กระดูกเชิงกราน

กระดูกเชิงกรานเอียงไปข้างหน้าหรือข้างหลัง? เช็คได้ใน 5 วินาที

กระดูกเชิงกรานเอียงไปข้างหน้าและข้างหลัง

แนะนำผู้เขียน

Dr-Kobayashi-หมอกระดูก-kenkoshop

ATSUSHI KOBAYASHI
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านกระดูกและการรักษาอาการหลังค่อม

ผู้เชี่ยวชาญด้านการแก้ไขหลังค่อม, ผู้เชี่ยวชาญด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพกีฬายูโด, อาจารย์ฝังเข็ม, อาจารย์นวดกดจุด ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการคลินิกอายุรกรรม/คลินิกนวดฝังเข็มและนวดกดจุดในเมืองมิยามาเอะ จังหวัดคาวาซากิ  ให้ความสำคัญกับ “การรักษาร่างกายของผู้ป่วยจากต้นตอของปัญหา”  เหนือสิ่งอื่นใด และมุ่งเน้นไปที่ “การแก้ไขอาการหลังค่อม”

รู้ไหมว่า การใช้ชีวิตประจำวันแบบไหนจะทำให้กระดูกเชิงกรานเอียง?

ไม่ว่าจะเอียงไปข้างหน้า หรือข้างหลัง ก็เป็นหนึ่งในประเภทของกระดูกเชิงกรานเบี้ยว

กระดูกเชิงกรานเบี้ยวไม่ใช่แค่ทำให้ปวดหลังเท่านั้น แต่ยังเป็นสาเหตุของอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ ได้แก่

  • ปวดบ่า
  • ปัญหาการปัสสาวะ
  • หลังค่อม
  • หลังแอ่น ก้นงอน
  • หน้าท้องยื่น
  • ระบบขับถ่ายไม่ดี
  • มีปัญหาข้อเข่า
  • ความกังวลของผู้หญิง

ลักษณะของกระดูกเชิงกรานเอียงไปข้างหน้า กับเอียงไปข้างหลังนั้น มีความแตกต่างกัน

ตัวอย่างเช่น ถ้าอยู่ในสภาพที่ กระดูกเชิงกรานเอียงไปข้างหน้า หน้าท้องจะยื่น ถ้ากระดูกเชิงกรานเอียงไปข้างหลัง หัวเข่าจะงอ และยืดออกไม่ได้

กำลังมีปัญหาแบบนี้อยู่หรือเปล่านะ ?

ถ้าหากประสบปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือมีปัญหาที่แก้ยังไงก็ไม่หายมาเนิ่นนานหลายปี สาเหตุเหล่านี้ อาจเกิดจาก “กระดูกเชิงกรานเบี้ยว” ก็ได้นะ

อีกทั้ง ยังแก้ปัญหาโดยใช้วิธีนวดไหล่ เพราะไหล่แข็งตึง หรือนวดหลัง เพราะปวดหลัง ไดเอ็ท เพราะรู้สึกว่าหน้าท้องยื่น ถึงขนาดประคบยาที่เข่าเพราะมีปัญหาข้อเข่า

อย่างไรก็ตาม หากสาเหตุเกิดจาก “กระดูกเชิงกรานเบี้ยว” ถึงจะนวด หรือใช้ยาประคบมากเท่าไร ก็ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาเพราะไม่ได้รักษาอาการ “กระดูกเชิงกรานเบี้ยว” ที่เป็นต้นตอของปัญหาที่เกิดขึ้น

ดังนั้น ก่อนอื่นให้ลองตรวจสอบดูก่อนว่า กระดูกเชิงกรานของคุณเบี้ยวอยู่หรือเปล่า หลังจากนั้น พอทราบแล้วว่า กระดูกเชิงกรานของตนเองเอียงไปข้างหน้าหรือเอียงไปข้างหลัง ให้ลองยืดกระดูกเชิงกรานดูนะ

ยาวไป อยากเลือกอ่าน

กระดูกเชิงกรานเอียงไปข้างหน้า หรือข้างหลัง? มี 4 ลักษณะ

กระดูกเชิงกรานเอียงไปข้างหน้าและข้างหลัง

หากคุณกำลังกลุ้มใจกับปัญหาเหล่านี้

  • รู้สึกไม่สบาย ปวดเอวมาก
  • บุคลิกไม่ดี หลังค่อม
  • ทรมานกับอาการปวดไหล่ และปวดรอบๆ ข้อเข่ามานานหลายปี

มีความเป็นไปได้ว่า “กระดูกเชิงกรานเบี้ยว” อาจจะเป็นสาเหตุหลักของอาการเจ็บป่วยเหล่านี้

ในหลายๆ เคส “กระดูกเชิงกรานเบี้ยว” เป็นเหตุทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ในร่างกายไม่ว่าจะเป็นอาการปวดเอว  หรือ บุคลิกภาพไม่ดี

กระดูกเชิงกรานเป็น “หัวใจสำคัญของร่างกาย” ซึ่งเป็นสิ่งที่อยู่ในตำแหน่งที่เป็นจุดศูนย์ถ่วงของร่างกาย และเชื่อมต่อร่างกายท่อนบนกับท่อนล่างเข้าด้วยกัน

เพราะฉะนั้น หากกระดูกเชิงกรานที่เป็นหัวใจสำคัญของร่างกายเบี้ยว จะเป็นเหตุให้ร่างกายเกิดข้อผิดพลาดตรงนั้นตรงนี้ขึ้นมาได้

ข้อบ่งชี้ในการแยกแยะ “กระดูกเชิงกรานเบี้ยว” นั้นมีอยู่มากมายเช่น “ความแตกต่างของซ้ายและขวา” และ “ลักษณะของช่วงที่เบี้ยว” แต่ที่จะกล่าวถึงโดยทั่วไปได้แก่ กระดูกเชิงกรานเอียงไปข้างหน้า และเอียงไปข้างหลัง

กระดูกเชิงกรานเอียงไปข้างหน้า และกระดูกเชิงกรานเอียงไปข้างหลัง คือภาวะรูปร่างที่กระดูกเชิงกรานล้ม และเอียงไปข้างหน้าหรือข้างหลัง

ก่อนอื่น เราไปดูลักษณะต่างๆ ของกระดูกเชิงกรานเอียงไปข้างหน้ากับกระดูกและเอียงไปข้างหลังให้ชัดๆ กันเถอะ

4 ลักษณะของกระดูกเชิงกรานเอียงไปข้างหน้า

ลักษณะของกระดูกเชิงกรานเอียงไปข้างหน้า

1. ก้นงอน

หากกระดูกเชิงกรานเอียงไปข้างหน้า หน้าท้องด้านล่างจะยื่นไปข้างหน้า สะโพกจะยื่นออกไปด้านหลัง

หรือที่เราเรียกกันว่า “ก้นงอน” นั่นเอง

เวลาที่ใส่ หรือถอดกางเกงมักจะติดสะโพก  หรือไม่ก็ติดหน้าท้องที่ยื่นออกมาอยู่รึเปล่าล่ะ?

นั่นอาจจะเป็นเพราะกระดูกเชิงกรานของคุณกำลังเอียงไปข้างหน้า

2. หลังแอ่น

เดิมที ความโค้งของหลังจะโค้งเป็นรูปตัว S และโค้งไปข้างหน้าเล็กน้อย

ที่ต้องเป็นรูปตัว S เป็นเพราะทำให้น้ำหนักของช่วงหลังมีการกระจายออกเท่าๆ กัน

แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่กระดูกเชิงกรานเอียงไปข้างหน้ามากขึ้น หลังก็จะเกิดความโค้งมากขึ้นจึงเรียกว่า หลังแอ่น นั่นเอง

เมื่อหลังอยู่ในสภาวะที่แอ่น น้ำหนักที่กระจายอยู่ จะไปรวมอยู่ที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของกระดูกสันหลังแทนจึงทำให้เกิดอาการปวดหลัง

3. หน้าท้องยื่น

หากกระดูกเชิงกรานเอียงไปข้างหน้า คุณจะมีรูปร่างที่หน้าท้องยื่นออกมาด้านหน้า และทำให้ไขมันไปสะสมตรงนั้นได้ง่าย นอกจากนี้ จะทำให้กล้ามเนื้อต้นขาส่วนหน้าตึงมากขึ้น

หลังจากนั้น จะทำให้คุณออกแรงที่หน้าท้องส่วนล่างได้ยากขึ้น กล้ามเนื้อหน้าท้องส่วนล่างจะลดน้อยลงแล้วอวัยวะภายในก็จะอ่อนแอลงด้วยเช่นกัน ผลลัพธ์ที่ตามมาก็คือ หน้าท้องจะยื่นมากขึ้นไปอีก

4. ขาหุบเข้าด้านใน

ถ้ากระดูกเชิงกรานเอียงไปข้างหน้า ต้นขาก็จะหุบเข้าด้านในได้ง่ายขึ้น

มีคนที่ขาโก่งอยู่จำนวนมาก ทั้งคนที่ขาหุบเข้าด้านใน และคนที่ขาโก่ง หัวเข่าและนิ้วเท้าก็จะหันเข้าด้านในด้วย ลักษณะของคนที่กระดูกเชิงกรานเอียงไปข้างหน้า จะมีรูปร่างแบบ หัวเข่าหุบเข้าไปด้านใน

บางคนคิดว่า ขาโก่ง คือ คนที่มีรูปขาโก่งแต่หัวเข่าแบะออกด้านนอก แต่อย่างไรก็ตาม ประมาณ 80% ของผู้หญิงที่ขาโก่ง ต้นขาจะหุบเข้าด้านใน

4 ลักษณะของกระดูกเชิงกรานเอียงไปข้างหลัง

กระดูกเชิงกรานเอียงไปข้างหลัง

1. หลังค่อม

ถ้ากระดูกเชิงกรานเอียงไปข้างหลัง  สะโพกจะหย่อน หลัง และเอวจะโก่ง

กระดูกสันหลังที่แต่เดิมจะโค้งเป็นรูปตัว S กลายเป็นรูปร่างโค้งเหมือนตัว C

ผลลัพธ์ก็คือ ทำให้หลังค่อม

2. ขาโก่ง

ถ้ากระดูกเชิงกรานเอนไปข้างหลัง หัวเข่าและนิ้วเท้าจะหันออกด้านนอก ทำให้ขาโก่งขึ้น

กระดูกเชิงกรานเอียงไปข้างหลัง ทำให้มีรูปร่างเหมือนหัวเข่ากางออกไปด้านนอก

3. เข่างอ

เมื่อขาโก่ง จะทำให้ยืดเข่าไม่ได้

ทำให้หัวเข่าอยู่ในสภาพงอตลอดเวลา ทำให้เข่ารับน้ำหนักมากขึ้น และเกิดอาการปวด

4. สะโพกหย่อน

เมื่อกระดูกเชิงกรานเอียงไปข้างหลัง ทำให้กล้ามเนื้อต้นขาด้านหลังตึงมากขึ้น ส่งผลให้ ให้ใช้กล้ามเนื้อสะโพกได้ยากขึ้น จึงทำให้สะโพกหย่อนคล้อย

เมื่อกระดูกเชิงกรานล้มไปข้างหน้า หรือล้มไปข้างหลัง ทำให้ความสมดุลของร่างกายพังลง ส่งผลให้ ร่างกายพยายามสร้างสมดุลโดยการแสดงอาการให้เห็นในส่วนอื่นๆ นั่นเอง

วิธีเช็คว่ากระดูกเชิงกรานของคุณเอียงไปข้างหน้า หรือเอียงไปข้างหลัง

กระดูกเชิงกรานของคุณเอียงไปข้างหน้า หรือข้างหลังนะ?

มาตรวจสอบด้วยวิธีง่ายๆ กันดีกว่า

วิธีตรวจกระดูกเชิงกราน

กระดูกเชิงกรานของคุณเอียงไปข้างหน้า หรือข้างหลังนะ?

มาตรวจสอบด้วยวิธีง่ายๆ กันดีกว่า

  1. ยืนหันด้านข้างของลำตัวเข้าหากระจก
  2. ตรวจสอบตำแหน่งของกระดูกสะโพกด้านหลัง
  3.  ใช้มือจับที่กระดูกสะโพกด้านหลัง
  4. ต่อมาให้จับที่กระดูกสะโพกด้านหน้า แล้วตรวจดูว่าตำแหน่งตรงกันหรือเปล่า

ด้านไหนเตี้ยกว่ากันนะ?

ถ้ากระดูกสะโพกด้านหน้าอยู่ต่ำกว่า แสดงว่ากระดูกเชิงกรานเอียงไปข้างหน้า ถ้ากระดูกสะโพกด้านหลังอยู่ต่ำกว่า แสดงว่ากระดูกเชิงกรานเอียงไปข้างหลัง

ยืนตรงใช้มือซ้ายกดหน้าท้อง มือขวากดช่วงหลัง

↑กระดูกสะโพกเอียงไปข้างหน้า

ยืนก้มตัวไปข้างหน้าเล็กน้อยใช้มือซ้ายกดหน้าท้อง มือขวากดช่วงหลัง

↑กระดูกสะโพกเอียงไปข้างหลัง

วิธียืดง่ายๆ เพื่อแก้กระดูกเชิงกรานเอียงไปข้างหน้าและเอียงไปข้างหลัง

รู้หรือไม่ว่ากระดูกเชิงกรานของตัวเองเอียงไปข้างหน้าหรือข้างหลังกันแน่?

วิธียืดที่ได้ผลของการเอียงแต่ละประเภทแตกต่างกัน ในที่นี้ จะแนะนำทีละขั้น สามารถทำเองได้ง่ายๆ เลย

วิธียืดสำหรับคนที่กระดูกเชิงกรานเอียงไปข้างหน้า (ยืดต้นขาด้านหน้า)

ท่าแรกเป็นวิธียืดสำหรับคนที่กระดูกเชิงกรานเอียงไปข้างหน้า

มีคนที่กระดูกเชิงกรานเอียงไปข้างหน้าอยู่เยอะมาก ต้นขาด้านหน้าจะตึงมาก เพราะฉะนั้น เรามายืดต้นขาด้านหน้ากันเถอะ!

① ยืนตรง ใช้มือขวาจับเท้าขวา

ยืนตรงใช้มือขวาจับเท้าขวา

② ดึงเข้าหาลำตัว พยายามให้น่องติดกับต้นขาด้านหลัง ค้างไว้ 10 วินาที

※ทำแบบเดียวกับอีกข้าง

※ถ้าไม่ถนัดสามารถใช้มือจับผนัง หรือเก้าอี้ก็ได้

เป็นยังไงกันบ้างครับ?

ยืดแล้วรู้สึกสบายขึ้นมั้ย?

เป็นวิธียืดง่ายๆ ที่สามารถทำได้เองที่บ้านเลยล่ะ

วิธียืดสำหรับคนที่กระดูกเชิงกรานเอียงไปข้างหลัง (ยืดต้นขาด้านหลัง)

ต่อไป เป็นวิธียืดสำหรับคนที่กระดูกเชิงกรานเอียงไปข้างหลัง

คนที่กระดูกเชิงกรานเอียงไปข้างหลัง กล้ามเนื้อด้านหลังต้นขาจะยืดออก ตรงข้ามกับคนที่เอียงไปข้างหน้า

เพราะฉะนั้น เรามายืดกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลังหลังกันเถอะ

① นั่งที่ปลายเก้าอี้ เหยียดขาขวาไปข้างหน้า

นั่งที่ปลายเก้าอี้ เหยียดขาขวาไปข้างหน้า

② ดันต้นขาลงด้านล่าง ค้างไว้ 10 วินาที

※ทำแบบเดียวกับอีกข้าง

วิธีนี้เป็นวิธียืดที่ทำบนเก้าอี้ จึงน่าจะเหมาะกับคนที่นั่งทำงานในออฟฟิศเลยทีเดียว

จะทำให้คุณรู้สึกดีขึ้น

สรุป

ประเภทการเบี้ยวของกระดูกเชิงกราน

กระดูกเชิงกรานเบี้ยวแบ่งออกเป็น

  1. เอียงไปข้างหน้า
  2. เอียงไปข้างหลัง

ลักษณะของกระดูกเชิงกรานเอียงไปข้างหน้า

  1. ก้นงอน
  2. หลังแอ่น
  3. หน้าท้องยื่น
  4. ขาหุบเข้าด้านใน

ลักษณะของกระดูกเชิงกรานเอียงไปข้างหลัง

  1. หลังค่อม
  2. ขาโก่ง
  3. เข่างอ
  4. ก้นหย่อน

วิธีเช็คว่ากระดูกเชิงกรานไปข้างหน้าหรือข้างหลัง

จับที่กระดูกสะโพก ตรวจสอบความสูงของกระดูกสะโพกด้านหน้าและด้านหลัง

ถ้าด้านหน้าเตี้ยกว่าแสดงว่ากระดูกเชิงกรานเอียงไปข้างหน้า ถ้าด้านหลังเตี้ยกว่าแสดงว่ากระดูกเชิงกรานเอียงไปข้างหลัง

