กระดูกเชิงกราน

ยืนอย่างไรไม่ให้หลังแอ่น

หลังแอ่น

แนะนำผู้เขียน

Dr-Kobayashi-หมอกระดูก-kenkoshop

ATSUSHI KOBAYASHI
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านกระดูกและการรักษาอาการหลังค่อม

ผู้เชี่ยวชาญด้านการแก้ไขหลังค่อม, ผู้เชี่ยวชาญด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพกีฬายูโด, อาจารย์ฝังเข็ม, อาจารย์นวดกดจุด ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการคลินิกอายุรกรรม/คลินิกนวดฝังเข็มและนวดกดจุดในเมืองมิยามาเอะ จังหวัดคาวาซากิ  ให้ความสำคัญกับ “การรักษาร่างกายของผู้ป่วยจากต้นตอของปัญหา”  เหนือสิ่งอื่นใด และมุ่งเน้นไปที่ “การแก้ไขอาการหลังค่อม”

「รู้สึกปวดเอว ทั้งๆ ที่ไม่ได้ทำอะไรเลย 」

「หน้าท้องยื่น 」

คุณกำลังกังวลกับอาการปวดเอวหรือการเปลี่ยนแปลงของรูปร่างอยู่หรือเปล่า?

ความกังวลหรือปัญหาเหล่านี้อาจเกิดจาก “หลังแอ่น หรือ กระดูกเชิงกรานเอียงไปข้างหน้า” และผู้หญิงมีแนวโน้มที่หลังจะแอ่นมากกว่าผู้ชายโดยเฉพาะในท่ายืนดูเหมือนว่าจะมีคนที่ยืนหลังแอ่นอยู่มาก

สาเหตุที่ทำให้หลังแอ่นมีอะไรบ้าง? ในครั้งนี้เราจะมาพูดถึงปัญหาที่ทำให้หลังแอ่น หรือกระดูกเชิงกรานเอียงไปข้างหน้ารวมถึงการยืนอย่างไรไม่ให้หลังแอ่น ไปเรียนรู้วิธีปรับกระดูกเชิงกราน รวมถึงปัญหาที่เกิดจากร่างกายและวิธีการยืนที่ถูกต้องให้กระจ่างกันเถอะ

ยาวไป อยากเลือกอ่าน

หลังแอ่นคืออะไร ?

หลังแอ่นคืออะไร

หลังแอ่น เป็นภาวะที่กระดูกเชิงกรานเกิดการบิดงอ บ่งบอกถึงสภาวะที่กระดูกสันหลังมีส่วนเว้าและโค้งจากบริเวณเอวเอียงไปยังช่วงท้องมากกว่าปกติ หลายคนคงคิดว่าบุคลิกภาพที่ไม่ดีคือ มีบุคลิกภาพที่ “หลังค่อม” ซึ่งกระดูกสันหลังงอไปข้างหน้า แต่ว่า หลังแอ่นก็ไม่ใช่บุคลิกภาพที่ดีเช่นเดียวกัน

เนื่องจากกระดูกสันหลังยืดออกอย่างเห็นได้ชัดทำให้ดูเผินๆ ดูเหมือนมีบุคลิกดี แต่ว่าพอมองดีๆ แล้วหน้าท้องยื่นออกไปข้างหน้าและก้นงอนออกไปด้านหลัง การที่หลังแอ่น หรือกระดูกเชิงกรานเอียงไปข้างหน้า หากดูดีๆ แล้วเป็นบุคลิกที่ไม่ดีและเป็นท่าทางที่ช่วงหลังต้องแบกรับภาระมาก

สาเหตุที่ทำให้กระดูกเชิงกรานเอียง

ภาวะหลังแอ่นหรือกระดูกเชิงกรานเอียงไปข้างหน้า อาจเป็นต้นเหตุของปัญหาที่เกิดในทุกส่วนของร่างกาย

คุณมีปัญหาต่อไปนี้หรือไม่?

  • ปวดเอว
  • ขาบวม
  • ขาชา
  • ปวดสะโพก
  • หน้าท้องยื่น

ลักษณะรูปร่างที่หลังแอ่นนั้น ทำให้ช่วงหลังแบกรับภาระอย่างมาก น้ำหนักที่ได้รับนั้นไม่เพียงแต่ทำให้เกิดปัญหาที่หลังส่วนล่างเท่านั้น แต่ยังทำให้ระบบไหลเวียนของเลือดแย่ลงและยังทำให้ขาบวมอีกด้วย ถ้ามีอาการรุนแรงขึ้น จะทำให้เลือดไหลเวียนไม่ดีส่งผลให้กล้ามเนื้อตึงขึ้น นำไปสู่อาการชาและอาการปวดสะโพก

นอกจากนี้ ในกรณีที่หน้าท้องยื่น ทั้งๆ ที่น้ำหนักไม่ได้เพิ่มแล้วก็ไม่ได้อ้วนจนเกินไป อาจมีสาเหตุมาจากหลังที่แอ่นเช่นกัน เพราะในขณะที่หลังแอ่น เมื่ออยู่ในท่ายืนหน้าท้องจะยื่นออกมาด้านหน้า หลังแอ่นไม่เพียงแต่ทำให้เกิดปัญหาต่างๆ แต่ยังส่งผลต่อบุคลิกภาพอีกด้วย

เช็คหลังแอ่นง่ายๆ ภายใน 5 วินาที

หลังของคุณแอ่นหรือไม่? มาเช็คกันง่ายๆ ภายใน 5 วินาที

1. ถอดรองเท้าแล้วยืนห่างออกจากผนัง 5 เซนติเมตร

2. หันหลังเข้าหาผนัง ให้หัว หลัง ก้นชิดกับผนัง

3. สอดมือเข้าไประหว่างเอวกับผนัง เช็คดูว่ามีช่องว่างมากแค่ไหน

กรณีที่ทำข้อ 3 แล้วมีพื้นที่ให้มือสอดเข้าไปได้อย่างง่ายดาย มีความเป็นไปได้สูงว่าหลังแอ่น

หากตรวจสอบในท่ายืนยากก็สามารถตรวจสอบในท่านอนหงายได้เช่นกัน

ท่าต่อไปนี้สามารถตรวจสอบหลังแอ่นได้เช่นกัน

  • ให้นอนหงายและทำมือเป็นกำปั้นสอดเข้าไปในช่องว่างระหว่างเอวกับพื้น

  • เวลานอนหงายแล้วต้องชันเข่าขึ้นถึงจะรู้สึกสบาย

6 สาเหตุที่ทำให้หลังแอ่น

สาเหตุหลักๆ ที่ทำให้หลังแอ่นมีอยู่  6 สาเหตุด้วยกัน แต่อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนไม่ได้เกิดจากแค่สาเหตุเดียว แต่มีสาเหตุต่างๆ มากมายทับซ้อนกันที่ทำให้เกิดอาการหลังแอ่น ด้วย

อาการปวดหลัง ปวดสะโพก

1.กระดูกเชิงกรานเบี้ยว

กระดูกเชิงกรานเรียกได้ว่าเป็นฐานของร่างกายของพวกเรา แต่เดิม ลักษณะที่ถูกต้องของกระดูกเชิงกรานคือ ตั้งตรงแต่จะบิดไปทางซ้าย-ขวาเล็กน้อย ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าสาเหตุหลักอันดับ 1 ที่ทำให้หลังแอ่นนั้นเกิดจากการเบี้ยวของกระดูกเชิงกราน

| หลังแอ่น คือ “กระดูกเชิงกรานเอียงไปข้างหน้า”

หากกระดูกเชิงกรานเอียงไปข้างหน้าจะทำให้หลังแอ่น

เมื่อยืนขึ้นร่างกายพยายามตั้งหลังให้ตรง โดยจะอยู่ในลักษณะที่ร่างกายท่อนบนเอียงไปข้างหน้าพร้อมกับกระดูกเชิงกราน ส่งผลให้กระดูกเชิงกรานเอียงไปข้างหน้า ทำให้หลังโค้งตามไปด้วย จึงเกิดเป็นภาวะหลังแอ่นนั่นเอง

สาเหตุหลักที่ทำให้หลังแอ่นมีดังต่อไปนี้

  • ใส่รองเท้าส้นสูง
  • การตั้งครรภ์ทำให้ท้องยื่นไปข้างหน้า
  • อุ้มลูกไว้ข้างหน้าเป็นระยะเวลานาน

เป็นภาวะที่ร่างกายพยายามสร้างสมดุลด้วยการใช้เอว ทำให้ตัวเอียงไปด้านหน้า สาเหตุเหล่านี้ทำให้เข้าใจได้ว่าผู้หญิงจะหลังแอ่นมากกว่าผู้ชาย และแน่นอนว่าไม่ใช่แค่การตั้งครรภ์ ถ้าหน้าท้องยื่นจากความอ้วน หรือชอบใช้สมาร์ทโฟนหรือนั่งทำงานที่โต๊ะเป็นเวลานาน จะทำให้จุดศูนย์ถ่วงเอียงไปข้างหน้าง่ายได้ขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเพศใดก็ตามก็มีแนวโน้มที่กระดูกเชิงกรานจะเอียงไปข้างหน้าเช่นกัน

2. บุคลิกภาพไม่ดี

ท่าทางที่ไม่ถูกต้องเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้หลังแอ่น มีความเกี่ยวข้องกันกับกระดูกเชิงกรานเบี้ยว

ถ้าพูดถึงบุคลิกภาพที่ไม่ดีหลายคนก็มักจะนึกถึงหลังค่อมใช่ไหมล่ะ หากบังคับให้กระดูกสันหลังยื่นไปด้านหลัง กระดูกเชิงกรานก็จะโค้งงออย่างผิดธรรมชาติได้ง่ายๆ

แต่การใส่รองเท้าส้นสูงที่ผู้หญิงหลายท่านคิดว่าทำให้บุคลิกภาพดีขึ้นนั้น ก็เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ตัวโน้มไปข้างหน้าได้ง่ายเช่นกัน ผลจากการพยายามสร้างสมดุลโดยการแอ่นหลังเพื่อไม่ให้ร่างกายล้มไปข้างหน้า จะทำให้หลังแอ่นได้นั่นเอง

3. การเปลี่ยนแปลงรูปร่าง

หากหน้าท้องยื่นไปข้างหน้าเนื่องจากตั้งครรภ์หรืออ้วน หรือมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ตำแหน่งจุดศูนย์ถ่วงของร่างกายจะเปลี่ยนแปลงไป หากจุดศูนย์ถ่วงเอียงไปข้างหน้า กระดูกเชิงกรานจะเอียงตามไปข้างหน้าได้ ร่างกายจึงพยายามแอ่นหลังเพื่อรักษาสมดุล

4. ขาดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ

หากความแข็งแรงของกล้ามเนื้อไม่เพียงพอ อาจทำให้หลังแอ่นได้

โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากกล้ามเนื้อรอบๆ ช่องท้อง อย่างเช่น กล้ามเนื้อ Rectus abdominis ที่รองรับช่วงหน้าท้อง หรือกล้ามเนื้อ Illiopsoas ที่เป็นกล้ามเนื้อภายในเกิดการอ่อนแอลง กระดูกเชิงกรานก็จะแปรสภาพเอียงไปด้านหน้าได้อย่างง่ายดาย

กล้ามเนื้อเหล่านี้จะลดน้อยลงหากขาดการออกกำลังกายหรือมีอายุมากขึ้น โดยเฉพาะผู้หญิงโดยกำเนิดแล้วจะสร้างกล้ามเนื้อได้ยากกว่าผู้ชาย เรื่องนี้ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ที่ผู้หญิงมักจะหลังแอ่นด้วยเช่นกัน

5. ขาดความยืดหยุ่น

หากขาดการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องไม่เพียงพอ ไม่เพียงแต่ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแอลง แต่ยังทำให้ความยืดหยุ่นของร่างกายลดน้อยลงอีกด้วย

โดยเฉพาะกล้ามเนื้อช่วงหลังจะแข็งตึง ทำให้เคลื่อนไหวไม่ได้ตามปกติและขาดความยืดหยุ่น กล้ามเนื้อหลังที่ตึงจะดันหน้าท้องที่อ่อนแอไปด้านหน้า เชื่อมโยงกับสาเหตุที่ทำให้กระดูกเชิงกรานเอียงไปข้างหน้า ถ้าหากไม่คลายกล้ามเนื้อที่แข็งตึงให้อ่อนลงโดยการยืดแล้วล่ะก็ จะทำให้หลังแอ่นมากขึ้น ยากที่จะกลับสู่สภาพที่ถูกต้อง

6. ไลฟ์สไตล์ที่ไม่เป็นระเบียบ

ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตที่อยู่ท่าเดิมนานๆ หรือ ขาดการออกกำลังกายก็เป็นสาเหตุที่ทำให้หลังแอ่น บางครั้งตัวก็โน้มไปข้างหน้าเพราะนั่งทำงานที่โต๊ะทั้งวัน หรือใช้โทรศัพท์มือถือต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานๆ ใช่หรือไม่?

การทำท่าทางเหล่านี้เป็นสาเหตุที่ทำให้ช่วงหลังตึงและกระดูกเชิงกรานเอียงไปข้างหน้าได้ง่ายๆ การขาดความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อดังที่กล่าวไว้ข้างต้นก็มีความเกี่ยวข้องกับไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตปกติของคุณเป็นอย่างมาก

การยืนเพื่อแก้ไขหลังแอ่น

เพื่อแก้ไขหลังแอ่น ก่อนอื่นมาลองตรวจสอบท่ายืนปกติของคุณกันเถอะ

วิธีการยืนนั้น ถึงแม้จะรู้ Point ในการยืนที่ถูกต้อง แต่ก็เป็นเรื่องยากที่จะแก้ไขได้ในทันที เนื่องจากเป็นสิ่งที่ติดเป็นนิสัยมานานหลายปี

ท่ายืนมือเท้าสะเอว

Point ในการยืนเพื่อแก้ไขหลังแอ่น

มาทำความรู้จักกับ Point ทั้ง 4 ข้อกันเถอะ

  1. ยืนขึ้น กางขา วางเท้าทั้งสองข้างให้ห่างกัน 1 กำปั้น หันนิ้วเท้าออกด้านนอก
  2. เลื่อนศรีษะกลับไปที่ลำคอ
  3. ผ่อนคลายช่วงบน ตั้งสติให้ช่วงลำคอลงไปถึงส้นเท้าตรงเป็นเส้นตรง
  4. พยายามทำให้จุดศูนย์ถ่วงเท่ากัน ลงน้ำหนักที่เท้าให้เท่ากันทั้งสองข้าง
ถ้าหันนิ้วเท้าออกไปด้านนอก จะทำให้กระดูกสันหลังตั้งตรงจากกระดูกเชิงกรานได้ง่ายขึ้น และยังทำให้สะโพกกระชับขึ้น ดูเป็นธรรมชาติมากขึ้น นอกจากนี้ให้ระวังตำแหน่งโดยดึงศีรษะกลับมาที่คอ ไม่ใช่ปรับท่าทางโดยการแอ่นกระดูกสันหลัง ให้ระดับสายตามองเฉียงขึ้นเล็กน้อย เปิดอกผายตามธรรมชาติเพื่อปรับรูปหลังที่ค่อมและไหล่ที่งุ้มไปข้างหน้า Point ต่อไปก็คือการมีสติทำให้ลำคอและส้นเท้าตรงกันเป็นเส้นตรง ถ้าพยายามฝืนทำท่าให้ถูกมากเกินไป ไหล่จะเกร็งขึ้นมาได้ง่าย ดังนั้นให้ค่อยๆ ทำ ผ่อนคลายเข้าไว้ จุดศูนย์ถ่วงจะต้องไม่เอียงไปทางซ้ายขวาหน้าหลัง และมีสติในการยืนลงน้ำหนักไปที่เท้าให้เท่ากันทั้งสองข้าง หลังจากนั้นลองตรวจสอบโดยหันด้านข้างแล้วส่องดูในกระจกว่าหลังที่แอ่นดีขึ้นแล้วหรือไม่

|「กางเกงชั้นใน NEO+」ช่วยซัพพอร์ตกระดูกเชิงกราน

อยากมีสติ และปรับท่ายืนของตนองให้ถูกต้องตลอดเวลา เพื่อให้กระดูกเชิงกรานที่บิดงอนั้นกลับมาอยู่ในตำแหน่งเดิม แต่ก็ลืมตัวทุกที กลับไปยืนหลังค่อยเหมือนเดิม ทำไงดี?

เวลาแบบนี้ ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยดูแลกระดูกเชิงกรานมีประโยชน์มาก หากปรับกระดูกเชิงกรานที่งอไปข้างหน้าซึ่งเป็นสาเหตุหลักของหลังแอ่นให้กลับมาอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง จะช่วยป้องกันกระดูกเชิงกรานบิดงอและลดภาระของช่วงหลังได้

เราขอแนะนำ  กางเกงชั้นใน NEO+ ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยดูแลกระดูกเชิงกราน

เป็นผลิตภัณฑ์ช่วยซัพพอร์ตกระดูกเชิงกรานให้ยกกระชับขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติ เพียงแค่เปลี่ยนจากกางเกงชั้นในธรรมดา มาสวมกางเกงชั้นใน NEO+

ช่วยให้กระดูกเชิงกรานอยู่ตำแหน่งที่ถูกต้อง ปรับสรีระของหลังที่แอ่น ให้กลับมาตรงได้อย่างไม่ต้องพยายาม และช่วยลดภาระของหลัง หน้าท้องที่ยื่น และทำให้หลังที่แอ่นกลับมาตรงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

สุดท้ายนี้

ผู้หญิงสวมหมวกยืนมอง

เราได้รู้แล้วว่าปัญหาของทุกส่วนในร่างกายเกิดจากหลังแอ่น โดยเฉพาะผู้หญิงมีแนวโน้มหลังแอ่นได้มากกว่าจากการใส่รองเท้าส้นสูง และการเปลี่ยนแปลงของหน้าท้องที่ใหญ่ขึ้นจากการตั้งครรภ์ เพราะฉะนั้นสำคัญมากที่จะต้องรู้วิธีจัดการกับปัญหาที่ทำให้หลังแอ่นอย่างถูกต้อง

กระดูกเชิงกรานเอียงเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้หลังแอ่นจึงต้องหมั่นดูแลและระมัดระวังอย่างสม่ำเสมอ

หากใส่กางเกงชั้นใน NEO+ ที่ช่วยจัดกระดูกเชิงกรานให้อยู่ในตำแหน่งปกติ ก็จะทำให้ยืนได้อย่างถูกต้องง่ายยิ่งขึ้น มาเริ่มทบทวนท่ายืนและดูแลกระดูกเชิงกรานอย่างเป็นประจำกันเถอะครับ เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณเอง

ให้กระดูกเชิงกรานของคุณอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง โดยไม่ต้องพยายาม

กางเกงชั้นใน Seitai Short Neo+

฿2,600.00
กางเกงชั้นใน Seitai Short Neo+ “กางเกงชั้นในช่วยให้บุคลิกภาพของคุณดีขึ้นโดยไม่ต้องพยายาม!”
  • ยกกระชับกระดูกเชิงกรานอย่างถูกวิธี
  • สวมใส่สบายตลอดวัน แม้ในเวลาเข้านอนตอนกลางคืน
  • สวมใส่แล้วไม่เห็นรอยต่อ
ดูวิดีโอวิธีวัดไซส์ได้ที่นี่: https://youtu.be/0-QFv__m_k0
ไซส์ รอบสะโพก สี
S 82-90cm ดำ
M 87-95cm ดำ,เบจ
L 92-100cm ดำ,เบจ
LL 97-105cm ดำ,เบจ
3L 102-110cm ดำ,เบจ
เลือกรูปแบบ This product has multiple variants. The options may be chosen on the product page

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *