อนประมาณ 1 ชั่วโมง สิ่งเร้านี้เรียกว่าปัจจัย ซิงโครไนซ์ และเป็นที่ทราบกันดีว่าปัจจัยการซิงโครไนซ์ที่มีผลมากที่สุด คือ แสง

     นอกจากนี้ ปัจจัยทางสังคม เช่น อาหาร การออกกำลังกาย การทำงาน และการเรียน ก็ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยในมนุษย์ แสงในตอนเช้าทำให้นาฬิกาชีวภาพเร็วขึ้น และแสงในตอนเย็นทำให้นาฬิกาช้าลง ดังนั้นการสัมผัสกับแสงในตอนเช้า กินข้าว ไปโรงเรียนหรือไปทำงาน เหล่านี้เป็นการเร่งวัฏจักรของนาฬิกาชีวิตขึ้น

ความผิดปกติของนาฬิการ่างกาย

วิวเมืองตอนกลางคืน

     เมื่อไม่สามารถปรับความคลาดเคลื่อนระหว่างวัฏจักรนาฬิการ่างกายและเวลาปกติของโลกที่มี 24 ชั่วโมงให้เหมาะสมได้ จังหวะการนอนหลับ และตื่นนอนจะหยุดชะงัก หากคุณสามารถปรับการใช้ชีวิตให้เป็นไปตามวัฏจักรทั้งกลางวันและกลางคืน คุณจะสามารถแก้ไขความคลาดเคลื่อนของเวลาได้อย่างง่ายดาย แต่ในปัจจุบันนี้ โลกของเรามีร้านสะดวกซื้อและสถานที่ต่าง ๆ ที่เปิดตลอด 24 ชั่วโมง และเราใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ภายใต้แสงไฟในตอนกลางคืน ทำให้เป็นปัญหาที่ยากต่อการแก้ไข หากคุณยังคงแก้ไขส่วนคลาดเคลื่อนนี้ไม่ได้ คุณจะไม่สามารถหลับและตื่นในเวลาที่ต้องการได้

ผู้หญิงนั่งข้างเตียงเหมือนนอนไม่หลับ

     นอกจากนี้ ถึงแม้จะบังคับตัวเองให้ตื่นนอนตามเวลาปกติแล้ว คุณอาจจะยังประสบกับปัญหาทางร่างกาย เช่น ง่วงนอน ปวดหัว ไม่สบายตัว และเบื่ออาหาร
     เนื่องจากความคลาดเคลื่อนระหว่างเวลาในร่างกายกับเวลาปกติของโลก ซึ่งภาวะนอนไม่เป็นเวลา (Circadian Rhythm Sleep Disorder) เป็นความผิดปกติของการนอนหลับที่เกิดจากการที่นาฬิการ่างกายไม่สามารถซิงโครไนซ์กับเวลาปกติที่นับเป็น 24 ชั่วโมงได้อย่างเหมาะสม

     ความผิดปกติของการนอนหลับตามจังหวะชีวิตอย่างหนึ่งที่หลายคนอาจเคยเป็น คือ อาการเจ็ทแล็กหากคุณย้ายจากภูมิภาคหนึ่งไปยังอีกภูมิภาคหนึ่งอย่างรวดเร็ว และเดินทางไปยังสถานที่ที่โซนเวลาแตกต่างกัน จากกลางวันเป็นกลางคืน  คุณจะต้องนอนในเวลากลางวันของนาฬิกาชีวิต และตื่นขึ้นในเวลากลางคืนตามนาฬิกาชีวิตของคุณ ซึ่งอาจ ทำให้ง่วงนอนและปวดหัว ความผิดปกติทางกายภาพ เช่นความเหนื่อยล้า และเบื่ออาหารจะปรากฏขึ้น

ภาวะผิดปกติของการนอนไม่เป็นเวลา (Disorders of the sleep-wake cycle)

ผู้หญิงกำลังนอนในตอนกลางวัน

     ภาวะผิดปกติของการนอนไม่เป็นเวลา แบ่งออกเป็นสองประเภทกว้าง ๆ อย่างแรกคือ เมื่อต้องเปลี่ยนนาฬิกาชีวิตในช่วงเวลาสั้น ๆ ด้วยเหตุผลทางสังคม อย่างอาการเจ็ทแล็ก (Jet Lag) และการทำงานเป็นกะ เป็นความผิดปกติของการนอนหลับที่ได้พูดถึงก่อนหน้านี้

    และอีกอย่างหนึ่งคือ ความผิดปกติของการนอนหลับตามจังหวะชีวิตภายใน (endogenous circadian rhythm sleep disorder) ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อนาฬิการ่างกายมีปัญหาในการซิงโครไนซ์กับเวลาปกติของโลก นั้นรวมถึงกลุ่มอาการระยะการนอนดึก ซึ่งรูปแบบการนอนหลับถูกเปลี่ยน เช่น ไม่สามารถนอนหลับได้จนกว่าจะดึกมาก ๆ และไม่สามารถตื่นจนกว่าจะถึงเที่ยงวัน 

     ในทางกลับกัน กลุ่มอาการเข้านอนเร็ว ที่คุณจะเข้านอนเร็วและจะตื่นตั้งแต่เช้าตรู่ และกลุ่มอาการไม่หลับไม่นอน 24 ชั่วโมง จะมีอาการหลับและตื่นช้ากว่าปกติประมาณ 30 นาที ถึง 60 นาที ซึ่งรูปแบบการนอนแบบไม่สม่ำเสมอนี้จะทำให้รูปแบบการนอนและตื่นแบบปกติหายไป

แผนผังของกำหนดการนอนและตื่นนอน
สำหรับความผิดปกติของการนอนหลับตามจังหวะชีวิตภายในร่างกาย

เวลานอนหลับ

บทสรุป

เวลานอนหลับกับร่างกายของเรานั้น มีความสัมพันธ์กันในหลาย ๆ ด้าน ซึ่งหากเราเลือกเวลานอนที่ถูกต้อง ร่างกายก็จะฟื้นฟูตัวเองได้ดี สุขภาพดี แข็งแรง และหากเรานอนในเวลาที่เหมาะสม ยังช่วยให้การใช้ชีวิตประจำวันของเราเป็นไปอย่างสดชื่น และราบลื่น มีความสุขในทุก ๆ วัน

เราหวังว่าบทความนี้จะช่วยให้ทุกท่านที่อ่าน สามารถเลือกเวลานอนที่เหมาะสม หรือใครที่กำลังมีพฤติกรรมที่นอนไม่เป็นเวลาอ่านบทความนี้แล้วรีบปรับเวลานอนเพื่อให้ร่างกายมีสุขภาพดี และแข็งแรงมากยิ่งขึ้นนะคะ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *