“ตอนนี้ฉันกำลังเข้ารับการบำบัดรักษาโรคนอนไม่หลับอยู่ แต่รู้สึกว่าผลลัพธ์ที่ได้ไม่ค่อยเป็นไปอย่างที่ใจต้องการสักเท่าไหร่”
“ก่อนหน้านี้ ฉันเคยเข้ารับการบำบัดรักษาโรคนอนไม่หลับ และหายดีแล้ว แต่ตอนนี้ฉันก็กลับมาเป็นเหมือนเดิมอีก”
คิดว่ามีบางกรณีเช่นนี้อย่างแน่นอนในเคสของผู้ที่เป็นโรคนอนไม่หลับ
หากเกิดกรณีเช่นนี้ คิดว่าควรเข้ารับการบำบัดรักษาโรคนอนไม่หลับด้วยวิธีอื่น เพราะในปัจจุบันก็มีการรักษาอื่นที่แตกต่างกันออกไป
ดังนั้น ในครั้งนี้จะขอนำเสนอให้ทราบเกี่ยวกับการรักษาโรคนอนไม่หลับ โดยวิธีการแพทย์แผนตะวันออก
แนะนำผู้เขียน
Hiromi Kurihara
Senior sleep health instructor
อาจารย์อาวุโสด้านสุขภาพและการนอนหลับ จบจากสถาบัน Japan Sleep Education System ประเทศญี่ปุ่น โดยมีแนวคิดที่ว่า “การนอนหลับเป็นจุดเริ่มต้นของชีวิต” ปัจจุบันดำรงตำแหน่งกรรมการบริหาร Kenko Shop มุ่งเน้นให้คนไทยตระหนักถึงความสำคัญของการนอนและค้นหาเครื่องนอนสุขภาพจากญี่ปุ่นส่งถึงมือชาวไทย
ยาวไป อยากเลือกอ่าน
การแพทย์แผนตะวันออกคืออะไร?
คิดว่าหลายๆ คนยังคงไม่ค่อยทราบว่า “การแพทย์แผนตะวันออกมีจุดเริ่มต้นมาอย่างไร” ดังนั้น ก่อนอื่นเลยจะอธิบายเรื่องของการแพทย์แผนตะวันออกที่เข้าใจยากๆ ให้เข้าใจง่ายๆ เริ่มกันเลย!!
การแพทย์แผนตะวันออก มีจุดกำเนิดในจีนเมื่อ 2,000 กว่าปีที่แล้ว และพัฒนาในแถบเอเชียเป็นหลัก เช่น ญี่ปุ่น จีน และเกาหลีใต้
ในขณะที่การแพทย์แผนตะวันตก เป็นวิธีการรักษาที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับบริเวณที่เป็นแผล โดยการทานยา และการผ่าตัด แต่การแพทย์แผนตะวันออก การรักษาจะมีพื้นฐานมาจากแนวความคิดที่ว่ารักษาอาการเจ็บป่วยจากภายในร่างกาย
อีกลักษณะเด่น ของการแพทย์แผนตะวันออก คือ ไม่เพียงแต่เป็นการรักษาอาการเจ็บป่วยเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการป้องกันจากอาการเจ็บป่วยอีกด้วย
นอกจากนี้ การแพทย์แผนตะวันออกยังได้รับเอาแนวคิดอวัยวะต้นทั้ง 5 ของศาสตร์การแพทย์แผนจีนมา ซึ่งมีแนวความคิดที่ไม่เหมือนใคร โดยจะวิเคราะห์สาเหตุของการเกิดโรค ซึ่งแบ่งองค์ประกอบออกเป็น 5 ส่วน ดังนี้
ตับ : ระบบประสาทส่วนกลางและการหมุนเวียนส่วนปลาย
หัวใจ : ระบบไหลเวียนเลือด และเส้นประสาทสมองส่วนควบคุมความรู้สึก
ม้าม : ระบบย่อยอาหาร และดูดซึมสารอาหาร
ปอด : ระบบการหายใจ และระบบภูมิคุ้มกัน
ไต : ระบบอวัยวะสืบพันธุ์ และฮอร์โมน
องค์ประกอบทั้ง 5 ส่วนนี้ แต่ละส่วนจะเกี่ยวข้องกับระบบต่างๆ ในร่างกายที่แตกต่างกันออกไป หากส่วนใดส่วนหนึ่งผิดปกติ กล่าวได้ว่า เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ความสมดุลทั่วร่างกายผิดปกติได้ด้วยเช่นกัน
วิธีการรักษาตามหลักแพทย์แผนตะวันออกเป็นอยางไร?
วิธีการรักษาตามหลักแพทย์แผนตะวันตกที่เราทราบกันดีอยู่แล้วว่าจะเป็นเกี่ยวกับการทานยา และการผ่าตัด แล้ววิธีการรักษาตามหลักแพทย์แผนตะวันออกล่ะเป็นอย่างไร? ดังนั้น หัวข้อถัดไปจะพูดถึงเกี่ยวกับประเด็นนี้ค่ะ
การฝังเข็ม
อันดับแรกที่ไม่พูดถึงไม่ได้เลย เพราะการรักษาด้วยวิธีนี้หลายคนคงอาจได้ยินกันมาแล้วบ้าง นั่นคือ การฝังเข็ม นั่นเองค่ะ
ในร่างกายของคนเรามีจุดฝังเข็ม 361 จุดทั่วร่างกาย และยังได้รับการยอมรับจากองค์การอนามัยโลก (World Health Organization; WHO) ว่าการฝังเข็มจะช่วยให้อาการป่วย หรือโรคที่เป็นอยู่จะค่อยๆ ดีขึ้น ด้วยการรักษาที่ใช้แก้ว และเข็มแทงลงไปยังจุดสำคัญในร่างกายตรงที่ฝังเข็ม
บางท่านอาจมีความรู้สึกกังวล และสงสัยว่า “การฝังเข็ม ช่วยให้ร่างกายฟื้นสภาพดีขึ้นจริงไหมนะ?”
ซึ่งต้องบอกก่อนว่าแต่เดิมแล้วคนเรามีพลังการบำบัดรักษาอาการเจ็บป่วย และบาดเจ็บตามธรรมชาติอยู่ในตัว
โดยการฝังเข็มมีจุดมุ่งหมาย คือ กระตุ้นการรักษาตามธรรมชาติของร่างกาย โดยการเจาะจุดฝังเข็มที่เหมาะสมด้วยภาพลวงตาว่า “เซลล์ถูกทำลาย และต้องได้รับการซ่อมแซม”
สมุนไพรจีน
วิธีการรักษาแบบถัดไป คือ การรักษาด้วยสมุนไพรจีน
สมุนไพรจีน เป็นวิธีการรักษาโรคโดยการใช้พฤกษชาติ สัตว์ป่า และแร่ธาตุที่มีอยู่ในธรรมชาติ มาทำเป็นยา
ข้อดีของสมุนไพรจีน คือ ไม่ค่อยมีผลข้างเคียงเหมือนยาทั่วไป และเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพร่างกายที่ค่อยๆ ดีขึ้น ฮอร์โมนจะถูกปรับให้กลับมาทำงานอย่างสมดุล อีกทั้งยังมีประสิทธิภาพส่งผลดีให้หายจากอาการหรือโรคที่ไม่ทราบสาเหตุ
อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบกับการรักษาแบบแพทย์แผนตะวันตกแล้ว จะมีจุดด้อย คือ ใช้เวลานานในการฟื้นฟูร่างกายให้ค่อยๆ ดีขึ้น
การกดจุด
อันดับที่ 3 คือ การกดจุด เป็นวิธีการรักษาที่คล้ายกับการฝังเข็ม และครอบแก้วที่ได้กล่าวไปก่อนหน้านี้ เป็นแนวคิดการรักษาโรคที่จะกระตุ้นด้วยการใช้มือ และนิ้วกดไปตามจุดทั่วร่างกาย
ข้อดีของการกดจุดไม่เพียงแต่กระตุ้นจุดในร่างกายเท่านั้น ยังช่วยคลายกล้ามเนื้อและกระดูก ดังนี้
・ทำให้การทำงานของกล้ามเนื้อ และกระดูกข้อต่อยืดหยุ่น
・กระดูกข้อต่อมีการเคลื่อนไหวขยายได้กว้างมากขึ้น
・ผ่อนคลายกล้ามเนื้อที่ตึง และบรรเทาความปวด
・ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดี และลำเลียงสารอาหารในร่างกายได้ง่าย
・ปรับปรุงการไหลเวียนของต่อมน้ำเหลือง และช่วยในการขับสารของเสียออกจากร่างกายได้ง่ายขึ้น
・ป้องกันเส้นประสาทที่ถูกกระแสไฟฟ้ากระตุ้นเพื่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และช่วยบรรเทาอาการปวดของส่วนที่ถูกทำลาย
วิธีการรักษาโรคนอนไม่หลับตามหลักการแพทย์แผนตะวันออก
โรคนอนไม่หลับ เป็นโรคที่มีอาการ และสาเหตุแตกต่างกันออกไป อีกทั้งยังมีวิธีการรักษามากกว่า 1 วิธี จึงไม่เป็นที่น่าแปลกใจ หากการแพทย์แผนตะวันออกจะมีวิธีการรักษาหลากหลายเช่นเดียวกัน
หัวข้อถัดไปนี้ จะนำเสนอเรื่องวิธีการรักษาโรคนอนไม่หลับตามหลักการแพทย์แผนตะวันออกตามกลุ่มอาการ ให้ทุกท่านได้ทราบกันค่ะ
ภาวะไฟหัวใจแกร่งเกิน
ภาวะไฟหัวใจแกร่งเกินเป็นภาวะที่ทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับ เนื่องจากผลของไฟหัวใจที่มีการสะสมความร้อนและส่งผลกระทบต่อภาวะทางจิตใจ
หากจะกล่าวให้เข้าใจง่ายๆ นั้น กล่าวได้ว่ามีสาเหตุมาจากความเครียดนั่นเอง!!
นอกเหนือจากอาการนอนไม่หลับอาจพบอาการอื่นๆ ร่วม ดังนี้
- ฝันบ่อย (ตื่นง่าย = มีเสียงอะไรนิดหน่อยก็ตื่น)
- หงุดหงิด, ฉุนเฉียวง่าย
- ชีพจรหัวใจเต้นเร็ว
- เป็นแผลที่ลิ้นหรือในปาก (ร้อนใน, ปากอักเสบ เป็นต้น)
ตามหลักของแพทย์แผนตะวันออกในการรักษาอาการเหล่านี้ คือ สัมผัสจุดบริเวณตรงกลางสะบัก ชีพจรที่ข้อมือจากนั้นดื่มยาสมุนไพรจีน Orengedokuto และ Sankoshoshinto และหากทานวัตถุดิบเหล่านี้ควบคู่ไปด้วย จะส่งผลลัพธ์ให้ดียิ่งขึ้นด้วย ได้แก่ ตั้งโอ๋, ขึ้นฉ่ายฝรั่ง, ผักเซเลอรี่, ชาเขียวญี่ปุ่น, มะเขือเทศ, รากบัว, ถั่วอะซูกิ(ถั่วแดง), แปะฮะ
ภาวะชี่ของตับไหลเวียนแกร่งมากเกินไป
ภาวะชี่ของตับไหลเวียนแกร่งมากเกินไป เป็นภาวะอีกรูปแบบหนึ่งที่ส่งผลทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับ และยังแสดงอาการอื่นๆ ร่วมออกมานอกเหนือจากอาการนอนไม่หลับ ดังนี้
- ภาวะทางอารมณ์ หงุดหงิด, ฉุนเฉียวง่าย
- มือเท้าเย็น
- ปวดหัว
- มีเลือดคั่งบริเวณตา (ตาแดง)
วิธีในการรักษาภาวะชี่ของตับไหลเวียนแกร่งมากเกินไป คือ ดื่มยาสมุนไพรจีน Saikokaryukotsuboi-to และ Kamishouyousan หากทานวัตถุดิบเหล่านี้ควบคู่กับการรักษาจะยิ่งส่งผลดีมากยิ่งขึ้น ได้แก่ มินต์, มะลิ, ชาเขียว , ตั้งโอ๋, ขึ้นฉ่ายฝรั่ง, เต้าหู้, มะเขือเทศ
เสมหะร้อนรบกวนภายใน
ถัดไป คือ เสมหะร้อนรบกวนภายใน มีการรักษาอย่างไร ไปดูกัน!!
ภาวะติดขัดเสมหะอุดตั้น หรืออาการเสมหะร้อนรบกวนหัวใจ เกิดจากการทานของหวาน อาหารรสจัดและแอลกอฮอล์มากเกินไป ส่งผลให้ร่างกายสะสมของเสียเรื่อยๆ จนทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับได้ในที่สุด
นอกเหนือจากอาการนอนไม่หลับ ยังแสดงอาการอื่นๆ ออกมาร่วมด้วย ดังนี้
- สะดุ้งตื่นกลางดึก
- ฝันบ่อย (ตื่นง่าย = มีเสียงอะไรนิดหน่อยก็ตื่น)
- รู้สึกวิตกกังวล
- มีเสมหะ
- ปวดหัว
วิธีการรักษาภาวะติดขัดเสมหะอุดตั้น หรืออาการเสมหะร้อนรบกวนหัวใจ คือ นวดกดจุดบริเวณน่องขาด้านนอก และบริเวณเท้าระหว่างนิ้วชี้กับนิ้วนาง ดื่มยาสมุนไพรจีน Chikujoontantou ขณะที่ยังร้อนอุ่นๆ
และหากทานสารอาหารจากวัตถุดิบเหล่านี้ควบคู่ไปด้วย จะส่งผลที่ดีต่อร่างกายมากยิ่งขึ้น ได้แก่, แตงกวา, แตงโม, ฟักเขียว, ลูกเดือย, ถั่วเขียว, เผือก, ถั่วอะซูกิ (ถั่วแดง)
ภาวะถุงน้ำดีพร่อง (ชี่หัวใจและถุงน้ำดีพร่อง)
ภาวะถุงน้ำดีพร่อง เป็นภาวะที่ทำให้ลดความสามารถในการคิดและตัดสินใจอันเนื่องมาจากความวิตกกังวล และถึงแม้ว่าคุณจะหลับไปแล้วแต่คุณจะสะดุ้งตื่นขึ้นมาได้อย่างง่ายเพียงมีสิ่งเร้ามากระทบเล็กน้อย
อีกทั้งยังมีอาการอื่นร่วมด้วย ดังนี้
- ฝันร้ายง่าย
- วิงเวียนศีรษะ
- ชีพจรหัวใจเต้นเร็ว
วิธีการรักษาภาวะถุงน้ำดีพร่องที่ได้ผลดีเลยก็คือ กดจุดบริเวณกลางหลังและหน้าเท้าส่วนกลาง และเพื่อเพิมประสิทธิภาพให้ดียิ่งขึ้นให้ดื่มยาสมุนไพรจีน Sansoninto ควบคู่ด้วย
นอกจากนี้ หากได้รับคุณประโยชน์จากวัตถุดิบเหล่านี้ ก็จะยิ่งส่งผลดีต่อร่างกายมากยิ่งขึ้น ได้แก่, ข้าวสาลี, นม, หอยนางรม, ไข่, ลิ้นจี่, ถั่วลิสง, เต้าหู้
ภาวะหัวใจและม้ามพร่อง
ภาวะหัวใจและม้ามพร่อง เป็นภาวะที่ทำให้นอนไม่หลับเช่นกันซึ่งมีสาเหตุมาจากความไม่มั่นคงทางอารมณ์ของจิตใจ ซึ่งเกิดการขาดเลือดที่จำเป็นต่อร่างกายจึงทำให้เหนื่อยล้าและเป็นโรคโลหิตจาง
และยังมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย ดังต่อไปนี้
- ง่วงนอนระหว่างวัน
- ใจสั่น
- หลงลืมง่าย (ขั้นรุนแรง)
- รู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยล้า ตลอด
- วิงเวียนศีรษะ
สำหรับภาวะหัวใจ และม้ามพร่องแนะนำให้กดจุดบริเวณใต้หัวเข่าและบริเวณเหนือตุ่มข้อเท้า 3 นิ้ว ดื่มยาสมุนไพรจีนดังต่อไปนี้ ได้แก่ Kihitou และ Ninjinyoueito
หากได้รับคุณประโยชน์จากวัตถุดิบเหล่านี้ ก็จะยิ่งส่งผลดีต่อร่างกายมากยิ่งขึ้น ได้แก่, ข้าวสาลี, นม, หอยนางรม, ไข่, แครอท, ปวยเล้ง, ลิ้นจี่, ถั่วลิสง
ภาวะหัวใจและไตไม่ประสาน
และลำดับสุดท้าย คือ ภาวะหัวใจและไตไม่ประสาน
ภาวะหัวใจและไตไม่ประสานมีผลกระทบโดยตรงมาจากอายุที่มากขึ้นและการทำงานหนักมากเกินไป หรือบางครั้งก็เกิดจากความคิดวิตกกังวล ทำให้สารเหลวในร่างกายไม่เพียงพอ เกิดความร้อนสะสมในร่างกาย ส่งผลให้มีอาการนอนไม่หลับในที่สุด
และยังมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย ดังต่อไปนี้
- ใจสั่น
- ตกใจง่าย
- อาการมีเสียงดังในหู
- หลงลืมง่าย (ขั้นรุนแรง)
- ปวดเมื่อยขาและเอว
- ฝ่ามือฝ่าเท้าร้อนวูบวาบ
- เป็นแผลที่ลิ้นหรือในปาก (ร้อนใน, ปากอักเสบ เป็นต้น)
สำหรับแนวทางการรักษาภาวะหัวใจและไตไม่ประสาน คือ กดจุดบริเวณรอยพับข้อมือด้านนิ้วก้อยและบริเวณเอวด้านหลัง ควบคู่ไปกับการดื่มยาสมุนไพรจีน คือ ยาTennouhoshingan และ ยา Orengedokuto
และหากได้รับคุณประโยชน์จากวัตถุดิบเหล่านี้ ก็จะยิ่งส่งผลดีต่อร่างกายมากยิ่งขึ้น ได้แก่ นม, หอยนางรม, เนื้อหมู, เนื้อเป็ด, แตงกวา, มะเขือเทศ, เม็ดบัว
สรุป
ในครั้งนี้ ได้นำเสนอให้ทุกคนได้ทราบเกี่ยวกับความสัมพัธ์ของโรคนอนไม่หลับกับแนวทางการรักษาตามหลักการแพทย์แผนตะวันออกไปแล้ว
การแพทย์แผนตะวันออกมีจุดที่ด้อยกว่าการแพทย์แผนตะวันตกคือ มีผลช้ากว้า แต่มีข้อได้เปรียบคือ กระตุ้นพลังงานและบำบัดรักษาตามธรรมชาติ รวมถึงฟื้นฟูร่างกายด้วยแหล่งอาหารและวัตถุิบที่มีคุณประโยช์ต่อร่างกาย
หากคุณกำลังทุกข์ทรมานจากอาการนอนไม่หลับที่ไม่หายไปสักที วิธีแก้ปัญหาให้ดีคือการลงมือทำและควบคู่กับการใช้้วัตถุดิบที่ได้นำเสนอไปดังข้างต้น มาลองดูกัน!!