ไลฟ์สไตล์เพื่อการนอนหลับที่ดีมี 2 แบบ ดังนี้
อย่างแรก คือ บทบาทโดยตรง โดยมีพฤติกรรม เช่น การออกกำลังกาย การอาบน้ำ
อย่างที่สอง คือ บทบาทโดยอ้อม หากคุณปรับนาฬิกาชีวิตให้เป็น 24 ชั่วโมง อย่างสม่ำเสมอ จะทำให้คุณนอนหลับได้อย่างสบาย อีกทั้งกิจกรรมบางอย่าง เช่น การอาบแดด ก็ช่วยได้เช่นกัน
ด้วยพฤติกรรมเหล่านี้ก็ทำให้ได้รู้ว่า การทำกิจกรรมในช่วงเวลาต่าง ๆ นั้น ก็เป็นสิ่งสำคัญต่อการนอนหลับ
วันนี้เราจะมาบอก และช่วยปรับไลฟ์สไตล์เพื่อทำให้การนอนหลับของคุณดีมากยิ่งขึ้น
แนะนำผู้เขียน
Hiromi Kurihara
Senior sleep health instructor
อาจารย์อาวุโสด้านสุขภาพและการนอนหลับ จบจากสถาบัน Japan Sleep Education System ประเทศญี่ปุ่น โดยมีแนวคิดที่ว่า “การนอนหลับเป็นจุดเริ่มต้นของชีวิต” ปัจจุบันดำรงตำแหน่งกรรมการบริหาร Kenko Shop มุ่งเน้นให้คนไทยตระหนักถึงความสำคัญของการนอนและค้นหาเครื่องนอนสุขภาพจากญี่ปุ่นส่งถึงมือชาวไทย
ยาวไป อยากเลือกอ่าน
การนอนที่ดีเริ่มจากการใช้ชีวิตอย่างเป็นระบบ
ปัจจุบันมีการใช้ชีวิตไลฟ์สไตล์อย่างหลากหลายมากมาย การนอนก็เป็นไลฟ์สไตล์หนึ่งด้วยเช่นกัน และอย่าลืมไปว่าการนอนหลับให้สบายนั้น ก็มาจากพฤติกรรมการนอนอย่างเป็นระบบ
ไม่ว่าคุณจะออกกำลังกายเพื่อสุขภาพหรือ พยายามรับประทานอาหารที่สมดุลมากแค่ไหนก็ตามแต่หากเวลาที่คุณเข้านอนในแต่ละวันนั้นแตกต่างกันคุณก็จะนอนหลับไม่สนิท
” ทำไมการทำอะไรอย่างสม่ำเสมอจึงสำคัญ? “
ภายในร่างกายของเรานั้นมีนาฬิกาชีวิตอยู่ ไม่เพียงแต่จะกำหนดเวลาของการนอนหลับเท่านั้น แต่ยังควบคุมการหลั่งฮอร์โมนและสามารถสำรวจระบบการทำงานต่าง ๆ ภายในร่างกายได้ล่วงหน้าเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการนอนหลับ โดยการเตรียมพร้อมนั้นไม่สามารถควบคุมได้ด้วยตนเอง
การใช้ชีวิตอย่างเป็นระบบ โดยจัดระเบียบโปรแกรมของนาฬิกาชีวิตของตัวเอง เป็นเคล็ดลับการทำให้การนอนหลับราบรื่นได้
การออกกำลังกาย และพฤติกรรมการนอนเป็นสิ่งสำคัญ
จากการศึกษาทั้งในประเทศ และต่างประเทศ (การสำรวจแบบสอบถามหลายพันคน) แสดงให้เห็นว่าผู้ที่มีนิสัยออกกำลังกายนั้นจะมีอาการนอนไม่หลับที่น้อยลง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการออกกำลังกายเป็นประจำ จะส่งผลต่อการนอน การออกกำลังกายยังมีอิทธิพลต่อการนอนหลับ สิ่งสำคัญคือต้องออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพราะผลที่ได้จากการออกกำลังกายเพียงครั้งเดียวนั้นไม่ได้มีประโยชน์เท่าไหร่
การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอส่งผลให้คุณสามารถนอนหลับได้ดี และหลับได้ลึกขึ้น ดูเหมือนว่าการออกกำลังกายจะมีประสิทธิภาพโดยเฉพาะสำหรับผู้ที่มีแนวโน้มที่จะนอนไม่หลับ เช่น ผู้สูงอายุ แต่ในทางกลับกัน การออกกำลังกายที่ต้องใช้กำลังมากก็อาจจะทำให้นอนไม่หลับด้วยเช่นกัน
ดังนั้น จึงแนะนำให้ออกกำลังกายแบบแอโรบิกที่มีแรงกระแทกต่ำและต่อเนื่อง (เช่น เดินเร็วหรือวิ่งเบา ๆ ) จะดีที่สุด
การใส่ใจกับเวลาของการออกกำลังกายจะช่วยให้คุณนอนหลับได้ดีขึ้น ว่ากันว่าการออกกำลังกายในตอนเย็น และตอนกลางคืน (ประมาณ 3 ชั่วโมงก่อนนอน) จะได้ผลดี ประเด็น คือ คุณต้องเพิ่มอุณหภูมิของสมองชั่วคราวด้วยการออกกำลังกายสักสองสามชั่วโมงก่อนเข้านอน หลังจากนั้นเมื่อคุณกำลังเข้านอนอุณหภูมิจากการที่ออกกำลังกายจะลดลง และอุณหภูมิของสมองก็ลดลง จะส่งผลให้หลับได้ง่ายขึ้น
แต่อย่างไรก็ตาม คุณห้ามออกกำลังกายใกล้เวลานอนเกินไปเพราะจะทำให้ร่างกายตื่นตัว และจะนอนหลับได้ยาก
เวลาอาบน้ำ คือ สิ่งสำคัญ ที่เป็นอีกหนึ่งไลฟ์สไตล์ที่ช่วยให้การนอนหลับดีขึ้น
ผลของการอาบน้ำ คือ เราจะได้ผลของความร้อนซึ่งส่งผลต่อการนอน เช่นเดียวกับการออกกำลังกาย คือ เพื่อการเพิ่มอุณหภูมิร่างกายเพียงชั่วคราวก่อนเข้านอน แต่แน่นอนว่าเวลาก็มีความสำคัญเช่นกัน
การอาบน้ำในตอนเช้า หรือ ตอนบ่ายไม่ได้มีผลต่อการนอน แต่การอาบน้ำในตอนเย็น หรือ ตอนกลางคืนจะมีผลมากกว่า ว่ากันว่าการอาบน้ำก่อนนอนนั้นดีสำหรับการนอน
แต่ก็มีความกังวลอยู่ว่าจะทำให้การนอนหลับนั้นแย่ลงได้เหมือนกัน ฉะนั้นหากคุณให้ความสำคัญกับการนอนหลับ แนะนำให้อาบน้ำ 2-3 ชั่วโมงก่อนเข้านอน
มีรายงานมาว่า การเพิ่มอุณหภูมิร่างกายประมาณ 2 องศาโดยใช้น้ำร้อนจะมีผลอย่างมากในการนอนหลับสนิท แต่ไม่แนะนำ เพราะจะเป็นการเพิ่มภาระให้กับร่างกาย แม้ว่าอุณหภูมิร่างกายจะสูงขึ้นเพียงแค่ 0.5 องศาก็ตาม