ทั้งหมดนี้เป็นการอธิบายเกี่ยวกับประเภทการเบี้ยวของกระดูกเชิงกรานทั้ง 2 ประเภท

หากกระดูกเชิงกรานเบี้ยวแล้วล่ะก็จะทำใหเกิดอาการเจ็บป่วยตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย

อย่างเช่น กังวลกับรูปร่างที่ก้นงอน ในกรณีที่มีสาเหตุมาจากกระดูกเชิงกรานเบี้ยว ถึงแม้จะพยายามสร้างกล้ามเนื้อสะโพกเท่าไหร่ แต่ไม่ได้รักษาอาการกระดูกเชิงกรานเบี้ยวที่เป็นสาเหตุหลัก ก็แก้ไม่หาย

Point สำคัญของการรักษา “กระดูกเชิงกรานเบี้ยว” ก็คือ “ทำกระดูกเชิงกรานให้ตรง” และ “ความต่อเนื่อง”

แต่ในชีวิตประจำวันของเรา การเคลื่อนไหวโดยคงตำแหน่งของกระดูกเชิงกรานให้ตรงตลอดเวลาเป็นเรื่องที่ยากมาก

การยืดเพียงแค่ทำให้ดีขึ้นเพียงชั่วคราว แต่พอเวลาผ่านไปครู่เดียวก็กลับไปเอียงแบบเดิมอีกจนได้

แม้หลายๆ คนจะรู้ว่า สภาวะที่กระดูกเชิงกรานเอียง จะทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา แต่ยังไงก็ไม่มีเวลา

 

 

 

สำหรับท่านใดที่ไม่สะดวกในการยืดกล้ามเนื้อบ่อยๆ หรือบางครั้งก็ลืมตัว กลับไปยืนในลักษณะที่ทำให้กระดูกเชิงกรานเอียงเหมือนเดิม เราขอแนะนำ “กางเกงชั้นใน NEO+”

เพียงแค่สวม “กางเกงชั้นใน NEO+” ก็ทำให้กระดูกเชิงกรานตรงได้ สะดวกมากๆ เลยครับ แถมไม่รู้สึกอึดอัด แต่รู้สึกผ่อนคลายและบุคลิกภาพดีขึ้นด้วย

แน่นอนว่า “กางเกงชั้นใน NEO+” ถูกออกแบบมาให้สวมใส่ได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่เจ็บ แม้ในช่วงระหว่างวันหรือเวลานอนตอนกลางคืน เป็นชั้นในที่สามารถดูแลกระดูกเชิงกรานได้ตลอด 24 ชม.

อย่าลืมสวมใส่เพื่อดูแลกระดูกเชิงกรานของเรากันนะครับ

ให้กระดูกเชิงกรานของคุณอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง โดยไม่ต้องพยายาม

กางเกงชั้นใน Seitai Short Neo+

฿2,600.00
กางเกงชั้นใน Seitai Short Neo+ “กางเกงชั้นในช่วยให้บุคลิกภาพของคุณดีขึ้นโดยไม่ต้องพยายาม!”
  • ยกกระชับกระดูกเชิงกรานอย่างถูกวิธี
  • สวมใส่สบายตลอดวัน แม้ในเวลาเข้านอนตอนกลางคืน
  • สวมใส่แล้วไม่เห็นรอยต่อ
ดูวิดีโอวิธีวัดไซส์ได้ที่นี่: https://youtu.be/0-QFv__m_k0
ไซส์ รอบสะโพก สี
S 82-90cm ดำ
M 87-95cm ดำ,เบจ
L 92-100cm ดำ,เบจ
LL 97-105cm ดำ,เบจ
3L 102-110cm ดำ,เบจ
เลือกรูปแบบ This product has multiple variants. The options may be chosen on the product page

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *