กระดูกเชิงกราน

เปลี่ยนบุคลิกแก้ไขหลังแอ่นและหลังค่อม

ท่ายืนในลักษณะต่างๆ

แนะนำผู้เขียน

Dr-Kobayashi-หมอกระดูก-kenkoshop

ATSUSHI KOBAYASHI
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านกระดูกและการรักษาอาการหลังค่อม

ผู้เชี่ยวชาญด้านการแก้ไขหลังค่อม, ผู้เชี่ยวชาญด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพกีฬายูโด, อาจารย์ฝังเข็ม, อาจารย์นวดกดจุด ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการคลินิกอายุรกรรม/คลินิกนวดฝังเข็มและนวดกดจุดในเมืองมิยามาเอะ จังหวัดคาวาซากิ  ให้ความสำคัญกับ “การรักษาร่างกายของผู้ป่วยจากต้นตอของปัญหา”  เหนือสิ่งอื่นใด และมุ่งเน้นไปที่ “การแก้ไขอาการหลังค่อม”

เราปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ไม่มีวันไหนที่ไม่ได้จับคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือเลย จึงทำให้เกิดปัญหาต่างๆ จากอริยาบถที่ไม่ดีตามมา เช่น “หลังค่อม”

นอกจากปัญหารอบคอ สะโพก และหลังที่เกิดจากบุคลิกภาพที่ไม่ดี ในปัจจุบันมีคนจำนวนมากมีอาการไม่สบาย “หลัง” ด้วยเช่นกัน

หนึ่งในอาการไม่สบายหลังนั้นคือ “หลังแอ่น

 

เมื่อกระดูกเชิงกรานโน้มไปข้างหน้า ตามธรรมชาติจุดศูนย์ถ่วงก็จะเอียงไปข้างหน้าด้วยเช่นกัน

หลังจากนั้น ร่างกายของเราจะพยายามปรับบาลานซ์เพื่อการทรงตัว โดยการพยายามแอ่นหลัง

จึงเรียกว่า “หลังแอ่น” นั่นเอง

หากหลังแอ่น หน้าท้องจะยื่นออกมากลายเป็นที่มาของ “หน้าท้องยื่น

 

ในอีกด้านหนึ่ง หากกระดูกเชิงกรานโน้มไปข้างหลัง คราวนี้จุดศูนย์ถ่วงจะไปอยู่ที่ด้านหลังแทน

หลังจากนั้น หลังจะงอ ไหล่จะงุ้มเข้าข้างในทำให้ “ไหล่ห่อ” ได้ง่ายขึ้น

เมื่อกระดูกเชิงกรานเอียงไปข้างหลังก็จะทำให้ “หลังค่อม” ได้

ตอนนี้ อยากให้เช็คท่านั่งของตนเอง ตอนนั่งเก้าอี้ คุณกำลังนั่งเต็มเก้าอี้อยู่หรือเปล่า?

ถ้านั่งอยู่ในท่าที่หลังโค้งเป็นรูปตัว C ล่ะก็ต้องระวังเป็นพิเศษ

ถ้ากระดูกเชิงกรานเอียงไปข้างหล้ง จะทำให้หลังแบกรับน้ำหนักมาก

 

หากยังอยู่ในบุคลิกภาพที่ไม่ดีแบบที่กล่าวไปอย่าง “หลังแอ่น” หรือ “หลังค่อม” ต่อไปเรื่อยๆ หลังก็จะแบกรับน้ำหนักมากขึ้น

ส่งผลให้กลุ้มใจกับอาการไม่สบายหลังและปวดหลังเรื้อรัง

ถึงจะพยายามนวดเพื่อบรรเทาอาการปวด แต่ก็เป็นวิธีแก้ปัญหาชั่วคราวเท่านั้นเองใช่ไหมล่ะ?

ที่จริง เราได้แนะนำไปในบทความก่อนหน้านี้แล้ว แต่ไม่ว่าจะ “หลังแอ่น” หรือ “หลังค่อม” ก็ส่งผลกระทบต่อเราเป็นอย่างมาก

ดังนั้น ตราบใดที่เราไม่ปรับกระดูกเชิงกรานให้ถูกต้อง ก็เป็นเรื่องยากที่จะแก้ไขอาการปวดหลังที่เกิดจากหลังแอ่นหรือหลังค่อมได้

ในครั้งนี้เราจะมาพูดถึง

  • ลักษณะของ “หลังแอ่น” และ “หลังค่อม”
  • ทำไมจึงควรรักษา “หลังแอ่น” และ “หลังค่อม”
  • วิธีนั่งให้กระดูกเชิงกรานตรง
  • วิธียืดง่ายๆ ลดอาการตึงหลัง

หวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับคนที่กำลังกลุ้มใจกับบุคลิกภาพที่ไม่ดีเช่น การนั่งทำงานที่โต๊ะ และคนที่มีอาการปวดหลัง

ยาวไป อยากเลือกอ่าน

อธิบายลักษณะของ “หลังแอ่น” และ “หลังค่อม” อย่างละเอียด! มาเช็ครูปร่างของคุณกันเถอะ

คุณได้สังเกตรูปร่างของตนเองกันบ้างหรือเปล่า? ยากที่จะตัดสินเองสินะคะ ว่าตัวเองยังอยู่ในรูปร่างที่ปกติอยู่หรือเปล่า ส่วนใหญ่คิดว่าน่าจะอยู่ในท่าทางที่ตัวเองเคยชิน ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่า รูปร่างแบบเราเป็นประเภทไหน

ลักษณะของหลังแอ่น

ลักษณะหลังแอ่น

ลักษณะของคนที่มีรูปร่างหลังแอ่น

  • ศีรษะและคอยื่นไปข้างหน้า
  • สะโพกยื่นออกไปข้างหลัง
  • หน้าท้องยื่น
  • ขาหุบเข้าด้านใน “ขาโก่ง”

สิ่งที่จะเกิดขึ้นเมื่อมีรูปร่างที่ “หลังแอ่น”

  • กระดูกเชิงกรานเอียงไปข้างหน้า
  • กระดูกสันหลังโค้งเป็นรูปตัว S มากขึ้น
  • กล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้ายืด
  • กล้ามเนื้อน่องยืด
  • หลังแบกรับน้ำหนักมาก

ลักษณะของ “หลังค่อม”

ลักษณะของหลังค่อม

ลักษณะของคนที่มีรูปร่างหลังค่อม มีดังนี้

  • เมื่อยืนพิงกำแพง ด้านหลังศรีษะจะไม่แตะผนัง
  • หลังโค้งงอ

สิ่งที่จะเกิดขึ้นเมื่อมีรูปร่างที่ “หลังค่อม”

  • กระดูกเชิงกรานเอียงไปข้างหลัง
  • กล้ามเนื้อต้นขาด้านหลังยืด
  • หายใจตื้น
  • หลักแบกรับน้ำหนักมาก

ผลลัพธ์ 10 ประการ ที่ได้จากการแก้ไข “หลังแอ่น” และ “หลังค่อม”

เอวอุ้งเชิงกราน

อย่างไรก็ตาม ทุกคนว่ารู้สึกกังวลกับ “หลังแอ่น” และ “หลังค่อม” หรือเปล่า?

“หลังแอ่น” และ “หลังค่อม” ไม่เพียงแต่สร้างปัญหาให้กับหลังและสะโพก แต่ยังทำให้ร่างกายส่วนอื่นๆ เกิดปัญหาตามมา

ทำไมจึงจำเป็นที่จะต้องแก้ไขอาการ “หลังแอ่น” และ “หลังค่อม” กันนะ ?

เราจะมาแนะนำผลลัพธ์ 10 ประการ ที่ได้จากการแก้ไข “หลังแอ่น” และ “หลังค่อม”

ป้องกันคอเบี้ยว

โดยเฉพาะประเภท “หลังค่อม” เราจะเห็นว่า คอยื่นออกมาข้างหน้า

เมื่อคอยื่นออกไปข้างหน้า จะทำให้ต้นคอแบกรับน้ำหนักเชื่อมโยงกับอาการปวดต้นคอ

ส่วนที่ช่วยรองรับน้ำหนักศรีษะของมนุษญ์คือ กระดูกสันหลังส่วนคอ ซึ่งเปรียบเสมือนลูกโบว์ลิ่ง

หาก “หลังค่อม” หน้าจะยื่นไปข้างหน้า กระดูกคอจะยืดตรง

ผลลัพธ์คือ กระดูกคอจะแบกรับน้ำหนักทำให้คอเหยียดตรง ในทางกลับกันถ้าโค้งมากขึ้นจะทำให้ “คอเบี้ยว”

ส่งผลให้กล้ามเนื้อคอแข็งตึงและมีอาการปวดได้

บรรเทาอาการปวดศีรษะ วิงเวียน ปวดตา

ภาวะคอ บ่า ไหล่ตึงคือภาวะที่กล้ามเนื้อช่วงคอ บ่อ ไหล่ ถูกยืดออกและเกิดการเกร็ง

ทำให้ปวดศีรษะจากการตึงของกล้ามเนื้อ

ว่ากันว่า คนญี่ปุ่นมักจะมีอาการปวดศีรษะที่มาจากการตึงของกล้ามเนื้อ

เคยมีอาการปวดศีรษะอย่างหนัก เหมือนกำลังถูกบีบศีรษะกันหรือเปล่าคะ?

นั่นคืออาการปวดศีรษะ ที่เกิดจากการตึงของกล้ามเนื้อนั่นเอง

และยังเชื่อมโยงกับอาการปวดตา และอาการวิงเวียนศีรษะอีกด้วย

ช่วยป้องกันระบบประสาทอัตโนมัติ

อาการแข็งตึงของกล้ามเนื้อคอบ่าไหล่ ไม่เพียงแต่ทำให้ปวดเท่านั้น แต่ยังทำให้การทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติลดน้อยลงอีกด้วย

เส้นประสาทอัตโนมัติ เป็นเส้นประสาทที่ควบคุมร่างกาย เช่นอวัยวะภายใน เส้นเลือด

เส้นประสาทในระบบประสาทซิมพาเทติก และระบบประสาทพาราซิมพาเทติก

มีโครงสร้างที่ตัวเราไม่สามารถควบคุมได้

เส้นประสาทต่างๆ รวมกันอยู่ที่หลังต้นคอ

เมื่อกล้ามเนื้อช่องคอบ่าไหล่แข็งตึง จะทำให้เส้นประสาทอัตโนมัติถูกกดทับ และขัดขวางการทำงานของการไหลเวียนของเลือด ส่งผลให้การทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติลดน้อยลง

เป็นผลให้เกิดความไม่สมดุลในการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ

หากปล่อยไว้ต่อไปเรื่อยๆ อาจนำไปสู่อาการรุนแรงขึ้นเช่น อาการเหนื่อยล้าเรื้อรัง ไม่มีแรง ใจสั่น แสบร้อน นอนไม่หลับ หูอื้อ แขนขาชา ระคายเคืองช่องคอและาปก ปัสสาวะติดขัด หงุดหงิด แรงจูงใจลดลง ซึมเศร้า เป็นต้น

 

หายใจสะดวก

ถ้าหลังโค้งโก่งจากบุคลิกภาพที่ “หลังค่อม” จะทำให้ปอดแคบลง

เดิมที ปอดจะถูกห่อหุ้มด้วยซี่โครงด้านใน “หน้าอก” ที่มีรูปร่างคล้ายตะกร้าครอบอยู่

เมื่อทรวงอกขยายออกละหดตัว ปอดก็จะขยายและหดตัวทำให้สามารถหายใจได้

เวลาที่หายใจ กระบังลมที่อยู่ใกล้ๆ จะเลื่อนขึ้นเลื่อนลง

แต่หากมีปอดที่แคบเนื่องมาจาก “หลังค่อม” จะทำให้การเคลื่อนไหวของกระบังลมถูกขัดขวางและจะหายใจได้ตื้นขึ้น

หากหายใจตื้น ร่างกายจะขาดออกซิเจนอย่างรุนแรง

ส่งผลให้การเผาผลาญของร่างกายลดน้อยลงและไม่สามารถใช้พลังงานได้ทำให้อ้วนง่ายขึ้น

ช่วยบรรเทาภาระช่วงหลัง

หลายคนมีอาการไม่สบายหลัง หากเราปรับท่าท่าง และยืนให้กระดูกเชิงกรานตรง ก็มีแนวโน้มที่จะแก้ไขได้

ถ้าปล่อยให้อยู่ในรูปร่างที่ไม่ดีต่อไป จะทำให้กล้ามเนื้อแบกรับภาระเพิ่มขึ้น

กล้ามเนื้อที่แบกรับภาระมากเกินไป จะเกร็งและปวดในที่สุด

เรียกว่า “แข็งตึง” นั่นเอง

อย่างไรก็ตาม ถ้ากระดูกเชิงกรานตรง จะช่วยลดภาระของกล้ามเนื้อ และช่วยบรรเทาอาการปวดหลังได้

สะโพกและข้อเข่าเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น

เมื่อหลังต้องแบกรับน้ำหนักที่เกิดจาก “หลังแอ่น” และ “หลังค่อม” น้ำหนักจะค่อยๆ ลงไปที่เข่า

เป็นปกติ ที่เราจะคิดว่าอาการปวดที่เกิดขึ้นมาจากความผิดปกติของข้อเข่าเพียงอย่างเดียว แต่ที่จริงแล้ว ยังมาจากสาเหตุอื่นๆ อีกด้วย

ถ้ารู้สึกว่าหัวเข่าซ้ายหรือขวาข้างใดข้างหนึ่ง มีความผิดปกติ อาจเป็นสาเหตุจาก “กระดูกเชิงกรานเบี้ยว”

กระดูกเชิงกรานเบี้ยว จะทำให้หัวเข่าด้านหนึ่งแบกรับน้ำหนักมาก

หากเรารักษากระดูกเชิงกรานเบี้ยว ด้วยวิธีปรับกระดูกเชิงกราน จะสามารถช่วยกระจายน้ำหนักไปที่เข่าให้เท่ากันได้

ช่วยบรรเทาอาการตึงไหล่

รู้สึกตึงไหล่ไม่หายเลย

มีสาเหตุจากบุคลิกภาพไม่ดี

ศีรษะที่อยู่บนไหล่ของมนุษย์มีน้ำหนักมากถึง 5-6 กิโลกรัม

หากมีรูปร่างที่ปกติ ร่างกายของเราทั้งตัว จะสามารถรองรับน้ำหนักของส่วนหัวได้ทั้งหมด แต่ถ้ามีบุคลิกภาพหลังโก่ง ไหล่ทั้งสองข้างงุ้มไปข้างหน้า ส่วนหัวยื่นไปข้างหน้าแล้วล่ะก็ จะอยู่ในภาวะที่ร่างกายไม่สามารถรองรับน้ำหนักได้

จากนั้นกล้ามเนื้อที่อยู่รอบๆ หัวไหล่จะทำหน้าที่รองรับศรีษะแทน ทำให้ไหล่แบกรับภาระมากขึ้น

เมื่อแบกรับน้ำหนักเพิ่มมากขึ้น กล้ามเนื้อก็จะยืดออกและเกร็งมากขึ้น กลายเป็นกล้ามเนื้อที่แข็งตึง

เพราะฉะนั้นเพื่อการรักษาอาการไหล่ตึง ก่อนอื่นจำเป็นต้องจัดเตรียมความพร้อมของรูปร่างก่อน

อาจจะพูดซ้ำ แต่ว่า Point ของการจัดเตรียมรูปร่างก็คือการจัด “กระดูกเชิงกราน

จัดเตรียมกระดูกเชิงกรานที่เป็นหัวใจสำคัญของร่างกายจะทำให้บุคลิกภาพดีขึ้นและช่วยลดภาระของกล้ามเนื้อรอบๆ หัวไหล่ได้

