นอนไม่หลับ สมองคิดตลอดเวลา ฟังเลยตอนนี้ ! 5 เสียงดนตรีที่จะช่วยให้คุณผ่อนคลาย นอนหลับได้ง่ายขึ้น
ทุกครั้งที่หลับตานอนก็มักจะ นอนไม่หลับ สมองคิดตลอดเวลา ทั้งเรื่องงาน เรื่องครอบครัว หรือแม้กระทั่งเรื่องไม่เป็นเรื่อง จากความเครียดหรือเรื่องราวที่ประสบพบเจอมาตลอดทั้งวัน วันนี้เรามีวิธีการกำจัดปัญหาดังกล่าวด้วยดนตรีบำบัด พร้อมนำ 5 เสียงดนตรีเพื่อการนอนหลับมาฝากให้ทุกท่านลองฟังกันด้วยค่ะ
แนะนำผู้เขียน
Hiromi Kurihara
Senior sleep health instructor
อาจารย์อาวุโสด้านสุขภาพและการนอนหลับ จบจากสถาบัน Japan Sleep Education System ประเทศญี่ปุ่น โดยมีแนวคิดที่ว่า “การนอนหลับเป็นจุดเริ่มต้นของชีวิต” ปัจจุบันดำรงตำแหน่งกรรมการบริหาร Kenko Shop มุ่งเน้นให้คนไทยตระหนักถึงความสำคัญของการนอนและค้นหาเครื่องนอนสุขภาพจากญี่ปุ่นส่งถึงมือชาวไทย
ยาวไป อยากเลือกอ่าน
การฟังเพลงหรือดนตรี ช่วยทำให้นอนหลับสบายได้จริงหรอ?
คิดว่าหลายๆ คนที่มีปัญหานอนไม่หลับ คงเคยได้ยินเรื่องราวที่ว่า “การฟังเพลงหรือดนตรีทำให้นอนหลับง่ายขึ้น” อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกเพลงที่จะทำให้นอนหลับสบาย เคล็ดลับการนอนหลับสบายคือการใช้ดนตรีภายใต้กฎเกณฑ์เหตุผลบางประการ เพราะฉะนั้นในครั้งนี้ อยากจะขอแนะนำเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างการนอนหลับและการฟังเพลงหรือดนตรีให้กับทุกคนกันค่ะ
การฟังเพลงหรือดนตรีส่งผลต่อคุณภาพการนอนหลับอย่างไร
ก่อนอื่นจะอธิบายประเด็นข้อสงสัยที่ว่า “การฟังเพลงหรือดนตรี” นั้น ส่งผลต่อคุณภาพการนอนหลับอย่างไร?
ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้คนเรานอนไม่หลับในตอนกลางคืนก็เป็นเพราะว่า ร่างกายของเราไม่ได้อยู่ในสภาวะที่ผ่อนคลาย ถึงแม้สมองจะสั่งการให้คิดว่า “ฉันต้องนอน!” สักแค่ไหน แต่ในกรณีที่ร่างกายของคุณอยู่ในสภาวะตึงเครียด คุณไม่มีทางที่จะนอนหลับสนิทได้ หรือบางคนก็อาจนอนไม่หลับ สมองคิดตลอดเวลา ด้วยเหตุผลนี้ดนตรีจึงเป็นตัวช่วยที่เป็นประโยชน์อย่างมาก
หากคุณสามารถทำจิตใจให้สงบและผ่อนคลายร่างกายด้วยการฟังดนตรีได้นั้น คุณก็จะสามารถนอนหลับได้เร็วขึ้นและหลับสนิทได้ตลอดคืน
