เช็คตัวเอง! สาเหตุ “หลังแอ่น” ปัญหาใหญ่ที่ส่งผลต่อสุขภาพ แก้ไขยังไง?
รู้หรือไม่ว่าการมีภาวะหลังแอ่นส่งผลเสียต่อร่างกาย เป็นภาระให้กับหลังช่วงล่าง และจะทำให้เกิดความผิดปกติเรื้อรังอื่น ๆ ตามมาอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม ปัญหาหลังแอ่นสามารถเกิดได้จากกิจวัตรประจำวันทั่วไปได้มากมาย และยากที่จะแก้ไขให้หายได้ในทันที ถึงอย่างนั้น หากเราเริ่มตระหนักถึงการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งต้องหาสาเหตุของอาการ และเริ่มดำเนินการรักษา ก็จะสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างแน่นอน
ครั้งนี้ เราจะมาบอกถึงสาเหตุของอาการหลังแอ่น อาการเจ็บป่วยที่จะเกิดขึ้นหลังจากมีอาการหลังแอ่น และวิธีการแก้ไขที่คุณสามารถทำตามได้ง่าย ๆ ไปดูกันเลย!
แนะนำผู้เขียน
Hiromi Kurihara
Senior sleep health instructor
อาจารย์อาวุโสด้านสุขภาพและการนอนหลับ จบจากสถาบัน Japan Sleep Education System ประเทศญี่ปุ่น โดยมีแนวคิดที่ว่า “การนอนหลับเป็นจุดเริ่มต้นของชีวิต” ปัจจุบันดำรงตำแหน่งกรรมการบริหาร Kenko Shop มุ่งเน้นให้คนไทยตระหนักถึงความสำคัญของการนอนและค้นหาเครื่องนอนสุขภาพจากญี่ปุ่นส่งถึงมือชาวไทย
ยาวไป อยากเลือกอ่าน
มาตรวจสอบว่าตัวเอง หลังแอ่น หรือเปล่า? โดยวิธีง่าย ๆ แบบนี้!
ภาวะหลังแอ่น เป็นภาวะที่ช่วงบริเวณหลัง หรือเอวของคุณแอ่นโค้งมาก ราวกับเป็นคันธนู โดยปกติแล้วร่างกายจะโค้งเป็นตัว S เบา ๆ ตั้งแต่ช่วงคอ หลัง และเอว
โดยตัว S นี้มีประโยชน์ตรงที่สามารถช่วยเป็นจุดศูนย์ถ่วงของร่างกาย รองรับน้ำหนัก และรองรับแรงกระแทกของศีรษะ แต่ภาวะหลังแอ่น จะทำให้บริเวณท้องยื่นไปข้างหน้า
จนนำมาซึ่งอาการเจ็บปวดทางร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “อาการปวดหลัง” ที่จากการสำรวจของผู้ที่มีอาการปวดหลังถึง 80% จะมีอาการหลังแอ่นพ่วงมาด้วย
ใครที่กำลังคิดว่าตนเองมีภาวะเสี่ยงจะเป็น คุณอยากที่จะแก้ปัญหานี้ใช่หรือไม่
คุณสามารถเช็คดูได้ว่าคุณมีอาการหลังแอ่นหรือไม่ ตรวจสอบได้ง่าย ๆ ดังข้อต่อไปนี้
ขั้นแรกให้ลองนอนหงายดู
หากช่วงเอวลอยขึ้นนั้น คุณอาจจะมี “อาการหลังแอ่น” ให้ลองดูว่าช่องว่างระหว่างพื้นที่นอนกับหลังกว้างขนาดไหน หากช่องว่างที่คุณมีนั้นมีขนาดมากกว่า 1 ฝ่ามือ คุณกำลังมีอาการหลังแอ่น นอกจากการนอนแล้ว คุณยังสามารถยืนเช็คดูได้ด้วย
ขั้นสองให้ลองยืนชิดกำแพงดู
การยืนหลังตรงพิงกำแพงแล้วช่วงเอวกับกำแพงมีช่องว่าง ก็ถือว่าคุณมี “อาการหลังแอ่น” เหมือนกัน โดยให้บริเวณศีรษะ หลัง และก้น ชิดกับกำแพงจากนั้นก็ยื่นมือสอดไประหว่างช่องว่าง คุณมีพื้นที่กว้างเท่าไร? หากช่องว่างที่มีนั้นใหญ่ แสดงว่าคุณกำลังมีอาการหลังแอ่น
สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการหลังแอ่น
สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการหลังแอ่นนั้นสามารถจำแนกได้ประมาณ 6 สาเหตุใหญ่ ดังต่อไปนี้
สาเหตุที่ 1
กระดูกเชิงกรานเบี้ยว
สาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้มีอาการหลังแอ่น คือ อาการกระดูกเชิงกรานเบี้ยว เกิดจากช่วงกระดูกเชิงกรานมีการยื่นไปข้างหน้า
กระดูกเชิงกรานที่เอียงไปข้างหน้านั้น อวัยวะโดยรอบก็จะเอียงไปด้านหน้าด้วยเช่นกัน เป็นผลให้จุดศูนย์ถ่วงยื่นไปข้างหน้าและทำให้เอวต้องยื่นไปด้านหน้าด้วยเพื่อความสมดุล
สาเหตุที่ 2
บุคลิกท่าทางไม่ดี
การพยายามแก้ไขความผิดปกติของท่าทางก็เป็นส่วนหนึ่งของอาการหลังแอ่นด้วยเช่นกัน อย่างเช่น พยายามแอ่นอกเพื่อแก้ไขอาการหลังค่อม จริง ๆ แล้วหากทำอย่างนั้นจะทำให้สะโพกแอ่น
การแก้อาการหลังค่อมด้วยวิธีที่ผิดก็ไม่ใช่เรื่องดีเช่นกัน มันจะทำให้คุณมีอาการหลังแอ่นเพิ่มขึ้นอีกด้วย
หากคุณสวมรองเท้าส้นสูง ตั้งครรภ์ หรือเป็นโรคอ้วน ล้วนแล้วแต่จะทำให้คุณมีจุดศูนย์ถ่วงที่โน้มเอียงไปด้านหน้าด้วยเช่นกัน
เมื่อจุดศูนย์ถ่วงโน้มไปด้านหน้าแล้ว ร่างกายของคุณก็จะเอียงไปด้านหน้า และหากคุณพยายามที่จะแอ่นอกสู้แล้วหละก็ คุณจะลงท้ายด้วยอาการหลังแอ่นนั่นเอง
สาเหตุที่ 3
รูปร่างเปลี่ยน
รูปร่างเปลี่ยนที่ไป ไม่ออกกำลังกาย อายุที่มากขึ้น ท้องหรือคลอดลูก ในเวลาแบบนี้นั้นมักจะทำให้มีอาการหลังแอ่นได้ง่าย เมื่อรูปร่างเปลี่ยนไป จุดศูนย์ถ่วงก็จะเปลี่ยนไปตาม เมื่อก้มหรือพยายามทรงตัวมาก ๆ จะทำให้มีอาการหลังแอ่น
สาเหตุที่ 4
กล้ามเนื้อไม่แข็งแรง
เช่นเดียวกับกรณีของรูปร่าง หากคุณขาดการออกกำลังกายเป็นเวลานาน จะทำให้กล้ามเนื้อไม่แข็งแรง นำมาซึ่งอาการหลังแอ่น
หากกล้ามเนื้อที่คอยปกป้องกระดูกเชิงกรานอ่อนแอลงก็จะทำให้ไม่สามารถรั้งตำแหน่งของกระดูกเอาไว้ได้ ทำให้กระดูกเชิงกรานนั้นเอียงไปด้านหน้า จนเกิดอาการหลังแอ่นในที่สุด
สาเหตุที่ 5
ความยืดหยุ่นไม่พอ
การที่ร่างกายขาดความยืดหยุ่นก็เป็นสาเหตุหนึ่งเช่นกัน นอกจากการไม่ออกกำลังกายแล้ว การนั่งทำงานท่าเดิมนาน ๆ ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้กล้ามเนื้อแข็งตัว โดยเฉพาะกล้ามเนื้อบริเวณกระดูกเชิงกรานและต้นขา
สาเหตุที่ 6
ชีวิตประจำวันที่ยุ่งเหยิง
เมื่อมองดูข้อนี้แวบแรกแล้วอาจจะดูไม่เกี่ยวกันเท่าไหร่ แต่ชีวิตประจำวันที่ยุ่งเหยิงนั้นก็เป็นส่วนหนึ่งเช่นกัน
เช่น เมื่อทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์จนน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น หรือการไม่ออกกำลังกาย เป็นสาเหตุทำให้กล้ามเนื้อไม่แข็งแรง
นอกจากนั้นการที่ใส่ส้นสูง หรือ ยืนในท่าเดิม ๆ นาน ๆ ก็ทำให้เกิดอาการหลังแอ่นได้ง่ายเช่นกัน
อาการหลังแอ่นนำมาซึ่งอาการผิดปกติอื่น ๆ เช่น …
ก่อนอื่นต้องรู้ว่าอาการหลังแอ่นทำให้เกิดอาการผิดปกติอื่น ๆ อะไรได้บ้าง
อาการที่ 1 ภาระที่เอว
มนุษย์เราเพียงแค่การเดินก็ทำให้สร้างภาระกับเอวได้แล้ว ทั้งที่เป็นการใช้ชีวิตประจำวันเท่านั้น ในกรณีที่มีอาการเอวบิดเบี้ยว ก็จะยิ่งทำให้เป็นภาระมากขึ้นไปอีก โดยเฉพาะภาระที่กล้ามเนื้อ และข้อต่อในบริเวณดังกล่าว จะยิ่งทำให้มีอาการปวดเรื้อรัง
อาการที่ 2 พุงยื่น
หน้าท้องยื่นออกมาด้านหน้า แม้ด้วยอายุและน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นดูจะเป็นสาเหตุที่ทำให้พุงยื่นก็จริง แต่ความจริงแล้วหากคุณมีอาการ “หลังแอ่น” ก็สามารถทำให้มีอาการพุงยื่นได้เหมือนกัน สาเหตุง่าย ๆ ของอาการพุงยื่น ก็มาจากกระดูกสันหลังช่วงเอวโค้งไปด้านหน้าเท่านั้นเอง และหากมีอาการนี้ต่อไปเรื่อย ๆ จะทำให้เกิดไขมันสะสมได้ง่ายขึ้นมาก ส่งผลให้ท้องป่องอีกด้วย และอาการหลังแอ่นทำให้อวัยวะบริเวณท้องเลื่อนลงด้านล่าง
อาการที่ 3 ขาโก่ง
อาการขาโก่ง มีส่วนมาจากอาการหลังแอ่น ในส่วนของอาการขาโก่ง กระดูกเชิงกรานมักจะโน้มเอียงไปด้านหน้า และเมื่อกระดูกเชิงกรานเอียงไปด้านหน้าก็ทำให้เกิดอาการขาโก่งตามมา
หลาย ๆ คนมักจะคิดว่า อาการขาฉิ่ง (Knock knee) เป็นอาการที่ขาเมื่อยืนเข่าจะชิดกัน แต่บริเวณน่องจนถึงข้อเท้ากางออกไม่สามารถชิดกันได้ เป็นลักษณะขารูปเหมือนตัว X จะเกิดได้ง่ายกว่าขาโก่ง (Bow knee) แต่จริง ๆ แล้ว อาการขาโก่งมีอัตราการเกิดขึ้นมากกว่าถึง 80% การแก้ไขอาการขาโก่งทำได้โดยการยืดกระดูกเชิงกรานที่เอียงให้ตรง
อาการที่ 4 กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานหลวม
กล้ามเนื้อบริเวณอุ้งเชิงกรานนั้นมีความสัมพันธ์กับอาการหลังแอ่นด้วยเหมือนกัน กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานนั้นอยู่ใต้กระดูกเชิงกราน มันมีความเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของท่อปัสสาวะ ช่องคลอด และทวารหนัก เมื่อกล้ามเนื้อนี้คลายตัวหรือหลวม มันจะทำให้มีอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
ซึ่งโดยปกติแล้วกล้ามเนื้อกระดูกเชิงกราน และกระดูกเชิงกรานจะขนานกัน และทำให้ในกรณีกระดูกเชิงกรานโน้มเอียงก็จะทำให้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานเกิดการยืด และหลวมในที่สุด
อาการที่ 5 หลังค่อม
สุดท้ายนี้จะมีใครคิดว่าการที่เรามีอาการหลังแอ่นนั้นจะทำให้มีอาการหลังค่อมด้วย ถ้าคุณมีอาการหลังแอ่นแล้วนั้น ก็จะทำให้มีอาการหลังค่อมได้ง่าย
อาการหลังค่อมไม่ได้แค่ทำให้มีอาการปวดหลังเท่านั้น แต่จะทำให้ปวดไหล่ ปวดคอและปวดศีรษะอีกด้วย ทำให้อยากจะแก้ไขสินะคะ
อาการหลังแอ่นแก้ได้โดยเริ่มจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต
สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาหลังแอ่นมีมากมาย เช่น การขาดการออกกำลังกาย ดังนั้นการที่คุณทบทวนพฤติกรรมการใช้ชีวิตจึงเป็นทางที่ดีที่จะเริ่มปรับปรุงและแก้ไขอาการหลังแอ่น ลองเริ่มจากจุดที่คุณทำได้ก่อนไหม
การทบทวนท่าทาง
คนเรามักจะพยายามแอ่นอกเพื่อแก้ไขบุคลิกท่าทางของตัวเอง แต่จริง ๆ แล้วมันจะให้ผลตรงกันข้าม หากมีอาการหลังแอ่น สิ่งที่ควรทำคือ ทำให้กระดูกเชิงกรานเข้าที่
หันมาออกกำลังกาย
การหันมาออกกำลังกาย เป็นส่วนสำคัญในการแก้ปัญหา การออกกำลังกายจะทำให้กล้ามเนื้อกลับมาแข็งแรง อีกทั้งการออกกำลังกายเป็นประจำยังช่วยให้ร่างกายยืดหยุ่นได้ดีขึ้นอีกด้วย
แก้ไขปัญหา “หลังแอ่น” ได้ง่าย ๆ ด้วยท่ายืดหลัง 4 ท่า ที่คุณทำได้ขณะนอนราบกับพื้น
ท่าที่ 1 ยกแขนแนบหู
- นอนหงาย
- ยกมือขึ้นเหนือศีรษะ
- หงายฝ่ามือ 2 ข้างไว้
- ยกแขนไปให้สุด แขนแนบหูไว้
- ทำกับอีกข้างเหมือนเดิม
มองครั้งแรกดูไม่มีอะไรเกี่ยวกับการรักษาอาการหลังแอ่นเลยใช่ไหม แต่จริง ๆ แล้ว เป็นท่าที่ทำให้คอ หลัง และกระดูกเชิงกรานรู้สึกสดชื่น สำคัญ คือ ต้องไม่ให้เอวลอย ถ้าลอยก็แนะนำให้หาผ้าขนหนูมารองเอาไว้
ท่าที่ 2 บริหารเข่า
- นอนหงาย
- งอเข่า 90 องศา
- ค่อย ๆ แยกและหุบขาทั้งสองข้าง 3 ครั้ง
- งอขาแล้วย้ายไปซ้าย-ขวา ค้างไว้ข้างละ 5 วินาที
- ทำกับอีกข้างเหมือนเดิม
หายใจระหว่างทำ พยายามทำไปอย่างช้า ๆ ระหว่างที่ทำ ให้พยายามกดร่างกายส่วนบน และไหล่ไว้บนพื้น กางแขนออกด้านข้างเพื่อช่วยในการทรงตัว
ท่าที่ 3 ท่ากอดเข่า
- นอนหงาย
- จับต้นขาข้างใดข้างหนึ่ง
- ยกถึงบริเวณอกและแนบอกไว้ ค้าง 5 วินาที
- หันขาข้างหนึ่งไปอีกด้าน
- ยืดแขนข้างเดียวกับขาข้างที่ทำ
- ค้าง 5 วินาที
- ย้ายกลับช้า ๆ
- ทำกับอีกข้างเหมือนเดิม
พยายามอย่าให้เอว และขาลอย การทำจะมีประสิทธิภาพมากเมื่อหายใจเข้าออกช้า ๆ
ท่าที่ 4 ยืดขาไปด้านหน้า
- นั่งเหยียดขา
- งอเข่าไปไว้ที่ก้น
- หายใจพร้อมกับโน้มตัวไปด้านหลัง
- ทำกับอีกข้างเหมือนเดิม
ขณะที่ทำถ้ารู้สึกเจ็บก็ให้หยุด พยายามทำโดยไม่หักโหมเกินไปเพราะร่างกายส่วนบนอาจงอได้ การทำจะมีประสิทธิภาพเมื่อหายใจเข้าออกอย่างช้า ๆ
อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว ไม่ยากเลยใช่ไหมคะ แน่นอนว่ากายบริหารทำครั้งเดียวอาจยังไม่เห็นผลแตกต่างชัดเจนมาก แนะนำให้คุณทำท่าเหล่านี้เป็นประจำทุกวัน เพื่อให้ร่างกายค่อยๆปรับกลับมาสมดุล ตัวตรง หลังไม่แอ่นนะคะ
แต่ถ้าให้ทำทุกวันเราก็อาจจะลืม หรือเราอาจจะยุ่งกับการใช้ชีวิตในแต่ละวัน ที่ต้องแข่งขันกับเวลา เราจึงมีวิธีแนะนำง่าย ๆ ที่ไม่ยุ่งยาก และช่วยประหยัดเวลาไปได้ ให้คุณได้มีเวลาไปทำกิจกรรมอื่นได้อีกด้วย เป็นวิธีที่ง่ายและได้ผลลัพธ์ที่ดีมากเช่นกัน คือการใส่เสื้อกล้ามปรับบุคลิกไว้นั่นเอง!
เสื้อกล้ามปรับบุคลิก Seitai Cami REI
แนะนำ! ใส่แล้วปรับหลังตรง ลดเอวแอ่นเลย!
ออกแบบมาให้ใส่สบาย กระชับพอดีไม่รัดแน่นจนเกินไป ใส่ได้ทั้งวันรวมไปถึงใส่นอนได้ด้วย สวมใส่ง่ายและรวดเร็วมาพร้อมบราในตัว ซัพพอร์ตทุกการเคลื่อนไหว ทำให้บุคลิกสวยสมดุลทุกองศา
3 คุณสมบัติเด่นของเสื้อกล้าม Seitai Cami REI
- 10 วินาทีก็ใส่ได้แล้ว – ออกแบบมาเพื่อความสะดวกสบาย ง่ายและรวดเร็วในทุกครั้งที่สวมใส่
- ใส่เพียงชิ้นเดียวโดยที่ไม่ใส่บรา – เป็นเสื้อกล้ามชั้นในที่มีบราอยู่ภายในตัว
- สวยทุกองศา – ซัพพอร์ตร่างกายส่วนบนในทุกการเคลื่อนไหว ทำให้ดูสวยในทุกองศา
บทสรุป
อาการหลังแอ่นแก้ไขได้ด้วยตัวเอง เพียงปรับพฤติกรรม ฝึกออกกำลังกาย และดูแลสุขภาพ หากมีอาการรุนแรง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสม
เราหวังบทความนี้จะช่วยให้คุณประเมิน และตระหนักถึงร่างกายของคุณ ให้หันมาใส่ใจเรื่องสุขภาพได้ทันเวลา เพราะเรื่องสุขภาพไม่สามารถย้อนกลับมาแก้ไขได้ การรู้และหาตัวช่วยในการรักษาตั้งแต่เริ่มต้น เป็นอาจรักษาสุขภาพในอนาคตให้แข็งแรง