มารู้จักกลไกการนอนหลับของร่างกาย เพื่อปรับความสมดุลให้ร่างกายกัน
คนเราเข้านอนและตื่นนอน ในเวลาเดิมทุกวัน จังหวะการนอนหลับที่สม่ำเสมอดังกล่าวเกิดจากความสมดุลระหว่าง “ความต้องการนอนหลับ” เนื่องจากความเหนื่อยล้าและ “พลังตื่น” ที่ควบคุมโดยนาฬิกาชีวิต และเพื่อการรักษาสุขภาพการนอนให้ดี ระบบการทำงานทางชีวภาพของร่างกาย เช่น ระบบประสาทส่วนกลาง และ ระบบฮอร์โมนจะถูกขับเคลื่อนในเวลากลางคืน
การนอนหลับมีวงจรได้แก่ “การนอนหลับช่วง REM” สำหรับความฝัน และ “ช่วงพักของสมอง (Non REM Sleep)” สำหรับการพักผ่อน สมองจะผันผวนเป็นวัฏจักรประมาณ 90 นาที ก่อนที่จะค่อย ๆ เตรียมตื่นในตอนเช้า
Table of Contents
แนะนำผู้เขียน
Hiromi Kurihara
Senior sleep health instructor
อาจารย์อาวุโสด้านสุขภาพและการนอนหลับ จบจากสถาบัน Japan Sleep Education System ประเทศญี่ปุ่น โดยมีแนวคิดที่ว่า “การนอนหลับเป็นจุดเริ่มต้นของชีวิต” ปัจจุบันดำรงตำแหน่งกรรมการบริหาร Kenko Shop มุ่งเน้นให้คนไทยตระหนักถึงความสำคัญของการนอนและค้นหาเครื่องนอนสุขภาพจากญี่ปุ่นส่งถึงมือชาวไทย
จังหวะการนอน และการตื่นนอน
โดยปกติคนเราจะหลับเวลาเดิมทุกวัน และตื่นตามธรรมชาติหลังจากผ่านไปประมาณ 7-8 ชั่วโมง แม้ว่าคุณจะนอนทั้งคืน ความง่วงของคุณจะค่อยๆ เพิ่มขึ้น และคุณจะรู้สึกง่วงจนแทบทนไม่ได้ในช่วงเช้า แต่ความง่วงของคุณจะลดลงชั่วคราวในช่วงบ่าย สงสัยกันไหมคะว่า จังหวะของอาการง่วงนอนที่เกิดขึ้นและตื่นในเวลาที่กำหนดเช่นนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร?
กลไก 2 ประเภท ที่มีอิทธิพลต่อการนอนหลับ
การนอนหลับของมนุษย์ส่วนใหญ่เกิดจากกลไก 2 ประเภทนี้
ระบบกลไกที่ 1 ระบบเส้นสีน้ำเงินแสดงถึง ความต้องการการนอนหลับ เนื่องจากการสะสมความหนื่อยล้ามาทั้งวัน ความต้องการนอนจะรุนแรงมากขึ้น ถ้าหากต้องตื่นนานขึ้น เป็นที่ทราบกันดีว่าแม้แต่คนที่มักจะมีปัญหาในการนอนก็สามารถหลับได้อย่างรวดเร็ว และหลับสนิทได้หากตื่นอยู่เป็นเวลานาน
เมื่อเราเข้านอนนั้นความอยากนอนจะลดลงไปอย่างรวดเร็ว และหากเรานอนให้เพียงพอแล้วนั้นความต้องการนอนก็จะหายไป และเราก็จะตื่นขึ้น
ระบบกลไกที่ 2 ระบบเส้นสีแดง แสดงถึง แรงตื่นตัว เป็นแรงเร้าที่ส่งมาจากนาฬิกาชีวิต มันจะเพิ่มขึ้นเมื่อถึงเวลาที่กำหนดไว้ของวัน เอาชนะความอยากนอน และปลุกมนุษย์ให้ตื่นขึ้น แรงตื่นตัวจะสูงขึ้นหลายชั่วโมงก่อนเข้านอน และจะลดลงอย่างรวดเร็วในช่วงเวลาที่เมลาโทนินหลั่งออกมา (1-2 ชั่วโมงก่อนเข้านอน)
ถึงแม้ว่าจะตื่นขึ้นมาแล้วแต่หลังจากที่นั่งกินข้าวเย็นหรือจับกลุ่มคุยกันแล้ว ผลจากการที่เข้านอนตรงเวลานั้นจะทำให้รู้สึกง่วงนอนขึ้นมาอย่างรวดเร็ว สมมติว่าไม่มีแรงตื่นตัว ก็จะรู้สึกค่อย ๆ อยากนอนขึ้นมาเรื่อย ๆ หรือในช่วงหลังจากเที่ยงไปนั้นความง่วงจะทำให้คุณไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมได้อย่างเต็มที่ เนื่องด้วยคุณต้องคอยสู้กับความรู้สึกอยากจะนอนตลอดเวลา
นาฬิกาชีวิตจะระดมระบบการทำงานเพื่อควบคุมการนอนหลับและการตื่นตัว
ตัวอย่างเช่น ช่วยให้สมองอบอุ่นในตอนกลางวันเมื่อมีการเคลื่อนไหว และทำให้สมองเย็นลงด้วยการดึงความร้อนออกจากร่างกายในตอนกลางคืน (การกระจายความร้อน)
ดังนั้นเวลาที่ง่วงนอนอย่างรุนแรง ก่อนเข้านอนจึงตรงกับเวลาที่สมองเย็นลงอย่างรวดเร็ว หรือการที่ทารก กางแขนขา อ้าปากตอนนั้นก็คือการระบายความร้อนเช่นกัน
เมลาโทนิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนนาฬิกาในร่างกาย เริ่มหลั่งและเพื่อส่งเสริมการนอนหลับ นอกจากนี้ยังมีฟังก์ชั่นทางชีวภาพต่าง ๆ ที่ทำงานประสานกันเพื่อให้นอนหลับอย่างมีคุณภาพ และในตอนเช้าการหลั่งฮอร์โมนต่อมหมวกไตที่มีผลกระตุ้นจะเริ่มขึ้น นอกจากนี้อุณหภูมิของสมองก็สูงขึ้นตามธรรมชาติ ด้วยสภาวะความพร้อมนี้ เราจะตื่นตัวอย่างมีสุขภาพดี
ในส่วนของเมลาโทนินนั้นจะหยุดหลั่งในตอนกลางวัน และเพื่อที่จะไม่ไปขัดขวางการหลั่งของสารเมลาโทนิน การพักผ่อนในห้องที่ปิดไฟมืด ก็เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการทำงานของระบบสรีรวิทยาที่สนับสนุนการนอน
ความสัมพันธ์ระหว่างการบริโภคแคลอรี่กับการนอน
การนอนหลับเกิดขึ้นในสัตว์ทุกชนิด แต่ระยะเวลาในการนอนหลับนั้นแตกต่างกันไป เช่น สายพันธุ์สัตว์ จำพวกค้างคาวและหนูที่ออกกำลังมาก จะรับแคลอรี่มากและจะใช้เวลานอนนานมากขึ้นไปด้วย
หรืออาจจะพูดได้ว่าการนอนหลับเป็นวิธีพักผ่อนที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดเพื่อฟื้นฟูความเหนื่อยที่สะสมระหว่างตื่นนอนและเพื่อการประหยัดพลังงาน แต่ในมนุษย์เมื่อเติบโตขึ้น การบริโภคแคลอรี่ต่อน้ำหนักจะลดลง นอกจากนี้ยังทำให้รู้สึกว่าระยะเวลาการนอนหลับโดยเฉพาะภาวะหลับสนิทจะลดลง ในผู้สูงอายุจึงเริ่มมีอาการนอนไม่หลับ หรือระยะเวลานอนนอน มักตื่นตั้งแต่ตอนเช้าตรู่นั่นเอง
การนอนก็มีการเปลี่ยนแปลงไดนามิก
การนอนหลับไม่ได้หมายความว่าสมองจะหยุดพักการทำงานไปทุกส่วน กิจกรรมของสมองเปลี่ยนแปลงไปมากมายในขณะนอนหลับ การนอนของมนุษย์นั้นประกอบด้วยสถานะการนอนที่ต่างกันในเชิงคุณภาพสองสถานะ ได้แก่ การนอนหลับแบบ Non-REM และการนอนหลับแบบ REM
การนอนหลับแบบ REM ได้รับการตั้งชื่อตามการเคลื่อนไหวของดวงตาอย่างรวดเร็วที่เกิดขึ้นระหว่างการนอนหลับ
และในการนอนหลับ Non-REM กิจกรรมของคลื่นสมองจะลดลงและแบ่งออกเป็นสี่ขั้นตอนตามความลึกของการนอนหลับ
แสดงรูปแบบการนอนหลับตอนกลางคืนโดยทั่วไปของผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดี โดยวัดจากคลื่นไฟฟ้าสมองขณะนอนหลับ การนอนหลับเริ่มต้นด้วยการนอนหลับแบบ Non-REM (ระยะที่ 3 และ 4) และค่อย ๆ เพิ่มขึ้นเป็นการนอนหลับ Non-REM แบบเบา
(ระยะที่ 1 และ 2) ในตอนเช้าเมื่อภาวะอยากนอนลดลง ในช่วงเวลานี้ การนอนหลับ REM จะปรากฏขึ้นซ้ำๆ ในรอบ 90 นาที และเวลาการนอนหลับแบบ REM ในแต่ละครั้งจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งหลังของการนอนหลับ
การนอนหลับแบบ Non-REM ส่วนมากจะปรากฏในสัตว์จำพวกที่มีการพัฒนาของเปลือกสมองแล้ว ในช่วงครึ่งแรกของการนอนหลับ เปลือกสมองซึ่งทำงานอย่างหนักในระหว่างวัน จะถูกทำให้เย็นลงและพักผ่อนหลังจากการทำงาน
ในการนอนหลับแบบ REM จะทำให้กล้ามเนื้อของทั้งร่างกายผ่อนคลาย ประหยัดพลังงาน และช่วยให้ร่างกายได้พักผ่อน ในช่วงการนอนแบบ REM กิจกรรมของคลื่นสมอง การฝัน ความดันโลหิต และชีพจรจะเกิดการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้ร่างกายและจิตใจได้เตรียมพร้อมสำหรับการตื่นนอน
สรุป
เพราะร่างกายมนุษย์ส่วนใหญ่เป็นไปตามกลไก หรือที่เรียกว่านาฬิกาชีวิต หากเรารู้จักกลไกเวลาเหล่านี้จะช่วยให้คุณปรับสมดุลในการใช้ชีวิตได้มากขึ้น ร่างกาย และการนอนหลับของคุณก็จะดีขึ้นตามอีกด้วย
เพราะฉะนั้น เราควรเรียนรู้ และปรับรูปแบบการใช้ชีวิต เราหวังว่าบทความนี้จะช่วยให้คุณได้รู้จักตนเองมากยิ่งขึ้นไม่มากก็น้อย เพื่อให้คุณได้หันมาใส่ใจคุณภาพการนอนหลับของคุณให้มากยิ่งขึ้น
ขอแนะนำ! Hinoki Essential Oil
การดมกลิ่นน้ำมันหอมระเหยจะช่วยให้คุณรู้สึกผ่อนคลายจากความเครียด จิตใจรู้สึกสงบขึ้น ส่งผลดีต่อการนอนหลับ เราจึงแนะนำเป็นอย่างมากให้คุณจุดเครื่องหอมเพื่อผ่อนคลายก่อนนอน
Hinoki essentail oil เป็นน้ำมันหอมระเหยจากไม้หอมฮิโนกิ 100% ปลูกในประเทศญี่ปุ่น
ซึ่งหากคุณยืนอยู่กลางป่าฮิโนกิที่ญี่ปุ่น คุณจะสัมผัสได้ถึงความเย็นและกลิ่นหอมสดชื่นที่ลอยมาตามลม
กลิ่นหอมที่ว่านี้ได้ถูกสกัดมาในรูปแบบ “Essential oil” ให้คุณสามารถเติมกลิ่นหอมนี้ในห้องนอนหรือทุก ๆ จุดในบ้านของคุณของคุณ เพื่อความผ่อนคลาย