การฟังดนตรีอาจไม่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับโดยตรง แต่อาจกล่าวได้ว่ามีประสิทธิภาพ จากมุมมองที่สามารถช่วยให้นอนหลับได้ง่ายขึ้น แต่ก็ไม่ใช่เสมอไปที่การฟังดนตรีจะช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย ดังนั้นควรระวังตรงจุดนี้ด้วย
การเลือกดนตรีที่เหมาะกับการนอนหลับนั้นถือว่าสำคัญเลยทีเดียว
ดนตรีที่เหมาะกับช่วงเวลาแห่งการนอนหลับ มีแนะนำแบบไหนบ้าง
จากประเด็นแรกที่อธิบายว่าการฟังดนตรีในช่วงที่นอนหลับส่งผลดีจริงหรือไม่ไปแล้ว ถัดไปจะเป็นการแนะนำดนตรีที่เหมาะกับช่วงเวลาแห่งการนอนหลับกันค่ะ
ดนตรีที่ไม่มีเนื้อร้อง
อันดับ 1 ของดนตรีที่จะแนะนำให้ฟังช่วงเวลานอนหลับคือดนตรีที่ไม่มีเนื้อร้อง
ดนตรีที่มีเนื้อร้องนั้น เรียกอีกอย่างคือ “ดนตรีที่มีการใส่คำที่มีความหมาย” เมื่อหูของคุณได้ยินคำเหล่านั้น สมองจะทำงานโดยธรรมชาติเพื่อจับประเด็นและคิดเกี่ยวกับความหมายของคำ แม้ว่าคุณจะฟังดนตรีเพื่อนอนหลับ แต่คุณก็จะตกอยู่ในสถานการณ์ที่นอนไม่หลับซะเอง
ดนตรีที่มีเนื้อร้องมีประโยชน์ในการกระตุ้นอารมณ์ความรู้สึกและบรรเทาความเครียด แต่ไม่แนะนำให้ฟังในตอนนอนหลับ ให้เลือกเป็นดนตรีที่ไม่มีเนื้อร้องแทน
วิดิโอคลิปเสียง ดนตรีคลื่นเดลต้า ที่มีการเล่นไปกว่า 185 ล้านครั้ง (ข้อมูลวันที่ 19/7/2024)
วิดิโอคลิปเสียง น้ำและเปียโนบำบัด ที่มีการเล่นไปกว่า 93 ล้านครั้ง (ข้อมูลวันที่ 19/7/2024)
ดนตรีเสียงธรรมชาติ
เสียงที่ชวนให้นึกถึงธรรมชาติ เช่น เสียงการไหลของน้ำจากลำธาร เสียงนกตัวเล็กๆ ร้องหรืออาจจะเป็นเสียงการเผาไหม้ของกองไฟ เป็นต้น จะช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายอย่างมาก ดังนั้นควรฟังเสียงดนตรีเหล่านี้เพื่อเสริมประสิทธิภาพที่ดีในขณะนอนหลับ
เสียงของธรรมชาติ จะเป็นจังหวะคลื่นเสียงที่ไม่เป็นระบบ จังหวะนี้เรียกว่า “ความผันผวน1/f” โดยการฟังเสียงที่ความผันผวน 1/f นี้ สมองจะเกิดคลื่นอัลฟา โดยจะทำให้เกิดความรู้สึกสงบและทำให้นอนหลับสบายนั่นเอง
- γ wave (คลื่นแกมมา): คลื่นสมองที่ปรากฏขึ้นเมื่อตื่นเต้น หรือเมื่อหงุดหงิด
- β wave (คลื่นเบต้า): คลื่นสมองที่ปรากฏขึ้นระหว่างตื่นปกติ
- α wave (คลื่นอัลฟ่า): คลื่นสมองที่ปรากฏขึ้นเมื่อรู้สึกผ่อนคลาย
- θ wave (คลื่นทีต้า) : คลื่นสมองที่ปรากฏขึ้นระหว่างการนอนหลับตื้น (สถานะการนอนหลับระยะที่ 1)
- δ wave (คลื่นเดลต้า): คลื่นสมองที่ปรากฏขึ้นระหว่างการนอนหลับลึก (การนอนหลับระยะที่ 3 และ 4)
เมื่อเร็วๆ นี้ แม้แต่ในเว็บไซต์วิดีโอ เช่น Youtube คุณมักจะเห็นวิดีโอที่มีเพียงเสียงการไหลของน้ำ ที่ไหลไม่รู้จบหรือเสียงกองไฟที่กำลังลุกไหม้ เสียงธรรมชาติเหล่านี้เป็นเสียงดนตรีที่หาฟังได้ง่าย ทำให้นอนหลับสบายได้อย่างไม่คาดฝัน ดังนั้นขอแนะนำเป็นอย่างยิ่งเลยค่ะ
วิดิโอคลิปเสียง ป่า ที่มีการเล่นไปกว่า 47 ล้านครั้ง (ข้อมูลวันที่ 17/7/2024)
วิดิโอคลิปเสียง คลื่น ที่มีการเล่นไปกว่า 22 ล้านครั้ง (ข้อมูลวันที่ 17/7/2024)
ดนตรีที่มีคลื่นความถี่สูง
นอกจากนี้ขอแนะนำดนตรีที่มีคลื่นความถี่สูงซึ่งเป็นดนตรีที่ช่วยให้นอนหลับได้เช่นกัน
ดนตรีที่มีคลื่นความถี่สูงตั้งแต่ 4,000 Hz ขึ้นไป มีผลทำให้สมองมีแนวโน้มที่จะสร้างคลื่นอัลฟามากขึ้น ซึ่งช่วยให้นอนหลับได้ง่ายขึ้นนั่นเอง
บทเพลงของโมทซาร์ทมีชื่อเสียงเป็นอย่างมากในฐานะดนตรีที่มีคลื่นความถี่สูง โดยบทเพลงของโมทซาร์ทมีความถี่สูงประมาณ 3,500-4,000 Hz ดังนั้นจึงมีผลพิสูจน์แล้วว่าถูกใช้เป็นส่วนหนึ่งของดนตรีบำบัด
ดนตรีคลาสสิกยังมีเพลงจังหวะช้าและสงบหลายเพลง จึงเป็นข้อดีที่เหมาะแก่การพักผ่อน นอกจากนี้ในปัจจุบันยังมีการจำหน่ายซีดีที่รวมเฉพาะดนตรีคลาสสิกที่เป็นที่นิยม และมีการอัปโหลดวิดีโอดนตรีบำบัดที่มีคลื่นความถี่สูง 4,000 Hz หรือสูงกว่าบนเว็บไซต์วิดีโอ เช่น YouTube ดังนั้นจึงเป็นความคิดที่ดีในการเลือกใช้เครื่องมือเหล่านี้ ให้เกิดประโยชน์
วิดิโอคลิปเสียง โมซาร์ทเพื่อการนอนหลับ ที่มีการเล่นไปกว่า 2.6 ล้านครั้ง (ข้อมูลวันที่ 17/7/2024)
ดนตรีที่ทำให้คุณย้อนนึกถึงอดีตสมัยเก่า
การฟังเพลงย้อนอดีตสมัยเก่าที่ตัวเองเคยชอบก็มีประสิทธิภาพเช่นกัน ขึ้นอยู่กับว่าคุณใช้เพลงเหล่านั้นอย่างไร เพราะเป็นการยากที่จะเข้านอนเมื่อร่างกายของคุณอยู่ในสภาวะตึงเครียด และสาเหตุที่ทำให้เกิดสภาวะตึงเครียดคือการที่คุณเครียดนั่นเอง
การฟังเพลงย้อนอดีตสมัยเก่า เป็นวิธีหนึ่งที่มีผลในการบรรเทาความเครียด โดยอันดับแรกควรฟังเพลงที่ชวนให้คิดถึงอดีตก่อนเพื่อคลายเครียด ลองนึกถึงคุณตาคุณยายที่ฟังเพลงสุนทราภรณ์อย่างมีความสุขดู แต่หากคุณยังไม่มีอดีตยาวนานขนาดนั้น อาจเริ่มจากเพลงช้าๆ ที่ทำให้คุณนึกถึงวันที่สดใสแทนก็ได้ หลังจากนั้นจึงค่อยฟังเพลงที่มีคลื่นความถี่สูงหรือเสียงธรรมชาติให้หลับไป
นอกจากนี้ การฟังเพลงที่ชวนให้นึกถึงอดีตยังถูกนำมาใช้ในด้านการแพทย์ เนื่องจากช่วยบำรุงรักษาสุขภาพของสมอง เช่น การป้องกันภาวะสมองเสื่อม เป็นต้น
การสร้างนิสัยการฟังเพลงที่ชวนให้นึกถึงอดีตเป็นประจำอาจจะเป็นประโยชน์ที่ดีสำหรับการผ่อนคลายความเครียดของคุณ
ดนตรีแบบใดบ้างที่อาจจะส่งผลให้คุณนอนไม่หลับ
ในช่วงต้นได้แนะนำคุณสมบัติของดนตรีที่สามารถใช้ในการกระตุ้นการนอนหลับไปแล้ว แต่ยังมีดนตรีที่รบกวนการนอนหลับด้วยเช่นกัน ถัดไปจะแนะนำเกี่ยวกับประเด็นนี้
ดนตรีที่มีเนื้อร้อง
ดังที่กล่าวในช่วงต้นถึงดนตรีที่มีเนื้อร้องว่าไม่เหมาะกับการนอนเพราะส่งผลให้สมองทำงาน แต่ในกรณีของเพลงย้อนอดีตสมัยเก่า บางครั้งอาจเป็นเพลงที่มีเนื้อเพลงมาด้วย ดังนั้นให้ฟังเพลงย้อนอดีตสมัยเก่าเพื่อคลายเครียด และจากนั้นให้ฟังเพลงที่ไม่มีเนื้อร้องหรือเสียงที่เป็นธรรมชาติตามเพื่อการนอนหลับ
ดนตรีที่มีจังหวะเร็ว
คุณจำเป็นต้องทำจิตใจให้สงบและผ่อนคลายเพื่อที่จะช่วยกระตุ้นให้นอนหลับได้ ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าดนตรีที่มีท่วงทำนองที่เร็ว ไม่เหมาะ เพราะอาจทำให้อารมณ์ดีขึ้นได้ บางคนอาจชอบเพลงที่มีจังหวะเร็ว แต่เมื่อถึงเวลานอนหลับพยายามไม่ฟังจะดีกว่า
ข้อควรระวังในการฟังดนตรีขณะนอนหลับ
คุณสามารถนอนหลับได้อย่างสบายโดยการเลือกดนตรีให้เหมาะสม แต่ในช่วงเวลานั้นก็มีบางจุดที่คุณควรระวังไว้ด้วยเช่นกัน จากนี้ไปจะแนะนำเกี่ยวกับประเด็นสำคัญขณะที่นอนหลับและฟังดนตรีไปด้วย
ไม่เปิดฟังดนตรีตลอดระยะเวลาการนอน
จุดหนึ่งที่ควรระวังในช่วงขณะที่นอนหลับและฟังดนตรีไปด้วย คือการที่คุณเล่นเพลงอยู่ตลอดเวลา หากคุณเผลอหลับไปขณะเล่นเพลง ในกรณีแบบนี้ดนตรีอาจกระตุ้นให้คุณตื่นขึ้นระหว่างการนอนหลับ หากคุณทำเช่นนั้น คุณจะจบลงด้วยการนอนหลับแบบกึ่งหลับกึ่งตื่นและคุณจะไม่สามารถพักผ่อนได้อย่างเพียงพอ
จากการทดสอบพบว่า จำนวน 31% ของนักศึกษามีการฟังดนตรีก่อนนอน อย่างไรก็ตาม
จากการสำรวจผลกระทบของดนตรีต่อการนอนหลับรายงานว่าดนตรีมีส่วนขัดขวางการนอนหลับ
ดนตรีส่งผลให้รู้สึกตัว หากคุณฟังดนตรีที่่ทำให้สงบในขณะที่ระดับความตื่นตัวของคุณสูง จะส่งผลให้ระดับความตื่นตัวของคุณลดลงและคุณจะรู้สึกสงบ แต่ในทางกลับกันหากคุณฟังดนตรีในขณะที่ระดับการตื่นอยู่ในระดับต่ำ เช่น เมื่อคุณง่วงมาก ระดับความตื่นตัวจะเพิ่มขึ้นและจะทำให้คุณตื่น
(ที่มา: ทางการแพทย์ ● การพยาบาล ● หนังสือคู่มือปรับการนอนหลับ, ผู้เขียน; คุณ Souichiro Miyazaki และคุณ Naotake Satou)
ดนตรีเป็นเพียงการสนับสนุนที่จะช่วยให้คุณนอนหลับ และคุณไม่จำเป็นต้องใช้หลังจากหลับไปแล้ว ดังนั้นให้ใช้ฟังก์ชัน Sleep และตั้งค่าให้เพลงปิดโดยอัตโนมัติหลังจากผ่านไประยะหนึ่ง
ระวังการใช้หูฟังแบบ Earphones และ headphones
ควรที่จะระมัดระวังในเรื่องของการใช้หูฟังทั้งแบบ Earphones และ headphones ขณะฟังเพลง
หากคุณฟังเพลงเสียงดังเป็นเวลานานโดยใช้หูฟัง คุณอาจพบอาการต่างๆ เช่น หูหนวกจากการใช้หูฟังแบบ Earphones และ headphones อาการหูหนวกนี้ค่อนข้างเป็นอันตราย อาจมีอาการเล็กน้อยในเริ่มแรกและค่อยๆ แย่ลงเรื่อยๆ หากยังใส่หูฟังนอนเป็นระยะเวลานานติดต่อกัน
ดังนั้นเมื่อใช้หูฟังแบบ Earphones และ headphones ให้พยายามรักษาระดับเสียงให้ต่ำที่สุด
นอกจากนี้การสวมหูฟังแบบ headphones มีข้อเสียอีกประการหนึ่งคือการใส่หูฟังทำให้พลิกตัวได้ยากเวลานอน หากเป็นไปได้ ไม่ควรสวมหูฟังนอน หรือหากจำเป็นจริงๆ ให้ใช้ระดับเสียงต่ำที่สุด แค่เป็นเสียงคลอเบาๆก็พอค่ะ
บทสรุป
บทความนี้อยากแนะนำเรื่องเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของการนอนหลับและการฟังดนตรีให้ทุกคนได้ทราบกันค่ะ
ไม่ใช่ทุกดนตรีที่จะให้ผลลัพธ์ที่ดีเสมอไป แต่ดนตรีที่ไม่มีเนื้อร้อง เสียงของธรรมชาติและดนตรีที่มีคลื่นความถี่สูงสามารถช่วยผ่อนคลายจิตใจและช่วยให้คุณหลับได้อย่างราบรื่น หากคุณมีปัญหาในการนอนหลับ ลองฟังดนตรีดูสักครั้งนะคะ ในทางกลับกัน ไม่แนะนำดนตรีที่มีเนื้อร้องหรือดนตรีที่จังหวะเร็วกระตุ้นสมอง
ให้จำไว้เสมอว่าดนตรีเป็นเครื่องมือที่สนับสนุนให้จิตใจสงบ เชื่อว่าอาการนอนไม่หลับ สมองคิดตลอดเวลา ที่คุณเป็นอยู่ก็จะค่อยๆดีขึ้นแน่นอนค่ะ