ก็พบว่าส่งผลต่อการเข้านอน (แช่ในน้ำอุ่นอุณหภูมิ 38 องศา 25-30 นาที หรือ น้ำอุณหภูมิ 42 องศา 5 นาที )
นอกจากนี้ การอาบน้ำแบบครึ่งตัว (แช่ตัวในอ่างอาบน้ำในน้ำอุ่นประมาณ 40 องศา ประมาณ 30 นาที จนเหงื่อออก) นั้นก็มีผลช่วยในการนอน และเป็นเรื่องดีที่จะเลือกอ่างอาบน้ำที่เหมาะกับสภาพร่างกายและความชอบของคุณ
การปรับนาฬิกาชีวิตด้วยแสงแดด เพื่อให้การนอนหลับดีขึ้น
ประโยชน์ของแสง คือ ช่วยปรับนาฬิกาชีวิตให้เป็น 24 ชั่วโมง วงจรของนาฬิกาในร่างกายมนุษย์นั้นยาวนานกว่า 24 ชั่วโมง แต่หากคุณไม่คอยทำให้นาฬิกาชีวิตยาวขึ้นในทุก ๆ วัน มันจะทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของคุณนั้นค่อย ๆ ถอยหลังลง
แสงในตอนเช้ามีผลทำให้นาฬิกาถอยหลังเร็วขึ้น และแสงหลังจากตื่นนอนนั้นเป็นแสงที่มีประโยชน์มากที่สุด ดังนั้นสิ่งแรกที่ควรทำเมื่อตื่นนอนคือเปิดม่านและปล่อยให้แสงจากธรรมชาติเข้ามาในห้อง
สิ่งต้องห้าม คือ แสงในตอนกลางคืน เช่น แสงจากหลอดไฟ ซึ่งเป็นแสงตรงกันข้ามกับแสงในตอนเช้า และแสงในตอนกลางคืนนั้นจะมีพลังในการชะลอนาฬิกาชีวิต ยิ่งกลางคืนยาวนานขึ้น เช่น การทำงานตอนกลางคืน และอื่น ๆ จะทำให้เกิดอาการตื่นตัว และนอนไม่หลับ
แม้ว่าไฟในครัวเรือน (ความสว่าง 100-200 ลักซ์) การที่ได้รับแสงเป็นเวลานานจะทำให้นาฬิกาชีวิตเดินช้าลง
นอกจากนี้ เนื่องจากหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ขาวแบบเดย์ไลท์ที่มักใช้ในประเทศญี่ปุ่นมีผลทำให้นาฬิกาในร่างกายทำงานช้าลง ดังนั้นหลอดฟลูออเรสเซนต์สีส้มจึงเหมาะอย่างยิ่ง
มีโรคที่เรียกว่า “กลุ่มอาการระยะการนอนหลับช้า (โรคนอนหลับผิดเวลา)” เป็นโรคที่ทำให้นอนไม่หลับจนรุ่งเช้า และตื่นจนถึงเที่ยงวัน เมื่อคุณเป็นโรคนี้ คุณจะไม่สามารถรับแสงในตอนเช้าได้อย่างเพียงพอ อีกทั้งคุณจะได้รับแสงตอนกลางคืนเป็นจำนวนมาก
การรักษาวิธีหนึ่งเรียกว่าการส่องไฟด้วยแสงความเข้มสูง ซึ่งคุณจะได้รับแสงจากหลอดฟลูออเรสเซนต์เป็นเวลาหลายชั่วโมงในตอนเช้าเพื่อฟื้นฟูจังหวะชีวภาพของคุณ
แล้วแสงช่วงกลางวันจะเป็นอย่างไร?
ดูเหมือนว่าแสงในเวลากลางวัน จะช่วยปรับบาลานซ์ ร่างกายในเวลากลางคืนได้ ซึ่งการได้รับแสงจ้าเล็กน้อยในระหว่างวันจะสามารถช่วยเพิ่มเมลาโทนินในช่วงเวลากลางคืนได้ ซึ่งจะช่วยทำให้ร่างกายรู้สึกง่วง
(เมลาโทนิน คือ เป็นฮอร์โมนที่หลั่งออกมาช่วงกลางคืน สร้างมาจากสมอง โดยสมองจะถูกกระตุ้นให้สร้างเมลาโทนินในเวลาที่ไม่มีแสงหรือมีแสงสว่างน้อย เมื่อถึงเวลากลางคืนสมองจะหลั่งเมลาโทนินออกมาสู่กระแสเลือด ทำให้ร่างกายรู้สึกง่วง )
กิจกรรมอื่น ๆ กับการนอนหลับ
สำหรับมื้ออาหารแล้ว อาหารเช้าเป็นมื้อที่ง่าย ดังนั้นจึงควรเติมน้ำตาลให้กับสมอง การขาดแขลนพลังงาน และกิจกรรมที่ลดลงในระหว่างวัน อาจส่งผลต่อการนอนหลับในเวลากลางคืน แล้วก็พยายามงดรับประทานอาหารหรือของว่างใกล้กับเวลานอนให้ได้มากที่สุด
เนื่องจากกิจกรรมการย่อยอาหารจะเข้าไปขัดขวางการนอนหลับ ในการศึกษาเมื่อเร็ว ๆ มีการใช้หนูทดลอง โดยผลทดลองแสดงให้เห็นว่าถ้าคนยังคงกินอาหารตอนนอนเป็นเวลา 1 สัปดาห์ติดกันจะส่งผลให้ส่วนของนาฬิกา Peripheral ของเปลือกสมองและตับนั้นจะเปลี่ยนไป
อาหาร และเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน เช่น กาแฟ ชาเขียว และช็อคโกแลต มีสารกระตุ้นอยู่ในนั้น และคนแพ้ง่ายควรงด 5 – 6 ชั่วโมงก่อนนอน
การสูบบุหรี่ก่อนเข้านอนก็ไม่เป็นผลดีเช่นกัน เพราะในบุหรี่นั้นมีสารนิโคตินที่เป็นสารกระตุ้นเหมือนกัน อีกทั้งยังไม่แนะนำให้ใช้แอลกอฮอล์ซึ่งมักใช้แทนยานอนหลับ แอลกอฮอล์ทำให้หลับง่ายขึ้นก็จริงแต่จะรบกวนการนอนในตอนเช้า
การงีบหลับ 15 นาทีก็เพียงพอในการช่วยลดอาการง่วงในตอนบ่ายและเติมพลังได้ ในหมู่ผู้สูงอายุ การงีบหลับ 30 นาที สามารถลดอาการผลอยหลับได้และช่วยให้นอนหลับได้ดีในเวลากลางคืน
บทสรุป
สุดท้ายนี้ ทางเราทราบดีว่าโรคที่เกี่ยวกับการใช้ชีวิตนั้นทำให้เรานอนไม่หลับ เพื่อป้องกันโรคที่เกี่ยวกับการใช้ชีวิต และนอนหลับฝันดี สุดท้ายนี้เรามาสร้างวิธีการใช้ชีวิตที่ดีกันเถอะ
เรียงจากสีเทาเข้ม เทาอ่อน และสีส้ม
- เข้านอนตามเวลาทุกวัน
- ตื่นนอนตามเวลา และปล่อยให้แสงของตอนเช้า เข้ามารีเซ็ตนาฬิกาชีวิตของคุณ
- อาหารมื้อเช้าเพิ่มพลังสมอง
- กิจกรรมกลางวัน และแสงธรรมชาติทั้งกลางวัน และ กลางคืน
- การงีบหลับระยะสั้น ๆ ก็มีประโยชน์
- ไลฟ์สไตล์การออกกำลังกายเหมาะกับตอนเย็น
- ทางที่ดีควรอาบน้ำก่อนนอนสัก 2 – 3 ชั่วโมง
- หลีกเลี่ยงแสงไฟในเวลากลางคืน ใช้ไฟฟลูออเรสเซนต์ที่เป็นสีโทนอุ่น
- ก่อนนอนไม่ควรทานอาหาร ดื่มกาแฟหรือชา แอลกอฮอร์ และ ไม่ควรสูบบุหรี่ก่อนนอน
ขอบคุณข้อมูลแปลจาก : กระทรวงสาธารณสุข แรงงานและสวัสดิการ ประเทศญี่ปุ่น