ส่งผลต่อบุคลิกภาพ

ไม่ใช่แค่ทำให้กระดูกเชิงกรานตรงแต่ยังทำให้บุคลิกดูดีขึ้นอีกด้วย

เมื่อกระดูกเชิงกรานตั้งตรง หลังจะยืดตรงขึ้นทำให้ดูสูงขึ้นด้วย

ถ้ายืดกระดูกเชิงกรานที่เอียงไปข้างหน้า จะช่วยแก้หลังแอ่นและ สะโพกจะถูกดึงกลับ

ทำให้ตัวดูสูงขึ้น สะโพกกระชับขึ้น

แค่นี้ก็เห็นแล้วสินะคะว่า มีบุคลลิกที่ดีขึ้น

ช่วยแก้ไขหน้าท้องยื่น

เมื่อแก้ไขหลังแอ่น กระดูกเชิงกรานจะตั้งตรง ทั้งสะโพกและหน้าท้องก็จะกระชับขึ้นด้วย

กระดูกเชิงกรานที่เอียงไปข้างหน้าจะทำให้หน้าท้องยื่นไปข้างหน้า

ไม่เพียงแต่ทำให้ไขมันสะสมได้ง่ายขึ้น แต่ยังทำให้กล้ามเนื้อหน้าท้องส่วนล่างลดลงและอวัยวะภายในอ่อนแอลงด้วย

แค่เพียงทำให้กระดูกเชิงกรานตรงก็เพียงพอแล้วที่จะแก้ไขเรื่องนี้ได้

ช่วยแก้อาการหนาวเย็น

ผู้หญิงมักจะกังวลกับอาการหนาวเย็น

เรามักจะเห็นผู้หญิงดูท่าทางหนาวอยู่ในออฟฟิศ แม้ฤดูร้อนก็ยังใส่เสื้อกันหนาว หรือไม่ก็ห่มผ้าคลุมที่ตัก

บางคนอาจจะรู้สึกหนาวขาแ ละลำบากที่ต้องสวมถุงเท้าไม่ว่าจะอยู่ในฤดูไหนก็ตาม

สาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดความหนาวเย็นคือ เลือดไม่สามารถถูกส่งไปเลี้ยงส่วนล่างของร่างกายได้อย่างปกติ

ที่จริงแล้ว เป็นผลกระทบจากการที่กระดูกเชิงกรานเบี้ยว

เมื่อกระดูกเชิงกรานเอียงไปข้างหน้า อวัยวะภายในของผู้หญิงเช่น มดลูกและรังไข่จะถูกกดทับ

เมื่อมีแรงกดทับเกิดขึ้น ทำให้การทำงานของอวัยวะลดน้อยลง

หลอดเลือดที่อยู่รอบๆ จะถูกกดทับไปด้วย ส่งผลให้การไหลเวียนของเลือดถูกปิดกั้น

และทำให้เลือดไม่เพียงพอที่จะถูกส่งไปเลี้ยงในส่วนล่างของร่างกายได้นั่นเอง

ขั้นตอนแรกในการปรับปรุงหลังแอ่นและหลังค่อม! ปรับท่าทางให้ดีขึ้นด้วยท่านั่ง

นั่งหลงตรงบนเก้าอี้

คงจะมีหลายคนที่นั่งต้องทำงานที่โต๊ะเป็นเวลานานๆ สินะคะ

ถ้าต้องนั่งตลอด หน้าท้องและไหล่ก็อาจจะตึงได้

การนั่งในท่าทางที่ไม่ดีอาจเป็นผลให้หน้าท้องและสะโพกตึง จนกลายเป็นอาการเจ็บป่วยเรื้อรังได้

อย่างไรก็ตาม การยืดเพียงกระดูกสันหลัง ไม่ใช่วิธีการนั่งที่ถูกต้อง

ทีนี้เรามาทำความเข้าใจวิธีการนั่งที่ถูกต้อง เพื่อช่วยลดภาระของหลังกันเถอะ

เมื่อเรานั่งในท่าที่ต่างจากเดิม ในตอนแรกอาจจะรู้สึกว่านั่งไม่ถนัด แต่ถ้าทำต่อไปอย่างต่อเนื่องก็สามารถคาดหวังผลลัพธ์ได้ เพราะฉะนั้นมาทำอย่างสม่ำเสมอกันเถอะค่ะ

อย่างเช่นเคย Point ของเราก็คือ “กระดูกเชิงกราน” นั่นเองค่ะ

1. นั่งให้เต็มเก้าอี้ เท้าติดพื้น

การนั่งไม่เต็มเก้าอี้แล้วยื่นขาออกไปทำให้เกิดแรงกดทับที่สะโพกเป็นอย่างมาก

ยิ่งไปกว่านั้นการนั่งไขว่ห้างจะทำให้เกิดความแตกต่างของข้างซ้ายและข้างขวาทำให้ความดุลไม่เท่ากัน

เวลานั่งเก้าอี้นั่งให้เต็มเก้าอี้และวางเท้าให้แนบสนิทกับพื้นกันเถอะ

Point ก็คือหลังไม่ต้องพิงพนักพิง

เพราะถ้าหากพยายามเอาหลังพิงพนักพิง กระดูกเชิงกรานจะเอนไปข้างหลังโดยธรรมชาติ

 

2. นั่งให้ต้นขาขนานกับพื้น

ถ้าหัวเข่าอยู่ระดับต่ำกว่าต้นขาจะทำให้ท่าทางแย่ลง เป็นสาเหตุหนึ่งของกระดูกเชิงกรานเบี้ยว

นั่งแล้วตรวจสอบดูว่าต้นขากับหัวเข่าทำมุมตั้งฉาก 90 องศาและหันบั้นท้ายลงหรือเปล่า

ทำแบบนี้กระดูกเชิงกรานจะตรงอย่างเป็นธรรมชาติ

วิธียืดกระดูกเชิงกรานง่ายๆ อย่างละเอียดเพื่อแก้ไขหลังแอ่นและหลังค่อม

ปรับปรุงท่านั่งกันไปแล้ว ต่อไปเรามาเช็ควิธีการยืดกระดูกเชิงกรานกันด้วยดีกว่า

การขยับกระดูกเชิงกรานเป็นประจำจะช่วยปรับปรุงอาการเบี้ยวของกระดูกเชิงกรานได้ดียิ่งขึ้น

 

①ยืนกางขาให้นิ้วเท้าซ้ายและขวาขนานกัน กางสะโพกออกและหมุนกระดูกเชิงกรานไปข้างหน้า

จังหวะนี้ให้หายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ จะได้ผลมากขึ้น

ยืดกระดูกเชิงกรานโดยยืนกางขา

② จับความรู้สึกไปที่สะโพก หมุนกระดูกเชิงกรานเอียงไปข้างหลัง

เอามือจับสะโพก

จังหวะนี้ให้หายใจออกยาวๆ ช้าๆ จะได้ผลมากขึ้น

การเคลื่อนไหวกระดูกเชิงกรานเอียงไปข้างหน้าข้างหลังไปมานี้ ช่วยแก้ไขการเบี้ยวของกระดูกเชิงกรานได้

เป็นการผ่อนคลายการแข็งตึงของกระดูกเชิงกรานในรูปแบบเดียวกัน

การหายใจลึกๆ ส่งผลให้เคลื่อนไหวได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

สรุป

ทำไมรักษาหลังแอ่นกับหลังค่อมด้วยตนเองถึงยาก

นั่นเป็นเพราะว่า หลังแอ่นหรือหลังค่อมแล้วรู้สึกสบายมากกว่า

รู้สึกลำบากในการรักษาท่าทางให้ถูกต้องหรือเปล่าคะ?

พอลองมีสติรักษาท่าทางให้ถูก เวลาเผลอๆ ก็กลับมาอยู่ในท่าที่ตัวเองสบายซะอย่างงั้น

ถึงจะนวดหลัง นวดสะโพกเท่าไหร่ อาการหลังแอ่นและหลังค่อมก็ไม่หาย ไม่สามารถหายขาดจากอาการไม่สบายเรื้อรังได้ เป็นเพราะว่าประเดี๋ยวเดียวก็จะกลับมาอยู่ในท่าทางที่ไม่ดีเป็นนิสัยซะแล้ว

กระดูกเชิงกราน เป็นสาเหตุที่ทำให้หลังแอ่นและหลังค่อม

ลักษณะที่หลังแอ่นและหลังค่อม อย่างเช่น หลังโค้งงอ หน้ายื่นไปข้างหน้า ไหล่งุ้มไปข้างหน้า มีสาเหตุมาจากกระดูกเชิงกรานที่เอนไปข้างหน้าและเอนไปข้างหลัง

เพราะฉะนั้น ใช้วิธีการปรับปรุงเฉพาะที่หลัง คอ ไหล่หรือสะโพก ยังไม่เพียงพอ

ถ้าอยากแก้ไขหลังแอ่นหรือหลังค่อมล่ะก็ จำเป็นต้องทำกระดูกเชิงกรานให้ตรงเพื่อปรับปรุงท่าทางให้ดีขึ้น

เพียงแค่ทำกระดูกเชิงกรานให้ตรง แก้ไขท่าทางให้ดี ดูเหมือนว่าการรักษาหลังแอ่นและหลังค่อมจะดูง่ายขึ้นมากเลยนะคะ

แต่ว่ากันตามตรง ถึงแม้หลายๆ คน จะทราบเรื่องนี้ แต่ก็ไม่สามารถทำกระดูกเชิงกรานให้ตรงหรือปรับปรุงท่าทางให้ดีขึ้นได้

แม้จะทำให้กระดูกเชิงกรานตรงได้ชั่วคราว แต่เนื่องจากมีความเคยชินกับอริยาบถที่ไม่ดีก็ไม่สามารถรักษาให้หายได้

เพราะฉะนั้น ควรทำอย่างต่อเนื่อง เพียงแค่ใช้วิธีการนั่งและการยืดที่ได้แนะนำไป

Point ของการดูแลกระดูกเชิงกรานก็คือ “ความต่อเนื่อง” นั่นเอง

เพียงแค่สวมใส่กางเกงชั้นใน NEO+ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยปรับกระดูกเชิงกรานให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกเพียงแค่สวมใส่

ถ้าเป็นกางเกงชั้นใน NEO+ ล่ะก็แค่ใส่กระดูกเชิงกรานก็ตรงแล้ว สะดวกสบายมากเลย

กางเกงชั้นใน NEO+ ถูกออกแบบมาให้สามารถสวมใส่ได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่เจ็บทั้งในระหว่างวันและเวลานอนกลางคืน

สามารถดูแลกระดูกเชิงกรานได้ตลอด 24 ชม. เพราะสามารถใส่ได้เหมือนกางเกงชั้นใน

อย่าลืมดูแลกระดูกเชิงกรานของคุณนะครับ

ให้กระดูกเชิงกรานของคุณอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง โดยไม่ต้องพยายาม

กางเกงชั้นใน Seitai Short Neo+

฿2,600.00
กางเกงชั้นใน Seitai Short Neo+ “กางเกงชั้นในช่วยให้บุคลิกภาพของคุณดีขึ้นโดยไม่ต้องพยายาม!”
  • ยกกระชับกระดูกเชิงกรานอย่างถูกวิธี
  • สวมใส่สบายตลอดวัน แม้ในเวลาเข้านอนตอนกลางคืน
  • สวมใส่แล้วไม่เห็นรอยต่อ
ดูวิดีโอวิธีวัดไซส์ได้ที่นี่: https://youtu.be/0-QFv__m_k0
ไซส์ รอบสะโพก สี
S 82-90cm ดำ
M 87-95cm ดำ,เบจ
L 92-100cm ดำ,เบจ
LL 97-105cm ดำ,เบจ
3L 102-110cm ดำ,เบจ
เลือกรูปแบบ This product has multiple variants. The options may be chosen on the product page

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *